อาจารย์ ม.มหาสารคาม ตีแผ่ภัยพิบัติทางนิเวศวิทยาลุ่มน้ำโขงครั้งร้ายแรง หลังเผชิญการสร้างเขื่อนไซยะบุรีและการทดสอบผลิตไฟฟ้า ส่งผลให้น้ำโขงแห้ง สัตว์น้ำแห้งตายเกลื่อน
โดย อ.ไชยณรงค์ ระบุว่า เนื่องจากน้ำโขงเริ่มลดลง หลายที่แห้งผาก และร้อนระอุราวกับทะเลทราย สัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น กุ้ง และลูกปลาไม่มีโอกาสที่จะสืบทอดเผ่าพันธุ์ ตามซอกหินที่เคยมีน้ำและหลบซ่อนตัว กลายเป็นสุสานของสัตว์เหล่านั้น เมื่อบวกกับความร้อนระอุที่สะสมในแก่งหิน ทำให้สัตว์เหล่านั้นสุกจนดูเหมือนถูกปิ้งย่างบนเตา ปลาขนาดใหญ่ก็ไม่รอดผู้คนที่แห่กันมาจับได้โดยง่ายเพราะน้ำโขงลดระดับมาก แม้กระทั่งต้นไคร่ก็เหลือแต่ซากต้น และกิ่งก้านเหยียดขึ้นฟ้าให้แดดแผดเผา
ทั้งนี้แม่น้ำโขงที่บ้านม่วง
ปกติแล้ว ช่วงนี้เป็นช่วงเข้าพรรษา ลำน้ำโขงจะมีน้ำเต็ม
กกไคร่จะเขียวขจีและค่อย ๆ จมอยู่ใต้น้ำให้เป็นที่วางไข่ของปลา
และมีผลและใบให้ปลากินเป็นอาหาร
เช่นเดียวกับแก่งหินที่เป็นที่หลบซ่อนของสัตว์น้ำเช่น กุ้ง
แต่เมื่อเกิดเรื่องเช่นนี้นั่นเท่ากับว่าเราสูญเสียทั้งระบบนิเวศน์
ตัวอ่อนของสัตว์น้ำ และพ่อแม่พันธุ์ ในเวลาเดียวกัน
สภาพแม่น้ำโขงล่าสุด ที่ อ.ปากชม หลังเขื่อนไซยะบุรีทดลองผลิตกระแสไฟฟ้า
วันที่ 18 กรกฎาคม 2562 อ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ
อาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน)
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้โพสต์ข้อความลงใน เฟซบุ๊ก Chainarong Setthachua ตีแผ่ภัยพิบัติทางนิเวศวิทยาครั้งร้ายแรงในประวัติศาสตร์อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
ที่ต้องเผชิญกับเขื่อนไซยะบุรีหลังสร้างเสร็จและเตรียมทดสอบผลิตไฟฟ้า
ซึ่งส่งผลกระทบเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในพื้นที่บ้านม่วง อ.สังคม จ.หนองคาย
โดย อ.ไชยณรงค์ ระบุว่า เนื่องจากน้ำโขงเริ่มลดลง หลายที่แห้งผาก และร้อนระอุราวกับทะเลทราย สัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น กุ้ง และลูกปลาไม่มีโอกาสที่จะสืบทอดเผ่าพันธุ์ ตามซอกหินที่เคยมีน้ำและหลบซ่อนตัว กลายเป็นสุสานของสัตว์เหล่านั้น เมื่อบวกกับความร้อนระอุที่สะสมในแก่งหิน ทำให้สัตว์เหล่านั้นสุกจนดูเหมือนถูกปิ้งย่างบนเตา ปลาขนาดใหญ่ก็ไม่รอดผู้คนที่แห่กันมาจับได้โดยง่ายเพราะน้ำโขงลดระดับมาก แม้กระทั่งต้นไคร่ก็เหลือแต่ซากต้น และกิ่งก้านเหยียดขึ้นฟ้าให้แดดแผดเผา
สิ่งที่เกิดขึ้นนี้
มันคือการฆาตกรรมสรรพชีวิต
แต่นี่เป็นเพียงปฐมบทของเขื่อนขนาดใหญ่ที่กั้นลำแม่น้ำโขงสายหลักแห่งแรก
และยังไม่จบเท่านี้ เพราะเดือนตุลาคมที่จะถึง
เขื่อนแห่งนี้จะผลิตกระแสไฟเต็มกำลัง อยากให้รู้กันด้วยว่า เขื่อนไซยะบุรี
แม้จะเป็นโครงการเขื่อนในประเทศลาวแต่สร้างโดยทุนไทย
ได้เงินกู้จากสถาบันการเงินของไทย 6 แห่ง และไฟฟ้าร้อยละ 95
ที่ผลิตได้จากเขื่อนไซยะบุรี จะส่งมาขายประเทศไทย
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Chainarong Setthachua