พ.ร.บ. แรงงาน ฉบับใหม่ เอื้อประโยชน์ลูกจ้าง ลูกจ้างที่ทำงานนานกว่า 20 ปี รับสิทธิประโยชน์ใหม่ ชี้เป็นกฎหมายใหม่ ที่ทำให้ไทยก้าวหน้ากว่าหลายประเทศในอาเซียน
สำหรับประเด็นสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายของนายจ้างและลูกจ้าง
อาทิ สิทธิได้รับดอกเบี้ยกรณีนายจ้างผิดนัดไม่จ่ายเงิน
การเปลี่ยนตัวนายจ้าง สิทธิการลาต่าง ๆ สิทธิได้รับค่าชดเชย ฯลฯ
โดยหน่วยงานได้มีการจัดอบรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปัญหา อุปสรรค
แนวทางแก้ไข และมาตรการบังคับใช้กฎหมาย ให้แก่เจ้าหน้าที่ในกระทรวง
รวมไปถึงนายจ้างและลูกจ้าง ให้เข้าใจกฎหมาย
เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างถูกต้อง
และทำให้การคุ้มครองแรงงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม
ทางด้านนายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กลุ่มลูกจ้างที่มีอายุงาน 20 ปีขึ้นไป ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ หลังกฎหมายบังคับใช้ในช่วงปีแรก คาดว่าจะมีจำนวนมากกว่า 300,000 คน และส่วนใหญ่จะเป็นลูกจ้างในวัย 40 ปีขึ้นไป
การออกกฎหมายฉบับดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กฎหมายคุ้มครองแรงงานของไทยนำหน้าประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ
เพราะบางประเทศก็ยังไม่มีค่าชดเชย
เนื่องจากไม่ได้เป็นข้อบังคับตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
ทั้งนี้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 7 ดังกล่าว ประกาศโดยเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 5 เมษายน ที่ผ่านมา และจะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน
อย่างไรก็ตาม มีหลายฝ่ายแสดงความกังวลว่าในระหว่าง 30 วัน ดังกล่าว นายจ้างบางรายอาจมีการเลิกจ้างลูกจ้างที่อยู่ในกลุ่มได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นชดเชย 400 วัน สำหรับประเด็นนี้ นายวิวัฒน์ให้ความเห็นว่า การเพิ่มสิทธิในหลาย ๆ ด้านคงไม่มีผลกระทบต่อนายจ้าง
ส่วนกลุ่มลูกจ้างที่ทำงานมามากกว่า 20 ปี ก็ไม่น่าเป็นห่วง เพราะลูกจ้างกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับหัวหน้างาน หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีความสามารถ โอกาสที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างกลุ่มนี้เพราะสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น นับว่าเป็นไปได้ยาก
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
วันที่ 6 เมษายน 2562 เดลินิวส์ออนไลน์
รายงานว่า นายวิวัฒน์ ตังหงส์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณี
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 7 ที่เพิ่งเผยแพร่ว่า
ทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวมาตลอด
ตั้งแต่ยังไม่มีการประกาศใช้
ทางด้านนายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กลุ่มลูกจ้างที่มีอายุงาน 20 ปีขึ้นไป ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ หลังกฎหมายบังคับใช้ในช่วงปีแรก คาดว่าจะมีจำนวนมากกว่า 300,000 คน และส่วนใหญ่จะเป็นลูกจ้างในวัย 40 ปีขึ้นไป
ทั้งนี้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 7 ดังกล่าว ประกาศโดยเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 5 เมษายน ที่ผ่านมา และจะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน
อย่างไรก็ตาม มีหลายฝ่ายแสดงความกังวลว่าในระหว่าง 30 วัน ดังกล่าว นายจ้างบางรายอาจมีการเลิกจ้างลูกจ้างที่อยู่ในกลุ่มได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นชดเชย 400 วัน สำหรับประเด็นนี้ นายวิวัฒน์ให้ความเห็นว่า การเพิ่มสิทธิในหลาย ๆ ด้านคงไม่มีผลกระทบต่อนายจ้าง
ส่วนกลุ่มลูกจ้างที่ทำงานมามากกว่า 20 ปี ก็ไม่น่าเป็นห่วง เพราะลูกจ้างกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับหัวหน้างาน หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีความสามารถ โอกาสที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างกลุ่มนี้เพราะสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น นับว่าเป็นไปได้ยาก
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก