ทนายเจ้าของเรือฟินิกซ์ แจงเหตุไม่กู้ซากเรือ เพราะจมน้ำลึกถึง 45 เมตร จึงไม่ขวางการเดินเรือและไม่เป็นมลพิษ ถ้าจะกู้เป็นหน้าที่รัฐ เสียเงินเอง ด้านอธิบดีกรมเจ้าท่า ยัน อนาคตอาจกีดขวาง เตรียมฟ้องเรียกค่าใช้จ่าย
ภาพจาก one31
ทั้งนี้
สาเหตุที่ต้องกู้เรือขึ้นมา
เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องใช้เป็นวัตถุพยานในคดีอาญา
ฉะนั้นหากการกู้เรือเป็นการดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
จึงเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง นอกจากนี้
เรือดังกล่าวมีการทำประกันไว้ที่ 20 ล้านบาท
หากไม่สามารถกู้เพื่อนำขึ้นมาซ่อมได้
ทางบริษัทประกันก็จะจ่ายในลักษณะเรือเสียหายทั้งลำ
โดยในคำสั่งดังกล่าวทางกรมเจ้าท่าได้ให้เวลา
20 วัน ในการกู้ซาก แต่เจ้าของเรือไม่ยอมกู้
และให้เหตุผลว่าระดับน้ำลึกมาก ซากเรือจึงไม่กีดขวางการเดินเรือ
แต่ในส่วนของกรมเจ้าท่า มองว่า เรือลำดังกล่าวจะต้องทำการกู้ขึ้นมา
เพราะในอนาคตอาจจะกีดขวางการเดินเรือ
และอาจจะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลได้
เนื่องจากจุดที่เรือจมน้ำห่างจากแนวปะการังประมาณ 100 เมตร
ดังนั้นเมื่อครบกำหนด กรมเจ้าท่าก็จะต้องดำเนินการเอง แต่หลังจากกู้ซากเสร็จก็จะมีการฟ้องร้องเรียกค่าใช้จ่ายทั้งหมดจากทางเจ้าของเรือต่อไป เบื้องต้นคาดว่าเป็นเงินจำนวน 10 ล้านบาท
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

วันที่ 15 สิงหาคม 2561 Workpoint News รายงานความคืบหน้ากรณีการกู้ซากเรือฟินิกซ์ ว่า กรมเจ้าท่าได้ว่าจ้างบริษัท สปิทซ์ เทค จำกัด
ให้ทำการกู้ซากเรือดังกล่าวขึ้นมา เพื่อทำการตรวจพิสูจน์หาสาเหตุการอับปาง
ซึ่งได้เริ่มปฏิบัติการมาตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม ที่ผ่านมา จนถึงวันที่ 14
สิงหาคม ก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้สำเร็จ เนื่องจากเจอคลื่นลมแรง
สืบเนื่องจากบริษัท
ทีซี บลู ดรีม จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของเรือฟินิกซ์
ปฏิเสธที่จะทำการกู้ซากขึ้นมา โดยอ้างว่าเรือจมอยู่ในระดับน้ำที่ลึกถึง 45
เมตร จึงไม่กีดขวางและไม่เป็นอันตรายต่อเส้นทางการเดินเรือ
รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ซึ่งนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ
ในฐานะที่ปรึกษากฎหมายของผู้ประกอบการเรือฟีนิกซ์ เผยว่า
ขณะนี้เจ้าของเรือยังถูกคุมขังอยู่
อีกทั้งทราบว่าการกู้ซากเรือต้องใช้งบในการกู้ถึง 45 ล้านบาท
และในการกู้เรือนั้นจะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย
โดยมีเหตุผลในการกู้ 2 ประการ คือ ซากเรือนั้นเป็นอุปสรรค
หรือเป็นอันตรายกีดขวางการเดินเรือ และทำให้เกิดมลพิษ
ซึ่งจากข้อมูลก็พบว่าเรือจมในระดับน้ำที่ลึกมาก
เจ้าของเรือจึงปฏิเสธกู้เรือนั่นเอง

ภาพจาก Workpoint News
ด้านนายจิรุตม์
วิศาลจิตร อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่า
ตามกฎหมายแล้วการกู้ซากเรือเป็นหน้าที่ของเจ้าของเรือ
โดยกรมเจ้าท่าจะเป็นผู้ออกคำสั่งให้เจ้าของเรือดำเนินการ
ส่วนนี้กรมเจ้าท่าได้มีคำสั่งไปแล้ว
และเจ้าของเรือก็รับทราบแล้วตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม ที่ผ่านมา

ภาพจาก Workpoint News
ดังนั้นเมื่อครบกำหนด กรมเจ้าท่าก็จะต้องดำเนินการเอง แต่หลังจากกู้ซากเสร็จก็จะมีการฟ้องร้องเรียกค่าใช้จ่ายทั้งหมดจากทางเจ้าของเรือต่อไป เบื้องต้นคาดว่าเป็นเงินจำนวน 10 ล้านบาท
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก