ศึกษาวิธีการและเงื่อนไข การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 5 มิถุนายน นี้ ระบุ หากไม่มีใครได้เสียงเกินครึ่ง จะวนโหวตมาราธอน จนกว่าจะได้ - ไม่กำหนดกรอบเวลาเลือกนายกฯ
ภาพจาก สปริงนิวส์
ภายหลังมีประชุมหารือ และเคาะวันโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีแล้ว กำหนดเป็นวันที่ 5 มิถุนายน 2562 ที่จะถึงนี้ หลายคนจึงเกิดความสงสัยเกี่ยวกับกระบวนการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ว่าจะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง เนื่องจากเงื่อนไขบางอย่างมีความแตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญฉบับเดิม
สำหรับขั้นตอนการลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรี ตามที่ปรากฏในข้อบังคับ การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2560 กำหนดไว้ ดังนี้...
1. ผู้ที่จะได้รับการเสนอชื่อให้ ส.ส. โหวตลงคะแนนเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี จะต้องมาจากพรรคการเมืองที่มีจำนวน ส.ส. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสมาชิกที่มีอยู่ นั่นหมายถึง พรรคที่จะเสนอชื่อนั้น ต้องมี ส.ส. อย่างน้อย 25 คน จาก ส.ส. เต็มสภาฯ จำนวน 500 คน
2. การเสนอชื่อผู้ใดเข้าสู่การโหวต จะต้องมีเสียง ส.ส. รับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของ ส.ส. ที่มีอยู่ หมายถึง ต้องมี ส.ส. รับรองไม่น้อยกว่า 50 คน จากทั้งหมด 500 คน
3. การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี จะกระทำโดยเปิดเผย โดยเลขาธิการรัฐสภาจะขานชื่อ ส.ส. และ ส.ว. เรียงตามลำดับอักษร เพื่อให้ออกเสียง เห็นชอบ, ไม่เห็นชอบ หรือ งดออกเสียง
5. หากผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด ยังมีคะแนนไม่เกินครึ่งหนึ่ง ต้องให้สมาชิกออกเสียงลงคะแนนเลือกใหม่ จนกว่าจะมีผู้ที่มีคะแนนสูงสุด และมีคะแนนเสียงมากกว่า 376 เสียง
อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขที่เปลี่ยนไปในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ และแตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 อยู่บ้าง เช่น รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 กำหนดให้สมาชิกต้องเลือกนายกรัฐมนตรี ให้ได้ภายใน 30 วัน หากครบกำหนดแล้ว ยังไม่มีผู้ใดได้คะแนนเกินครึ่งหนึ่ง ให้ผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุดเป็นนายกรัฐมนตรี แต่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ไม่ได้กำหนดกรอบเวลา
ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือ การออกเสียงโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 นั้น ให้ ส.ส. เท่านั้น เป็นผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรี แต่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ตามที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาล ให้สิทธิ์ ส.ว. จำนวน 250 คน เข้ามาร่วมโหวตด้วย ทำให้จำนวนสมาชิกทั้งหมดในรัฐสภา มีทั้งสิ้น 750 คน
ภาพจาก สปริงนิวส์
ภายหลังมีประชุมหารือ และเคาะวันโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีแล้ว กำหนดเป็นวันที่ 5 มิถุนายน 2562 ที่จะถึงนี้ หลายคนจึงเกิดความสงสัยเกี่ยวกับกระบวนการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ว่าจะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง เนื่องจากเงื่อนไขบางอย่างมีความแตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญฉบับเดิม
สำหรับขั้นตอนการลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรี ตามที่ปรากฏในข้อบังคับ การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2560 กำหนดไว้ ดังนี้...
1. ผู้ที่จะได้รับการเสนอชื่อให้ ส.ส. โหวตลงคะแนนเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี จะต้องมาจากพรรคการเมืองที่มีจำนวน ส.ส. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสมาชิกที่มีอยู่ นั่นหมายถึง พรรคที่จะเสนอชื่อนั้น ต้องมี ส.ส. อย่างน้อย 25 คน จาก ส.ส. เต็มสภาฯ จำนวน 500 คน
2. การเสนอชื่อผู้ใดเข้าสู่การโหวต จะต้องมีเสียง ส.ส. รับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของ ส.ส. ที่มีอยู่ หมายถึง ต้องมี ส.ส. รับรองไม่น้อยกว่า 50 คน จากทั้งหมด 500 คน
3. การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี จะกระทำโดยเปิดเผย โดยเลขาธิการรัฐสภาจะขานชื่อ ส.ส. และ ส.ว. เรียงตามลำดับอักษร เพื่อให้ออกเสียง เห็นชอบ, ไม่เห็นชอบ หรือ งดออกเสียง
ภาพจาก สปริงนิวส์
4. มติเห็นชอบ ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่าครึ่งหนึ่ง ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
คือจำนวน ส.ส. และ ส.ว. ซึ่งเท่ากับ 750 คน ดังนั้น
ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่า 376 เสียง
5. หากผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด ยังมีคะแนนไม่เกินครึ่งหนึ่ง ต้องให้สมาชิกออกเสียงลงคะแนนเลือกใหม่ จนกว่าจะมีผู้ที่มีคะแนนสูงสุด และมีคะแนนเสียงมากกว่า 376 เสียง
อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขที่เปลี่ยนไปในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ และแตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 อยู่บ้าง เช่น รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 กำหนดให้สมาชิกต้องเลือกนายกรัฐมนตรี ให้ได้ภายใน 30 วัน หากครบกำหนดแล้ว ยังไม่มีผู้ใดได้คะแนนเกินครึ่งหนึ่ง ให้ผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุดเป็นนายกรัฐมนตรี แต่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ไม่ได้กำหนดกรอบเวลา
ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือ การออกเสียงโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 นั้น ให้ ส.ส. เท่านั้น เป็นผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรี แต่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ตามที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาล ให้สิทธิ์ ส.ว. จำนวน 250 คน เข้ามาร่วมโหวตด้วย ทำให้จำนวนสมาชิกทั้งหมดในรัฐสภา มีทั้งสิ้น 750 คน