ดีเอสไอ แถลงเสนออัยการให้ฟ้องต่อศาลสั่งยุบและยึดทรัพย์สิน มูลนิธิมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ของวัดพระธรรมกาย มูลค่า 1.3 หมื่นล้านบาท ให้ตกเป็นของแผ่นดิน เหตุเอี่ยวคดีฟอกเงินสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น 125 ล้านบาท
ภาพจาก ข่าวช่องวัน
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2561 Workpoint News รายงานว่า คณะทำงานคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ แถลงผลความคืบหน้าคดีฟอกเงินสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ที่นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์ กับพวก ร่วมกันทุจริตสมคบกันฟอกเงิน หลังดำเนินคดีกับพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสและผู้เกี่ยวข้อง ในความผิดฐานร่วมกันรับของโจร ร่วมกันฟอกเงินและสมคบกันฟอกเงิน ก่อนขยายผลสืบสวนพบหลักฐานเส้นทางการเงินว่าสหกรณ์ดังกล่าว บริจาคเงินเข้ามูลนิธิมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง โดยไม่มีความเกี่ยวพันกัน ถึง 125 ล้านบาท
โดยคณะทำงานได้สรุปผลการสอบสวนว่า ผู้บริหาร ประธาน และกรรมการมูลนิธิมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง มีความผิดฐานฟอกเงิน จึงเสนอให้อัยการยื่นฟ้องต่อศาลสั่งให้ยุบมูลนิธิ และสั่งให้ทรัพย์สินทั้งหมดของมูลนิธิ ประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท ตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งก่อนหน้านี้มีทรัพย์สินบางส่วนของมูลนิธิ ที่ ปปง. สั่งยึดไปแล้ว
ภาพจาก ข่าวช่องวัน
สำหรับทรัพย์สินของมูลนิธิมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง เกือบทั้งหมดเป็นที่ดินและอาคาร ซึ่งก่อสร้างในนามโครงการต่าง ๆ กว่า 20 โครงการ ทั้งในพื้นที่ 2,000 ไร่ของวัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี และในต่างจังหวัด ซึ่งสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เงินลงทุนมากที่สุดคือ อาคาร 100 ปี คุณยายจันทร์ ขนนกยูง หรืออาคารลูกโลก ใช้งบประมาณก่อสร้างกว่า 5,000 ล้านบาท
รองลงมาเป็นอาคารจอดรถวัดพระธรรมกาย มูลค่าการก่อสร้างกว่า 2.6 พันล้านบาท ตามด้วยโครงการเวิลด์พีซ วัลเล่ย์ เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา มูลค่าการลุงทุน 3 เฟส เป็นเงินกว่า 1.5 พันล้านบาท ซึ่งโครงการนี้ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบปัญหาการบุกรุก และใช้ที่ดินผิดวัตถุประสงค์
ทั้งนี้ มูลนิธิมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง เป็น 1 ใน 3 มูลนิธิของวัดพระธรรมกาย ที่มียอดเงินบริจาคมากที่สุดตลอด 13 ปี ตั้งแต่จดทะเบียนก่อตั้ง วันที่ 30 กรกฎาคม 2547 ที่ผ่านมาบริหารงานโดยเครือญาติของนักการเมืองและนักธุรกิจระดับประเทศ มีคณะที่ปรึกษาจากวัดพระธรรมกาย 5 คน คอยให้คำชี้แนะด้านงานก่อสร้าง และ 5 คนนี้มีอำนาจคัดเลือกและจัดจ้างในโครงการต่าง ๆ อีกด้วย
จากนั้นปลายปี 2549 คณะกรรมการมีมติมอบอำนาจให้นางวรรณา จิรกิติ เลขานุการมูลนิธิ เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนมูลนิธิ และมีอำนาจสั่งจ่ายเงินในจำนวนที่สูงกว่าข้อบังคับของมูลนิธิ ส่วนรองประธานกรรมการและกรรมการอีก 5 คน เป็นบุคคลในแวดวงโฆษณา ประชาสัมพันธ์ แวดวงการศึกษา บางคนมีชื่อปรากฏเป็นบุคคลใกล้ชิดของวัดพระธรรมกาย ที่ถูกเรียกว่ากัลยาณมิตร
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
ภาพจาก ข่าวช่องวัน
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2561 Workpoint News รายงานว่า คณะทำงานคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ แถลงผลความคืบหน้าคดีฟอกเงินสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ที่นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์ กับพวก ร่วมกันทุจริตสมคบกันฟอกเงิน หลังดำเนินคดีกับพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสและผู้เกี่ยวข้อง ในความผิดฐานร่วมกันรับของโจร ร่วมกันฟอกเงินและสมคบกันฟอกเงิน ก่อนขยายผลสืบสวนพบหลักฐานเส้นทางการเงินว่าสหกรณ์ดังกล่าว บริจาคเงินเข้ามูลนิธิมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง โดยไม่มีความเกี่ยวพันกัน ถึง 125 ล้านบาท
โดยคณะทำงานได้สรุปผลการสอบสวนว่า ผู้บริหาร ประธาน และกรรมการมูลนิธิมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง มีความผิดฐานฟอกเงิน จึงเสนอให้อัยการยื่นฟ้องต่อศาลสั่งให้ยุบมูลนิธิ และสั่งให้ทรัพย์สินทั้งหมดของมูลนิธิ ประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท ตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งก่อนหน้านี้มีทรัพย์สินบางส่วนของมูลนิธิ ที่ ปปง. สั่งยึดไปแล้ว
ภาพจาก ข่าวช่องวัน
สำหรับทรัพย์สินของมูลนิธิมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง เกือบทั้งหมดเป็นที่ดินและอาคาร ซึ่งก่อสร้างในนามโครงการต่าง ๆ กว่า 20 โครงการ ทั้งในพื้นที่ 2,000 ไร่ของวัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี และในต่างจังหวัด ซึ่งสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เงินลงทุนมากที่สุดคือ อาคาร 100 ปี คุณยายจันทร์ ขนนกยูง หรืออาคารลูกโลก ใช้งบประมาณก่อสร้างกว่า 5,000 ล้านบาท
รองลงมาเป็นอาคารจอดรถวัดพระธรรมกาย มูลค่าการก่อสร้างกว่า 2.6 พันล้านบาท ตามด้วยโครงการเวิลด์พีซ วัลเล่ย์ เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา มูลค่าการลุงทุน 3 เฟส เป็นเงินกว่า 1.5 พันล้านบาท ซึ่งโครงการนี้ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบปัญหาการบุกรุก และใช้ที่ดินผิดวัตถุประสงค์
ทั้งนี้ มูลนิธิมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง เป็น 1 ใน 3 มูลนิธิของวัดพระธรรมกาย ที่มียอดเงินบริจาคมากที่สุดตลอด 13 ปี ตั้งแต่จดทะเบียนก่อตั้ง วันที่ 30 กรกฎาคม 2547 ที่ผ่านมาบริหารงานโดยเครือญาติของนักการเมืองและนักธุรกิจระดับประเทศ มีคณะที่ปรึกษาจากวัดพระธรรมกาย 5 คน คอยให้คำชี้แนะด้านงานก่อสร้าง และ 5 คนนี้มีอำนาจคัดเลือกและจัดจ้างในโครงการต่าง ๆ อีกด้วย
จากนั้นปลายปี 2549 คณะกรรมการมีมติมอบอำนาจให้นางวรรณา จิรกิติ เลขานุการมูลนิธิ เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนมูลนิธิ และมีอำนาจสั่งจ่ายเงินในจำนวนที่สูงกว่าข้อบังคับของมูลนิธิ ส่วนรองประธานกรรมการและกรรมการอีก 5 คน เป็นบุคคลในแวดวงโฆษณา ประชาสัมพันธ์ แวดวงการศึกษา บางคนมีชื่อปรากฏเป็นบุคคลใกล้ชิดของวัดพระธรรมกาย ที่ถูกเรียกว่ากัลยาณมิตร
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก