เปิดสาเหตุที่ มหาวิหารนอเทรอดาม ไม่พังถล่มลงมา เป็นเพราะโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมสุดแข็งแกร่ง ทำจากหิน จึงยืนตระหง่านมา 850 ปี คงทน แม้เจอไฟไหม้รุนแรง

ภาพจาก PATRICK ANIDJAR / AFP
เหตุไฟไหม้มหาวิหารนอเทรอดาม (Cathedrale Notre-Dame de Paris) เป็นเหตุการณ์เลวร้ายที่สร้างความสะเทือนใจแก่ชาวฝรั่งเศสทั้งประเทศ และทั่วโลก ศาสนสถานสำคัญแห่งนี้ไม่ได้เป็นแค่เพียงศูนย์รวมจิตใจชาวฝรั่งเศสเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่สำคัญอย่างมากทางประวัติศาสตร์ ที่ยืนหยัดคู่มหานครปารีสมาเป็นเวลายาวนานถึง 850 ปี (อ่านข่าว : ไฟไหม้มหาวิหารนอตเธอร์ดาม ณ กรุงปารีส อายุกว่า 850 ปี ควันพวยพุ่งเต็มท้องฟ้า)
ตัวมหาวิหารได้ถูกเปลวเพลิงทำลายเสียหายไปเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณหลังคา สร้างความเจ็บปวดสะเทือนใจแก่ทุกคนที่พบเห็น ขณะนี้ นายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ได้มีคำสั่งให้บูรณะซ่อมแซมมหาวิหารแล้ว เพื่อให้กลับมาเป็นสถานที่อันสวยงาม ที่สร้างความภาคภูมิใจให้ปารีสได้อีกครั้ง ทั้งนี้ แม้ว่ามหาวิหารจะพบเจอกับไฟไหม้ที่รุนแรงมาก จนทำให้ยอดหลังคาพังลง แต่สิ่งที่น่าทึ่งก็คือ โครงสร้างของมหารวิหารยังคงยืดหยัดตั้งตระหง่าน ไม่พังถล่มลงมา และนี่คือเรื่องราวน่ารู้ด้านสถาปัตยกรรมของมหาวิหารอายุกว่า 8 ศตวรรษ แห่งนี้
![ไฟไหม้มหาวิหารนอเทรอดาม ไฟไหม้มหาวิหารนอเทรอดาม]()
โดยเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2562 เจรมัย พิทักษ์วงศ์ สถาปนิกชื่อดัง และกรรมการผู้จัดการบริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง ได้เผยแพร่ความรู้ทางเฟซบุ๊ก Jeremiah Pitakwong ว่า สาเหตุที่มหาวิหารนอเทรอดาม ไม่พลังถล่มลงมา ซึ่งนั่นเป็นเพราะ ครีบยันลอย (flying buttress) ที่ทำจากหิน ทำหน้าที่กระจายน้ำหนักจากด้านบนลงด้านล่างได้ดีมาก เพดานโครงสร้างทรงโค้ง (vault) ก็ทำจากหินเช่นกัน โดยนอกจากจะช่วยป้องกันไฟแล้ว ยังป้องกันไม่ให้ซากปรักหักพังบางส่วน ตกหล่นลงสู่โบสถ์ด้านล่างอีกด้วย
![ไฟไหม้มหาวิหารนอเทรอดาม ไฟไหม้มหาวิหารนอเทรอดาม]()
ด้วยโครงสร้างที่แข็งแรงมั่นคงเช่นนี้
จึงทำให้มหาวิหารนอเทรอดามไม่พังถล่มลงมาเป็นเศษซาก
และป้องกันไม่ให้พื้นที่ด้านในได้รับความเสียหาย
ซึ่งนับเป็นสิ่งที่น่าทึ่งมากที่ผู้คนเมื่อกว่า 850 ปีก่อน
สามารถสร้างสรรค์มหาวิหารแห่งนี้ขึ้นมาได้ด้วยมือ
"โบสถ์เก่าแก่แบบนี้เป็นตำราวิชาวิศวกรรม สถาปัตยกรรม และศิลปกรรม ให้คนทั้งโลกศึกษากันมาจนถึงวันนี้ สร้างใหม่ให้อลังกว่าเดิมไม่ยาก แต่ถ้าจะสร้างให้เหมือนเดิมยาก" เจรมัย พิทักษ์วงศ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ส่วนที่ถูกไฟไหม้จนได้รับความเสียหายนั้นคือ โครงสร้างไม้ใต้หลังคา ที่ซ่อนอยู่เหนือเพดานโค้ง โดยคาดว่า โครงสร้างไม้น่าจะเป็นโครงสร้างที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองนี้ สร้างตั้งแต่ ค.ศ.1160 หรือเรียกได้ว่า ตัดไม้มาตั้งแต่ยุคสุโขทัย
![ไฟไหม้มหาวิหารนอเทรอดาม ไฟไหม้มหาวิหารนอเทรอดาม]()
![ไฟไหม้มหาวิหารนอเทรอดาม ไฟไหม้มหาวิหารนอเทรอดาม]()

ภาพจาก PATRICK ANIDJAR / AFP
เหตุไฟไหม้มหาวิหารนอเทรอดาม (Cathedrale Notre-Dame de Paris) เป็นเหตุการณ์เลวร้ายที่สร้างความสะเทือนใจแก่ชาวฝรั่งเศสทั้งประเทศ และทั่วโลก ศาสนสถานสำคัญแห่งนี้ไม่ได้เป็นแค่เพียงศูนย์รวมจิตใจชาวฝรั่งเศสเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่สำคัญอย่างมากทางประวัติศาสตร์ ที่ยืนหยัดคู่มหานครปารีสมาเป็นเวลายาวนานถึง 850 ปี (อ่านข่าว : ไฟไหม้มหาวิหารนอตเธอร์ดาม ณ กรุงปารีส อายุกว่า 850 ปี ควันพวยพุ่งเต็มท้องฟ้า)
ตัวมหาวิหารได้ถูกเปลวเพลิงทำลายเสียหายไปเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณหลังคา สร้างความเจ็บปวดสะเทือนใจแก่ทุกคนที่พบเห็น ขณะนี้ นายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ได้มีคำสั่งให้บูรณะซ่อมแซมมหาวิหารแล้ว เพื่อให้กลับมาเป็นสถานที่อันสวยงาม ที่สร้างความภาคภูมิใจให้ปารีสได้อีกครั้ง ทั้งนี้ แม้ว่ามหาวิหารจะพบเจอกับไฟไหม้ที่รุนแรงมาก จนทำให้ยอดหลังคาพังลง แต่สิ่งที่น่าทึ่งก็คือ โครงสร้างของมหารวิหารยังคงยืดหยัดตั้งตระหง่าน ไม่พังถล่มลงมา และนี่คือเรื่องราวน่ารู้ด้านสถาปัตยกรรมของมหาวิหารอายุกว่า 8 ศตวรรษ แห่งนี้

ภาพจาก PATRICK ANIDJAR / AFP
โดยเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2562 เจรมัย พิทักษ์วงศ์ สถาปนิกชื่อดัง และกรรมการผู้จัดการบริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง ได้เผยแพร่ความรู้ทางเฟซบุ๊ก Jeremiah Pitakwong ว่า สาเหตุที่มหาวิหารนอเทรอดาม ไม่พลังถล่มลงมา ซึ่งนั่นเป็นเพราะ ครีบยันลอย (flying buttress) ที่ทำจากหิน ทำหน้าที่กระจายน้ำหนักจากด้านบนลงด้านล่างได้ดีมาก เพดานโครงสร้างทรงโค้ง (vault) ก็ทำจากหินเช่นกัน โดยนอกจากจะช่วยป้องกันไฟแล้ว ยังป้องกันไม่ให้ซากปรักหักพังบางส่วน ตกหล่นลงสู่โบสถ์ด้านล่างอีกด้วย

"โบสถ์เก่าแก่แบบนี้เป็นตำราวิชาวิศวกรรม สถาปัตยกรรม และศิลปกรรม ให้คนทั้งโลกศึกษากันมาจนถึงวันนี้ สร้างใหม่ให้อลังกว่าเดิมไม่ยาก แต่ถ้าจะสร้างให้เหมือนเดิมยาก" เจรมัย พิทักษ์วงศ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ส่วนที่ถูกไฟไหม้จนได้รับความเสียหายนั้นคือ โครงสร้างไม้ใต้หลังคา ที่ซ่อนอยู่เหนือเพดานโค้ง โดยคาดว่า โครงสร้างไม้น่าจะเป็นโครงสร้างที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองนี้ สร้างตั้งแต่ ค.ศ.1160 หรือเรียกได้ว่า ตัดไม้มาตั้งแต่ยุคสุโขทัย

