เอไอเอส และดีแทค ร่วมประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ก่อนได้ไปรายละ 1 ใบอนุญาต จำนวน 5 MHz รวมรายได้เข้ารัฐ 25,022 ล้านบาท
วันที่ 19 สิงหาคม 2561 ผู้บริหารบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN) และบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) เดินทางมาร่วมประมูล คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ โดยการเริ่มประมูลวันนี้ เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อเวลา 10.00 น. ก่อนเริ่มการประมูล ทาง สำนักงาน กสทช. ได้จับสลากเลือกห้องที่ผู้ร่วมประมูลทั้ง 2 ราย คือ เอไอเอส กับ ดีแทค
สำหรับหลักเกณฑ์การประมูลครั้งนี้แบ่งใบอนุญาตออกเป็น 9 ใบ ใบละ 5 เมกะเฮิรตซ์ รวมทั้งหมด 45 เมกะเฮิรตซ์ ผู้เข้าร่วมประมูลมีสิทธิ์ประมูลสูงสุดได้ 4 ใบอนุญาต (20 เมกะเฮิรตซ์) ราคาเริ่มต้นขั่นต่ำอยู่ที่ ใบละ 12,486 ล้านบาท และกำหนดเพิ่มขึ้นครั้งละ 25 ล้านบาท
ทั้งนี้การประมูลสิ้นสุดลงในรอบที่สี่ โดยไม่มีการเคาะราคาเพิ่ม ทำให้ราคาหยุดอยู่ที่ใบละ 12,511 ล้านบาท ในเวลา 11.20 น. รวมเงินในการประมูล 2 ใบอนุญาตอยู่ที่ 25,022 ล้านบาท ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภายหลังเสร็จสิ้นการประมูล นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ระบุว่า พอใจผลการประมูล แต่ห่วงการที่จะเข้าสู่ 5G ในอีก 2 ปี คลื่นในมือผู้ประกอบการอาจไม่เพียงพอ ส่วนคลื่นที่เหลือ 35 เมกะเฮิรตซ์ ก่อนจะประมูล กสทช. จะประเมินอีกครั้ง ว่าจะใช้ราคาคลื่นที่เคยประมูลในปี 2558 หรือ 2561 หรือจะใช้แนวทางการขยายเวลาการชำระค่าใบอนุญาต จาก 3 ปี เป็น 5-6 ปี
วันที่ 19 สิงหาคม 2561 ผู้บริหารบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN) และบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) เดินทางมาร่วมประมูล คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ โดยการเริ่มประมูลวันนี้ เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อเวลา 10.00 น. ก่อนเริ่มการประมูล ทาง สำนักงาน กสทช. ได้จับสลากเลือกห้องที่ผู้ร่วมประมูลทั้ง 2 ราย คือ เอไอเอส กับ ดีแทค
สำหรับหลักเกณฑ์การประมูลครั้งนี้แบ่งใบอนุญาตออกเป็น 9 ใบ ใบละ 5 เมกะเฮิรตซ์ รวมทั้งหมด 45 เมกะเฮิรตซ์ ผู้เข้าร่วมประมูลมีสิทธิ์ประมูลสูงสุดได้ 4 ใบอนุญาต (20 เมกะเฮิรตซ์) ราคาเริ่มต้นขั่นต่ำอยู่ที่ ใบละ 12,486 ล้านบาท และกำหนดเพิ่มขึ้นครั้งละ 25 ล้านบาท
ทั้งนี้การประมูลสิ้นสุดลงในรอบที่สี่ โดยไม่มีการเคาะราคาเพิ่ม ทำให้ราคาหยุดอยู่ที่ใบละ 12,511 ล้านบาท ในเวลา 11.20 น. รวมเงินในการประมูล 2 ใบอนุญาตอยู่ที่ 25,022 ล้านบาท ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภายหลังเสร็จสิ้นการประมูล นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ระบุว่า พอใจผลการประมูล แต่ห่วงการที่จะเข้าสู่ 5G ในอีก 2 ปี คลื่นในมือผู้ประกอบการอาจไม่เพียงพอ ส่วนคลื่นที่เหลือ 35 เมกะเฮิรตซ์ ก่อนจะประมูล กสทช. จะประเมินอีกครั้ง ว่าจะใช้ราคาคลื่นที่เคยประมูลในปี 2558 หรือ 2561 หรือจะใช้แนวทางการขยายเวลาการชำระค่าใบอนุญาต จาก 3 ปี เป็น 5-6 ปี
ข้อมูลจาก สำนักข่าว INN