วสท. แถลงวิเคราะห์ทางวิศวกรรมและความปลอดภัย ปมสร้างเทอร์มินอล 2 สนามบินสุวรรณภูมิ ย้ำชัด ใช้ไม้เป็นโครงสร้างหลัก เสี่ยงเกิดอัคคีภัยสูง แนะผู้ออกแบบคำนึงประโยชน์การบริหารจัดการมากกว่าความสวยงาม
เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2561 Workpoint News รายงานว่า วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำโดย ดร.ธเนศ วีระศิริชัย นายก วสท. พร้อมคณะ ได้จัดแถลงข่าว ไขปมการออกแบบอาคารพักผู้โดยสารหลังที่ 2 หรือเทอร์มินอล สนามบินสุวรรณภูมิ หลังมีข้อวิพากษ์วิจารณ์ด้านความปลอดภัยและหลักวิศวกรรม เนื่องจากมีการออกแบบโครงสร้างอาคารโดยใช้วัสดุหลักคือไม้ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยสูง
โดย ดร.ธเนศ วีระศิริชัย นายก วสท. กล่าวว่า การออกแบบโครงการเมกะโปรเจกต์ดังกล่าว ทาง วสท. มองว่าควรตระหนักถึงความถูกต้องและความปลอดภัย ทั้งก่อนก่อสร้าง ระหว่างการก่อสร้าง และหลังการก่อสร้างหรือเปิดให้บริการแล้ว เพื่อครอบคลุมถึงการใช้งานในปัจจุบัน พร้อมรองรับความต้องการและการเติบโตในอนาคตด้วย ซึ่งยอมรับว่าการประกวดแบบที่ทาง ทอท. ได้คัดเลือกมานั้น มีโครงสร้างไม้เป็นวัสดุหลัก เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย จำเป็นต้องใช้ระบบควบคุมขั้นสูงที่ได้มาตรฐานและปลอดภัยที่สุด แต่ทั้งนี้ จะมีการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง เพื่อหาข้อสรุปในประเด็นดังกล่าว
ขณะที่ นายเกชา ธีระโกเมน อุปนายก วสท. เผยว่า อาคารเทอร์มินอล 2 ออกแบบให้ใช้ไม้จำนวนมากเรียงประกอบกันที่หัวเสาและเพดาน หากเกิดอัคคีภัยขึ้นจะมีขนาดไฟที่ใหญ่รุนแรงมาก ระบบดับเพลิงที่มีมาตรฐาน ทั้งจาก Sprinkler และ Hose system ก็ไม่สามารถต้านทานไว้ได้ ซึ่งอาคารผู้โดยสารถือเป็นอาคารชุมนุมคน จึงไม่อนุญาตให้ใช้ไม้ โฟม ฟองน้ำ หรือพลาสติก ในโถงทางเดินและช่องบันได
ส่วนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย ไม้เป็นทรัพยากรที่สำคัญ การออกแบบอาคารหลังนี้สามารถเลือกใช้วัสดุอื่นมาทดแทนไม้ได้ ส่วนซอกมุมที่ใช้ไม้ร้อยถักจำนวนมากอยู่สูงถึง 15-20 เมตร จะดูแลกันอย่างไรเรื่องฝุ่น รวมถึงการทำความสะอาดและการซ่อมแซม
อย่างไรก็ตาม ทาง วสท. ได้มีการสรุปข้อเสนอแนะในการออกแบบและก่อสร้างอาคารพักผู้โดยสาร ดังนี้
1. โครงสร้างควรมุ่งการออกแบบเพื่อบริหารจัดการมากกว่าการให้ความสำคัญกับการตกแต่งสวยงาม
2. การออกแบบและวัสดุที่ใช้ขอให้คำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชน และผู้มาใช้บริการเป็นสำคัญ
3. นำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์มากขึ้นในการบริหารจัดการเทอร์มินอลเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเดิม เมื่อนักท่องเที่ยวเพิ่มในอนาคต
4. หากจำเป็นต้องจัดประกวดแบบครั้งใหม่ ควรเชิญผู้ที่มีความรู้หลายด้านไม่เฉพาะสถาปนิก เพื่อกำหนดกรอบความสำคัญให้ตอบโจทย์สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ และความต้องการของประชาชน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นไทยเดิม อาจเป็นไทยโมเดิร์นหรือไทยสากลก็ได้
5. คณะกรรมการพิจารณาตัดสินควรมีผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม บริหารทรัพยากรอาคาร พลังงานและสิ่งแวดล้อมร่วมด้วย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2561 Workpoint News รายงานว่า วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำโดย ดร.ธเนศ วีระศิริชัย นายก วสท. พร้อมคณะ ได้จัดแถลงข่าว ไขปมการออกแบบอาคารพักผู้โดยสารหลังที่ 2 หรือเทอร์มินอล สนามบินสุวรรณภูมิ หลังมีข้อวิพากษ์วิจารณ์ด้านความปลอดภัยและหลักวิศวกรรม เนื่องจากมีการออกแบบโครงสร้างอาคารโดยใช้วัสดุหลักคือไม้ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยสูง
โดย ดร.ธเนศ วีระศิริชัย นายก วสท. กล่าวว่า การออกแบบโครงการเมกะโปรเจกต์ดังกล่าว ทาง วสท. มองว่าควรตระหนักถึงความถูกต้องและความปลอดภัย ทั้งก่อนก่อสร้าง ระหว่างการก่อสร้าง และหลังการก่อสร้างหรือเปิดให้บริการแล้ว เพื่อครอบคลุมถึงการใช้งานในปัจจุบัน พร้อมรองรับความต้องการและการเติบโตในอนาคตด้วย ซึ่งยอมรับว่าการประกวดแบบที่ทาง ทอท. ได้คัดเลือกมานั้น มีโครงสร้างไม้เป็นวัสดุหลัก เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย จำเป็นต้องใช้ระบบควบคุมขั้นสูงที่ได้มาตรฐานและปลอดภัยที่สุด แต่ทั้งนี้ จะมีการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง เพื่อหาข้อสรุปในประเด็นดังกล่าว
ขณะที่ นายเกชา ธีระโกเมน อุปนายก วสท. เผยว่า อาคารเทอร์มินอล 2 ออกแบบให้ใช้ไม้จำนวนมากเรียงประกอบกันที่หัวเสาและเพดาน หากเกิดอัคคีภัยขึ้นจะมีขนาดไฟที่ใหญ่รุนแรงมาก ระบบดับเพลิงที่มีมาตรฐาน ทั้งจาก Sprinkler และ Hose system ก็ไม่สามารถต้านทานไว้ได้ ซึ่งอาคารผู้โดยสารถือเป็นอาคารชุมนุมคน จึงไม่อนุญาตให้ใช้ไม้ โฟม ฟองน้ำ หรือพลาสติก ในโถงทางเดินและช่องบันได
ส่วนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย ไม้เป็นทรัพยากรที่สำคัญ การออกแบบอาคารหลังนี้สามารถเลือกใช้วัสดุอื่นมาทดแทนไม้ได้ ส่วนซอกมุมที่ใช้ไม้ร้อยถักจำนวนมากอยู่สูงถึง 15-20 เมตร จะดูแลกันอย่างไรเรื่องฝุ่น รวมถึงการทำความสะอาดและการซ่อมแซม
อย่างไรก็ตาม ทาง วสท. ได้มีการสรุปข้อเสนอแนะในการออกแบบและก่อสร้างอาคารพักผู้โดยสาร ดังนี้
1. โครงสร้างควรมุ่งการออกแบบเพื่อบริหารจัดการมากกว่าการให้ความสำคัญกับการตกแต่งสวยงาม
2. การออกแบบและวัสดุที่ใช้ขอให้คำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชน และผู้มาใช้บริการเป็นสำคัญ
3. นำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์มากขึ้นในการบริหารจัดการเทอร์มินอลเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเดิม เมื่อนักท่องเที่ยวเพิ่มในอนาคต
4. หากจำเป็นต้องจัดประกวดแบบครั้งใหม่ ควรเชิญผู้ที่มีความรู้หลายด้านไม่เฉพาะสถาปนิก เพื่อกำหนดกรอบความสำคัญให้ตอบโจทย์สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ และความต้องการของประชาชน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นไทยเดิม อาจเป็นไทยโมเดิร์นหรือไทยสากลก็ได้
5. คณะกรรมการพิจารณาตัดสินควรมีผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม บริหารทรัพยากรอาคาร พลังงานและสิ่งแวดล้อมร่วมด้วย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
