เผยศาลสั่งจำคุก 20 ปี อดีตลูกจ้างสำนักงานพระคลังข้างที่ คดีปลอมลายเซ็น 2 องคมนตรี ถอนเงินจากบัญชีมูลนิธิอานันทมหิดล เป็นเงินกว่า 56 ล้านบาท
จากข่าว น.ส.ณิชาพัชร นุ่มเมือง ลูกจ้างสำนักงานพระคลังข้างที่ ปลอมลายเซ็น 2 องคมนตรี ถอนเงินจากบัญชีมูลนิธิอานันทมหิดล ช่วงระหว่างวันที่ 27 เมษายน 2553 - 12 กันยายน 2561 เป็นเงินทั้งสิ้น 56,610,783.60 บาท ก่อนถูกสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ให้ยึดและอายัดทรัพย์สินนั้น (อ่านข่าว : สาวพระคลังข้างที่ ปลอมลายเซ็นองคมนตรีถอนเงินมูลนิธิอานันทมหิดล 56 ล้าน)
ความคืบหน้าเรื่องนี้ วันที่ 13 มีนาคม 2562 เว็บไซต์เดลินิวส์ รายงานว่า สำหรับขั้นตอนหลังการยึดอายัดทรัพย์ของ น.ส.ณิชาพัชร จากนี้จะมี 2 แนวทาง คือ การยึดอายัดไว้เพื่อนำทรัพย์มาคืนให้กับผู้เสียหาย หรือยึดไว้เพื่อให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน ระยะเวลาดำเนินการยึดอายัดคือ 90 วันตามกฎหมาย ระหว่างนี้ผู้มีส่วนได้เสียกับทรัพย์สิน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องที่ถูกยึดอายัดต้องเข้ามาชี้แจงเกี่ยวกับทรัพย์สินว่าได้มาอย่างไร หลังจากนั้นจะมีการสรุปสำนวนส่งให้อัยการพิจารณา ก่อนยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง เพื่อให้ศาลมีคำสั่งยึดอายัดทรัพย์สินคืนให้กับผู้เสียหายหรือให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน
ขณะที่คดีอาญา น.ส.ณิชาพัชร ถูกนำตัวเข้าควบคุมที่ทัณฑสถานหญิงกลาง ภายหลังจากที่กองบังคับการปราบปรามนำตัวส่งศาลอาญาฝากขัง เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2561 ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำคุก 20 ปี ในข้อหาปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม, ร่วมกันลักทรัพย์ และสมคบร่วมกันฟอกเงิน ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

จากข่าว น.ส.ณิชาพัชร นุ่มเมือง ลูกจ้างสำนักงานพระคลังข้างที่ ปลอมลายเซ็น 2 องคมนตรี ถอนเงินจากบัญชีมูลนิธิอานันทมหิดล ช่วงระหว่างวันที่ 27 เมษายน 2553 - 12 กันยายน 2561 เป็นเงินทั้งสิ้น 56,610,783.60 บาท ก่อนถูกสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ให้ยึดและอายัดทรัพย์สินนั้น (อ่านข่าว : สาวพระคลังข้างที่ ปลอมลายเซ็นองคมนตรีถอนเงินมูลนิธิอานันทมหิดล 56 ล้าน)
ความคืบหน้าเรื่องนี้ วันที่ 13 มีนาคม 2562 เว็บไซต์เดลินิวส์ รายงานว่า สำหรับขั้นตอนหลังการยึดอายัดทรัพย์ของ น.ส.ณิชาพัชร จากนี้จะมี 2 แนวทาง คือ การยึดอายัดไว้เพื่อนำทรัพย์มาคืนให้กับผู้เสียหาย หรือยึดไว้เพื่อให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน ระยะเวลาดำเนินการยึดอายัดคือ 90 วันตามกฎหมาย ระหว่างนี้ผู้มีส่วนได้เสียกับทรัพย์สิน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องที่ถูกยึดอายัดต้องเข้ามาชี้แจงเกี่ยวกับทรัพย์สินว่าได้มาอย่างไร หลังจากนั้นจะมีการสรุปสำนวนส่งให้อัยการพิจารณา ก่อนยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง เพื่อให้ศาลมีคำสั่งยึดอายัดทรัพย์สินคืนให้กับผู้เสียหายหรือให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน
ขณะที่คดีอาญา น.ส.ณิชาพัชร ถูกนำตัวเข้าควบคุมที่ทัณฑสถานหญิงกลาง ภายหลังจากที่กองบังคับการปราบปรามนำตัวส่งศาลอาญาฝากขัง เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2561 ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำคุก 20 ปี ในข้อหาปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม, ร่วมกันลักทรัพย์ และสมคบร่วมกันฟอกเงิน ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
