กรมการขนส่งทางบก เตรียมยื่น สนช. พิจารณากฎหมายลงโทษแท็กซี่ปฏิเสธผู้โดยสาร อาจมีโทษปรับสูงสุดถึง 5,000 บาท ชี้ปัจจุบันแท็กซี่มีบทลงโทษต่ำ ควรปรับให้มีมาตรฐานเดียวกับรถโดยสารสาธารณะประเภทอื่น
ภาพจาก 2p2play / Shutterstock.com
วันที่ 24 มิถุนายน 2562 เดลินิวส์ รายงานว่า นายธานี สืบฤกษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เปิดเผยความคืบหน้า โครงการแท็กซี่โอเค ว่า ปัจจุบันมีรถให้บริการทั่วประเทศแล้วกว่า 18,511 คัน โดยเน้นยกระดับการให้บริการเรื่องการปฏิเสธผู้โดยสาร ด้วยการกำกับระบบแอปพลิเคชันคุณภาพการให้บริการแท็กซี่ รวมทั้งพิจารณาเสนออัตราค่าโดยสารที่เป็นธรรมกับกลุ่มรถแท็กซี่และผู้โดยสาร ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของกระทรวงคมนาคมและรัฐบาลด้วย
ส่วนการแก้ปัญหาแท็กซี่ปฏิเสธผู้โดยสารแบบถาวรนั้นสามารถกระทำได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับจิตสำนึกในการปฏิบัติหน้าที่ของแท็กซี่ ขณะเดียวกัน กรมการขนส่งทางบก ก็ได้มีการรวมร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก โดยการนำกฎหมาย 2 ฉบับคือ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 รวมเข้าเป็นฉบับเดียวกัน
นอกจากนี้ ยังได้พิจารณาพักใช้ใบขับขี่ 15-30 วัน และต้องเข้ารับการอบรมมารยาทด้านการให้บริการไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง ซึ่งหากกระทำผิดซ้ำซาก ก็จะลงโทษให้หนักขึ้น เช่น พักใบขับขี่ 3-6 เดือน รวมทั้งพิจารณาเพิกถอนใบขับขี่ หากกระทำผิดในรูปแบบมิจฉาชีพ และทำร้ายร่างกาย
อย่างไรก็ตาม การควบคุมกฎหมายอยู่ระหว่างเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อพิจารณา จึงทำให้บทลงโทษที่เหมาะสมยังไม่ได้รับการพิจารณา และยังไม่ได้นำมาใช้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
ภาพจาก 2p2play / Shutterstock.com
วันที่ 24 มิถุนายน 2562 เดลินิวส์ รายงานว่า นายธานี สืบฤกษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เปิดเผยความคืบหน้า โครงการแท็กซี่โอเค ว่า ปัจจุบันมีรถให้บริการทั่วประเทศแล้วกว่า 18,511 คัน โดยเน้นยกระดับการให้บริการเรื่องการปฏิเสธผู้โดยสาร ด้วยการกำกับระบบแอปพลิเคชันคุณภาพการให้บริการแท็กซี่ รวมทั้งพิจารณาเสนออัตราค่าโดยสารที่เป็นธรรมกับกลุ่มรถแท็กซี่และผู้โดยสาร ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของกระทรวงคมนาคมและรัฐบาลด้วย
ส่วนการแก้ปัญหาแท็กซี่ปฏิเสธผู้โดยสารแบบถาวรนั้นสามารถกระทำได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับจิตสำนึกในการปฏิบัติหน้าที่ของแท็กซี่ ขณะเดียวกัน กรมการขนส่งทางบก ก็ได้มีการรวมร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก โดยการนำกฎหมาย 2 ฉบับคือ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 รวมเข้าเป็นฉบับเดียวกัน
ภาพจาก ferdyboy / Shutterstock.com
โดยจะเพิ่มบทลงโทษให้หนักจากโทษเดิมที่มีอยู่คือ บทลงโทษตาม
พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ปรับสูงสุด 2,000 บาท
เนื่องจากแท็กซี่เป็นรถที่จดทะเบียนตามกฎหมายรถยนต์
จึงต้องยึดกฎหมายการปรับตาม พ.ร.บ.รถยนต์ เพิ่มเป็นโทษปรับสูงสุด 5,000 บาท
และผู้ประกอบการปรับไม่เกิน 50,000 บาท
เพื่อให้เป็นบทลงโทษมาตรฐานเดียวกันกับรถโดยสารสาธารณะประเภทอื่น เช่น
รถทัวร์ และรถตู้ เพราะปัจจุบันแท็กซี่มีบทลงโทษต่ำ
ทั้งที่เป็นรถสาธารณะเหมือนกันนอกจากนี้ ยังได้พิจารณาพักใช้ใบขับขี่ 15-30 วัน และต้องเข้ารับการอบรมมารยาทด้านการให้บริการไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง ซึ่งหากกระทำผิดซ้ำซาก ก็จะลงโทษให้หนักขึ้น เช่น พักใบขับขี่ 3-6 เดือน รวมทั้งพิจารณาเพิกถอนใบขับขี่ หากกระทำผิดในรูปแบบมิจฉาชีพ และทำร้ายร่างกาย
อย่างไรก็ตาม การควบคุมกฎหมายอยู่ระหว่างเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อพิจารณา จึงทำให้บทลงโทษที่เหมาะสมยังไม่ได้รับการพิจารณา และยังไม่ได้นำมาใช้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก