ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ พ่อ จอห์น วิญญู โพสต์ภาพกติกาแก้รัฐธรรมนูญ 60 สุดยากจนแทบเป็นไปไม่ได้ ระบุ แก้ไม่ไหวหรอก ต้องเขียนใหม่เท่านั้น

วันที่ 7 มิถุนายน 2562 รองศาสตราจารย์ ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ หรือที่รู้จักกันว่าคือบิดาของ จอห์น วิญญู พิธีกรชื่อดัง ได้แสดงความคิดเห็นถึงกติกาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ซึ่ง 7 พรรคฝ่ายค้าน รวมทั้ง ประชาธิปัตย์ หรือ ภูมิใจไทย ก็สนใจประเด็นนี้ แต่แท้จริงการแก้ไขนั้นเป็นไปได้ยากมาก
![รัฐธรรมนูญ 2560 รัฐธรรมนูญ 2560]()
โดย ดร.โกวิท ระบุว่า "แก้ไม่ไหวหรอก ต้องเขียนใหม่เท่านั้น"
สำหรับกติกาการแก้ไข รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ซึ่งถูกร่างโดย นายวีชัย มีชัย ฤชุพันธุ์ เพจเฟซบุ๊ก iLaw ได้อธิบายขั้นตอนที่จะแก้ไขได้ ต้องดำเนินการทั้งหมดดังนี้
1. ผู้มีสิทธิเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ
มาตรา 256 กำหนดไว้ ดังนี้
- คณะรัฐมนตรี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 หรือ 100 คนเข้าชื่อกัน
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภารวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 หรือ 150 คน
- ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คนเข้าชื่อกัน
2. การพิจารณาแก้ไข
เมื่อมีร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เสนอต่อรัฐสภา ให้รัฐสภาพิจารณา 3 วาระ ได้แก่
วาระแรก ขั้นรับหลักการ ต้องได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบ ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งสองสภา ซึ่งในจำนวนนี้ต้องได้เสียงเห็นชอบจาก ส.ว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวน ส.ว. หรือ 86 คน
วาระที่สอง พิจารณาเรียงลำดับมาตรา ให้ถือเสียงข้างมาก แต่หากเป็นการแก้ไขที่ประชาชนเป็นผู้เสนอ ต้องเปิดโอกาสให้ผู้แทนประชาชนเสนอความคิดเห็นด้วย จากนั้นรอ 15 วัน จึงเข้าวาระ 3
วาระที่สาม เป็นขั้นสุดท้าย ต้องได้รับเสียงเห็นชอบเกินครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งสองสภา โดยในจำนวนนี้ต้องมี ส.ส. จากพรรคที่ไม่มีสมาชิกเป็นรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรองประธานผู้แทนราษฎร เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน และต้องมี ส.ว. เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 หรือ 86 คน
![รัฐธรรมนูญ 2560 รัฐธรรมนูญ 2560]()


สำหรับกติกาการแก้ไข รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ซึ่งถูกร่างโดย นายวีชัย มีชัย ฤชุพันธุ์ เพจเฟซบุ๊ก iLaw ได้อธิบายขั้นตอนที่จะแก้ไขได้ ต้องดำเนินการทั้งหมดดังนี้
1. ผู้มีสิทธิเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ
มาตรา 256 กำหนดไว้ ดังนี้
- คณะรัฐมนตรี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 หรือ 100 คนเข้าชื่อกัน
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภารวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 หรือ 150 คน
- ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คนเข้าชื่อกัน
เมื่อมีร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เสนอต่อรัฐสภา ให้รัฐสภาพิจารณา 3 วาระ ได้แก่
วาระแรก ขั้นรับหลักการ ต้องได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบ ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งสองสภา ซึ่งในจำนวนนี้ต้องได้เสียงเห็นชอบจาก ส.ว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวน ส.ว. หรือ 86 คน
วาระที่สอง พิจารณาเรียงลำดับมาตรา ให้ถือเสียงข้างมาก แต่หากเป็นการแก้ไขที่ประชาชนเป็นผู้เสนอ ต้องเปิดโอกาสให้ผู้แทนประชาชนเสนอความคิดเห็นด้วย จากนั้นรอ 15 วัน จึงเข้าวาระ 3
วาระที่สาม เป็นขั้นสุดท้าย ต้องได้รับเสียงเห็นชอบเกินครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งสองสภา โดยในจำนวนนี้ต้องมี ส.ส. จากพรรคที่ไม่มีสมาชิกเป็นรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรองประธานผู้แทนราษฎร เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน และต้องมี ส.ว. เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 หรือ 86 คน
