วารสารการแพทย์สหรัฐฯ ตีพิมพ์บทความการช่วยเหลือ 13 หมูป่า ออกจากถ้ำหลวง เผยมีการใช้ยาเคตามีนกล่อมให้อยู่ในภวังค์เป็นระยะ และพบว่ามีหมูป่าประสบภาวะตัวเย็นเกิน
เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2562 ไทยพีบีเอส รายงานว่า The New England Journal of Medicine วารสารทางการแพทย์เก่าแก่ของสหรัฐอเมริกา ได้ตีพิมพ์บทความชื่อ Prehospital Care of the 13 Hypothermic, Anesthetized Patients in the Thailand Cave Rescue หรือแปลได้ว่า การดูแลก่อนส่งโรงพยาบาล สำหรับผู้ป่วย 13 ราย ที่มีภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำและได้รับการวางยาสลบ ในภารกิจช่วยเหลือจากถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย เขียนโดย พ.ต. นพ.ชาญฤทธิ์ ล้อทวีสวัสดิ์ พล.ต. วุฒิชัย อิศระ ผศ. นพ.กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์ และ นพ.ริชาร์ด แฮร์ริส แพทย์ชาวออสเตรเลีย โดยบทความฉบับนี้เป็นการรายงานสรุปผลการช่วยเหลือ นักฟุตบอลและโค้ชทีมหมูป่าอะคาเดมีแม่สาย 13 คน เมื่อปีที่แล้ว
บทความฉบับนี้ระบุว่า ในภารกิจการช่วยเหลือนั้น ทีมแพทย์ได้ตัดสินใจใช้ยาสลบกลุ่ม เคตามีน (Ketamine) แก่ 13 หมูป่า ก่อนที่จะนำตัวออกมาจากถ้ำ และมีการให้ออกซิเจนด้วยหน้ากากออกซิเจนครอบเต็มใบหน้า โดยมีแพทย์คอยให้เคตามีนอยู่เป็นระยะ เมื่อถึงการช่วยเหลือคนที่ 2 พบว่าร่างกายของหมูป่ารายนี้ประสบภาวะตัวเย็นเกิน (Hypothermia) ซึ่งก็คือภาวะที่ร่างกายสูญเสียความร้อน จนอุณหภูมิของร่างกายลดลงต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส วิสัญญีแพทย์จึงต้องตรวจดูอุณหภูมิร่างกายของหมูป่าทุกคนที่ออกมาจากถ้ำด้วย
ไทยพีบีเอส ยังระบุว่า สำหรับ ยาในกลุ่มเคตามีน
มีชื่อทางการค้าว่า เคตาลาร์ (Ketalar)
และมีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ยาเค เป็นยาในกลุ่มยาสลบ
มีฤทธิ์ระงับปวด ระงับประสาท และทำให้สูญเสียความทรงจำ
ผู้ที่รับยานี้จะไม่สลบหรือไม่ได้สติ
แต่จะมีอาการไร้ความรู้สึกและอยู่ในภวังค์
ยานี้สามารถใช้รักษาอาการปวดเรื้อรังและอาจใช้เป็นยาระงับประสาทในผู้ป่วยหนัก ตัวยายังช่วยให้ระบบหายใจและระบบหัวใจทำงานอย่างคล่องตัวมากขึ้น การรับยาเคตามีนสามารถรับได้หลายวิธี ทั้งรับประทาน สูดดม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ถ้าใช้วิธีฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ยาจะออกฤทธิ์ภายใน 5 นาที และจะออกฤทธิ์เป็นเวลาประมาณ 25 นาที
ทั้งนี้ การใช้ยาเคตามีนก็อาจมีผลข้างเคียง นั่นก็คือปฏิกิริยาทางจิตเมื่อยาหมดฤทธิ์ ได้แก่ ภาวะอยู่ไม่สุข สับสน หรืออาการประสาทหลอน นอกจากนี้ยังส่งผลให้ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน โดยมากจะความดันเพิ่มขึ้น และกล้ามเนื้อสั่น อีกทั้งยังอาจก่อให้เกิดอาการหลอดลมหดตัวเฉียบพลัน นอกจากนี้แล้ว ยาเคตามีนอาจก่อให้เกิดการเสพติด หากใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ผู้รับยาเป็นโรคจิตเภทได้
สามารถอ่านวารสารฉบับเต็มได้ที่
nejm.org
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
บทความฉบับนี้ระบุว่า ในภารกิจการช่วยเหลือนั้น ทีมแพทย์ได้ตัดสินใจใช้ยาสลบกลุ่ม เคตามีน (Ketamine) แก่ 13 หมูป่า ก่อนที่จะนำตัวออกมาจากถ้ำ และมีการให้ออกซิเจนด้วยหน้ากากออกซิเจนครอบเต็มใบหน้า โดยมีแพทย์คอยให้เคตามีนอยู่เป็นระยะ เมื่อถึงการช่วยเหลือคนที่ 2 พบว่าร่างกายของหมูป่ารายนี้ประสบภาวะตัวเย็นเกิน (Hypothermia) ซึ่งก็คือภาวะที่ร่างกายสูญเสียความร้อน จนอุณหภูมิของร่างกายลดลงต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส วิสัญญีแพทย์จึงต้องตรวจดูอุณหภูมิร่างกายของหมูป่าทุกคนที่ออกมาจากถ้ำด้วย
ยานี้สามารถใช้รักษาอาการปวดเรื้อรังและอาจใช้เป็นยาระงับประสาทในผู้ป่วยหนัก ตัวยายังช่วยให้ระบบหายใจและระบบหัวใจทำงานอย่างคล่องตัวมากขึ้น การรับยาเคตามีนสามารถรับได้หลายวิธี ทั้งรับประทาน สูดดม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ถ้าใช้วิธีฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ยาจะออกฤทธิ์ภายใน 5 นาที และจะออกฤทธิ์เป็นเวลาประมาณ 25 นาที
ทั้งนี้ การใช้ยาเคตามีนก็อาจมีผลข้างเคียง นั่นก็คือปฏิกิริยาทางจิตเมื่อยาหมดฤทธิ์ ได้แก่ ภาวะอยู่ไม่สุข สับสน หรืออาการประสาทหลอน นอกจากนี้ยังส่งผลให้ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน โดยมากจะความดันเพิ่มขึ้น และกล้ามเนื้อสั่น อีกทั้งยังอาจก่อให้เกิดอาการหลอดลมหดตัวเฉียบพลัน นอกจากนี้แล้ว ยาเคตามีนอาจก่อให้เกิดการเสพติด หากใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ผู้รับยาเป็นโรคจิตเภทได้
สามารถอ่านวารสารฉบับเต็มได้ที่
nejm.org
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก