เปิดสาเหตุตลิ่งทรุด ที่มาศาลาริมน้ำแม่กลองพัง และวิธีการรับมือ

  
            สำรวจความเสี่ยงตลิ่งทรุด วิธีสังเกตจุดเสี่ยง แนวทางป้องกัน และวิธีปฏิบัติหากมีการทรุดตัวและพังทลายของตลิ่ง

            จากเหตุการณ์ศาลาริมน้ำ ใกล้วัดเพชรสมุทรวรวิหาร อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม ถล่ม ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ถือเป็นการสะท้อนปัญหาเรื่องตลิ่งทรุดนั้น

            เกี่ยวกับเรื่องนี้ สาเหตุการพังทลายของตลิ่ง สามารถจําแนกออกได้เป็น 3 สาเหตุ ดังนี้


            1) การกัดเซาะตลิ่ง

            การกัดเซาะตลิ่งเกิดขึ้นเมื่อแรงกัดเซาะเนื่องจากการไหลของ กระแสน้ำเกินกว่าแรงต้านทานของดินริมตลิ่ง ทําให้เม็ดดินถูกพัดพาไหล หลุดออกมา อันอาจจะนําไปสู่การพังทลายของตลิ่งได้ สาเหตุการกัดเซาะ ของตลิ่งที่สําคัญ ได้แก่

            1.1) ความคดเคี้ยวของลําน้ำ ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว แม่น้ำจะมี ความคดเคี้ยว การไหลของน้ําในแม่น้ำจะไหลคดเคี้ยวไปตามลําน้ำ บริเวณโค้งลําน้ำฝั่งด้านนอกจะมีการกัดเซาะสูง จึงเป็นพื้นที่ที่ตลิ่งมีโอกาสถูก กัดเซาะพังทลายมาก ผู้ที่อยู่อาศัยบริเวณนี้ ควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

            1.2) การไหลของกระแสน้ำที่รุนแรง ในขณะที่น้ำไหลเชี่ยว ผิวของน้ำที่กําลังไหลเชี่ยวนี้ จะเฉือนดินตลิ่งและเพิ่มความลึกของการเฉือน มากขึ้นเรื่อย ๆ จนทําให้ก้อนดินที่อยู่เหนือรอยเฉือนตกล่วงลงไปในแม่น้ำ

            1.3) การกัดเซาะเนื่องจากคลื่น โดยคลื่นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ ทําให้เกิดการกัดเซาะในบริเวณลาดตลิ่ง สาเหตุการเกิดคลื่นในลําน้ำแยก ออกได้เป็น 2 สาเหตุ ได้แก่ คลื่นน้ำที่เกิดขึ้นจากแรงลมธรรมชาติ (ริมทะเล หรือแม่น้ำขนาดใหญ่) หรือคลื่นจากเรือแล่นผ่าน เมื่อคลื่นนี้มากระทบ หรือกระแทกกับตลิ่ง จะทําให้ตลิ่งถูกกัดเซาะและพังทลายได้

            1.4) การกัดเซาะจากการกระทําของมนุษย์ เช่น การกระแทกของเรือเมื่อเรือเทียบฝั่ง รวมทั้งการ ฝังหมุดเพื่อยึดเรือ หรือ การสร้างสิ่งก่อสร้าง เช่น สะพาน ฝายน้ำล้น ท่าเทียบเรือ  หรือการทําลายหญ้าหรือวัชพืชปกคลุมตลิ่ง

ศาลาริมน้ำแม่กลอง
ภาพจาก subsites.dpt.go.th

            2) การขาดเสถียรภาพของลาดตลิ่ง

            การพังทลายของตลิ่งจากการขาดเสถียรภาพเกิดขึ้นเมื่อกําลัง ต้านทานของดินไม่เพียงพอที่จะต้านแรงที่กระทํากับตัวตลิ่งได้ สาเหตุ การพังทลายของตลิ่งเนื่องจากการขาดเสถียรภาพที่สําคัญ ได้แก่

            2.1) การลดระดับน้ำในลําน้ำอย่างกะทันหัน หรือการลดระดับ น้ำที่ต่ำเกินกว่าปกติในหน้าแล้ง

            2.2) ในขณะที่ฝนตกหนัก น้ำฝนส่วนที่ไหลบนผิวดิน จะชะ หน้าดินและทําให้ดินอ่อนนุ่ม ส่วนน้ำฝนที่ซึมลงไปในดินจนดินชุ่มน้ำ นอกจากทําให้ดินที่ลึกลงไปมีความอ่อนนุ่มด้วยแล้ว การไหลแทรกของ น้ำลงดิน ทําให้ดินข้างใต้หลวมและไม่แข็งแรง จึงมีความเสี่ยงต่อการ พังทลายของตลิ่ง

            2.3) น้ำหนักบรรทุกการใช้สอยริมตลิ่ง เช่น น้ำหนักจาก เครื่องจักรในขณะก่อสร้าง น้ำหนักของรถยนต์ในกรณีที่มีถนนอยู่ริมตลิ่ง และน้ำหนักของวัสดุสิ่งของที่กองอยู่บนตลิ่งจะเพิ่มแรงกดต่อดินตลิ่ง ทําให้ตลิ่งพังทลายง่ายขึ้น


ศาลาริมน้ำแม่กลอง
ภาพจาก subsites.dpt.go.th

            แนวทางการตรวจสอบสภาพตลิ่ง

            การพังทลายของตลิ่งเป็นภัยที่ประชาชนผู้อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ริมตลิ่ง สามารถเตรียมพร้อมรับมือและป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ หากมีการสํารวจและตรวจสอบสภาพตลิ่งอย่างต่อเนื่อง โดยแนวทาง เบื้องต้นในการตรวจสภาพตลิ่งว่ามีความเสี่ยงต่อการพังทลาย มี รายละเอียด ดังนี้

            1) ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการพังทลายของตลิ่งในช่วง เวลาที่ผ่านมา หากตลิ่งมีประวัติหรือข้อมูลที่แสดงว่า มีการพังทลาย อย่างต่อเนื่อง ก็ถือได้ว่า ตลิ่งนั้นมีความเสี่ยงต่อการพังทลายสูง

            2) ควรสังเกตระดับน้ำในแม่น้ำลําคลองโดยเปรียบเทียบ ระดับน้ำต่ำสุดในแต่ละปี หากปัจจุบันระดับน้ำลดลงต่ำกว่าระดับน้ำ ต่ำสุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นเป็นประจํา ก็จะมีความเสี่ยงต่อการพังทลายมากขึ้น

            3) การที่ระดับน้ำในแม่น้ำลําคลองมีการลดระดับลง อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะน้ำที่มีระดับสูงแล้วลดลงอย่างรวดเร็ว จะมี ความเสี่ยงต่อการทรุดตัวและพังทลายของตลิ่งมาก

            4) สังเกตสภาพตลิ่งอย่างสม่ำเสมอว่ามีการกัดเซาะของ ตลิ่งหรือไม่ โดยเฉพาะถ้าการกัดเซาะทําให้ตลิ่งมีความชันมากขึ้น ก็จะมีแนวโน้มต่อการพังทลายมากขึ้น

            5) ควรตรวจสอบความลึกของท้องน้ำ ถ้าพบว่าท้องน้ำ มีความลึกมากขึ้นกว่าเดิม แสดงว่าจะมีความเสี่ยงต่อการพังทลายของ ตลิ่งได้มากขึ้นเช่นกัน

            6) ในขณะที่ฝนตกหนัก น้ำที่ผิวดินอาจกัดเซาะหน้าดิน ส่วนน้ำฝนที่ซึมลงดินจนดินชุ่มน้ำก็จะทําให้ความดันน้ำในโพรงดินเพิ่ม สูงขึ้นจนดินสูญเสียกําลัง เสถียรภาพของตลิ่งก็จะลดลง ความเสี่ยงต่อ การพังทลายของตลิ่งก็จะมากขึ้น

            7) ในขณะที่น้ำไหลเชี่ยว หรือมีคลื่นน้ำมากระทบตลิ่ง ตลิ่ง ก็มีโอกาสถูกกัดเซาะได้มากและเร็วขึ้น ความเสี่ยงต่อการพังทลายก็มีมาก และอาจเกิดขึ้นโดยเฉียบพลันได้

            8) ในขณะที่น้ำในแม่น้ำลําคลองมีระดับต่ำ ไม่ควรแล่น รถยนต์หรือนําเครื่องจักรเครื่องมือต่าง ๆ ไปใช้บริเวณบนตลิ่งริมน้ำ เพราะ จะทําให้เกิดความสั่นสะเทือนและตลิ่งจะทรุดตัวได้ง่าย

            9) ในกรณีที่แม่น้ำมีขนาดใหญ่ และความลึกของท้องน้ำมาก จะมีโอกาสที่จะเกิดการทรุดตัวของตลิ่ง และมีแนวโน้มที่จะเกิดการ พังทลายของตลิ่งเข้าไปในพื้นดินได้ลึกมาก

            10) บริเวณโค้งลําน้ําฝั่งด้านนอกจะมีการกัดเซาะสูง โอกาส การพังทลายของตลิ่งจะมีมาก ผู้ที่อยู่อาศัยบริเวณนี้ ควรต้องระมัดระวัง เป็นพิเศษ

            11) การใช้พื้นที่ริมตลิ่งเป็นที่กองวัสดุหรือสร้างอาคารเป็น การเพิ่มน้ำหนักให้กับตลิ่ง ซึ่งจะมีผลทําให้ตลิ่งมีความเสี่ยงต่อการพัง ทลายเพิ่มมากขึ้น

            12) ตรวจสอบว่า น้ำใช้จากบ้านเรือน หรือบ่อเกรอะบ่อซึม ได้ไหลออกไปสู่ตลิ่งหรือไม่ หากพบ ควรจัดทําระบบระบายน้ำโดย ไม่ให้น้ำจากบ้านเรือนไหลซึมไปตามพื้นดินเพื่อลงแม่น้ำลําคลอง ซึ่งจะเป็น สาเหตุให้ตลิ่งทรุดตัวได้ง่าย

            13) หากพบรอยแยกต่าง ๆ บริเวณตลิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้น มาก่อนก็อาจจะเป็นสิ่งบอกเหตุที่อาจจะเกิดการพังทลายของตลิ่งตาม รอยแยกนั้นได้ ควรขนย้ายทรัพย์สินออกจากบริเวณพื้นที่นั้น ๆ โดยด่วน
ศาลาริมน้ำแม่กลอง
ภาพจาก subsites.dpt.go.th

            วิธีสังเกตจุดเสี่ยงตลิ่งทรุด

            1. มีการพังอย่างต่อเนื่อง

            2. เปรียบเทียบระดับน้ำต่ำสุด

            3. น้ำลดรวดเร็ว

             4. ความลึกของลําน้ำมีมากขึ้น

            5. พบรอยแยกแนวยาวตามแนวตลิ่ง

            แนวทางปฏิบัติหากมีการทรุดตัวและพังทลายของตลิ่ง

            กรณีที่มีการทรุดตัวหรือเกิดการพังทลายของตลิ่ง ที่ส่งผลกระทบต่อ ทรัพย์สินและการดํารงชีวิตของท่าน ให้เร่งดําเนินการ ดังนี้

            1) ขนย้ายสิ่งของให้พ้นจากแนวการพังทลายของตลิ่ง

            2) หากมีกองวัสดุอยู่บริเวณริมตลิ่งให้ขนย้ายออกโดยใช้ กําลังคนหรือเครื่องจักรขนาดเล็กที่ไม่มีแรงสั่นสะเทือน

            3) ไม่ควรนํารถยนต์เข้าไปใกล้บริเวณรอยแยกของตลิ่ง

            4) ควรกั้นเขตบริเวณการทรุดตัวเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจ มีคนตกลงไปได้

            5) ถ่ายรูป (ถ้าทําได้) ของแนวตลิ่งที่เกิดการทรุดตัวไว้ ตลอดแนว อาจใช้กล้องโทรศัพท์มือถือหรือกล้องชนิดใดก็ได้ และมอบ ให้เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบ ใช้เป็นข้อมูลที่สําคัญในด้านวิศวกรรมและ แก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และประหยัด

            6) แจ้งสํานักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดในพื้นที่ ของท่าน หรือกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือแจ้งผ่านศูนย์ดํารงธรรม ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1567 เพื่อขอความช่วยเหลือด้านวิชาการ โดยการ แก้ไขปัญหาการพังทลายของตลิ่งที่ถูกต้องโดยเฉพาะของริมแม่น้ํา สายใหญ่ควรได้รับการตรวจสอบ และดําเนินการอย่างรอบด้านจาก ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาวิธีแก้ไขที่ถูกต้อง

ศาลาริมน้ำแม่กลอง
ภาพจาก subsites.dpt.go.th

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เปิดสาเหตุตลิ่งทรุด ที่มาศาลาริมน้ำแม่กลองพัง และวิธีการรับมือ อัปเดตล่าสุด 19 กรกฎาคม 2562 เวลา 11:49:11 34,056 อ่าน
TOP
x close