เปิดอัตราค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา วิ่งผ่าน 9 สถานี ราคาเริ่มต้น 115-490 บาท
เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 ไทยพีบีเอส รายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 3 เกี่ยวกับอัตราค่าโดยสาร ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้แก่ สนามบินสุวรรณภูมิ, สนามบินดอนเมือง และสนามบินอู่ตะเภา
โดยมีการเซ็นสัญญาระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม 3 สนามบิน จำกัด หรือกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ซึ่งมี 9 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง, สถานีบางซื่อ, สถานีมักกะสัน, สถานีสุวรรณภูมิ, สถานีฉะเชิงเทรา, สถานีชลบุรี, สถานีศรีราชา, สถานีพัทยา และสถานีอู่ตะเภา โดยมีระยะเวลาโครงการ 50 ปี ได้แก่ งานระยะที่ 1 คือช่วงออกแบบก่อสร้าง 5 ปี และงานระยะที่ 2 คือช่วงการให้บริการเดินรถและงานซ่อมบำรุงรักษา 45 ปี
ภาพจาก EEC WE CAN
สำหรับรายละเอียดค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูง อัตราค่าโดยสารเริ่มตั้งแต่ 115-490 บาท, แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ อัตราค่าโดยสารเริ่มตั้งแต่ 15-45 บาท และแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ส่วนต่อขยาย อัตราค่าโดยสารเริ่มตั้งแต่ 44-97 บาท ซึ่งเอกชนคู่สัญญาสามารถปรับอัตราค่าโดยสารได้ทุก 36 เดือน โดยการปรับอัตราค่าโดยสารครั้งที่ 1 จะเริ่มต้นเมื่อครบระยะเวลา 8 ปี นับจากวันที่ รฟท. ออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงานในส่วนของการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ (ไม่รวมแอร์พอร์ต เรล ลิงก์)
ขณะเดียวกัน เอกชนคู่สัญญา ตกลงว่าจะไม่เรียกเก็บค่าโดยสารในส่วนของค่าแรกเข้าระบบ หากผู้ใช้บริการเปลี่ยนถ่ายจากรถไฟสายอื่นที่ใช้ระบบรถไฟเดียวกันกับรถไฟความเร็วสูง หรือแอร์พอร์ต เรลลิงก์ และแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ส่วนต่อขยาย แล้วแต่กรณี โดยระบบที่ผู้ใช้บริการขึ้นก่อนเป็นผู้ได้รับค่าแรกเข้าตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงคมนาคม ซึ่งอัตราค่าแรกเข้าจะเป็นอัตราที่ รฟท. และเอกชนคู่สัญญาจะตกลงร่วมกัน
ภาพจาก EEC WE CAN
ทั้งนี้ ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนระบุกรณีที่รัฐบาลหรือ รฟท. มีความประสงค์จะลดหรือยกเว้นค่าโดยสาร ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งของระยะเวลาโครงการฯ เมื่อ รฟท. แจ้งความประสงค์มายังเอกชนคู่สัญญา ทางคู่สัญญาจะมาตกลงกันเกี่ยวกับแนวทางการลด หรือยกเว้นค่าโดยสาร เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล หรือ รฟท. นั้น รวมถึงแนวทางการเยียวยาผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของเอกชนคู่สัญญาที่เกิดขึ้นจากการลดหรือยกเว้นค่าโดยสารดังกล่าว
นอกจากนี้ ในกรณีที่เอกชนคู่สัญญาประสงค์จะเรียกเก็บค่าโดยสารในอัตราพิเศษที่สูงกว่าอัตราค่าโดยสารปกติ สำหรับที่นั่งผู้โดยสารชั้นหนึ่ง (First Class) หรือผู้โดยสารชั้นธุรกิจ (Business Class) เอกชนคู่สัญญาจะดำเนินการได้โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่า สัดส่วนของจำนวนที่นั่งทั้งหมดของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง หรือผู้โดยสารชั้นธุรกิจรวมกันแล้ว ต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 26 ของจำนวนที่นั่งของผู้โดยสารทั้งหมดในแต่ละขบวนรถไฟที่วิ่งให้บริการแก่ผู้ใช้บริการในแต่ละรอบ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 ไทยพีบีเอส รายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 3 เกี่ยวกับอัตราค่าโดยสาร ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้แก่ สนามบินสุวรรณภูมิ, สนามบินดอนเมือง และสนามบินอู่ตะเภา
โดยมีการเซ็นสัญญาระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม 3 สนามบิน จำกัด หรือกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ซึ่งมี 9 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง, สถานีบางซื่อ, สถานีมักกะสัน, สถานีสุวรรณภูมิ, สถานีฉะเชิงเทรา, สถานีชลบุรี, สถานีศรีราชา, สถานีพัทยา และสถานีอู่ตะเภา โดยมีระยะเวลาโครงการ 50 ปี ได้แก่ งานระยะที่ 1 คือช่วงออกแบบก่อสร้าง 5 ปี และงานระยะที่ 2 คือช่วงการให้บริการเดินรถและงานซ่อมบำรุงรักษา 45 ปี
ภาพจาก EEC WE CAN
สำหรับรายละเอียดค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูง อัตราค่าโดยสารเริ่มตั้งแต่ 115-490 บาท, แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ อัตราค่าโดยสารเริ่มตั้งแต่ 15-45 บาท และแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ส่วนต่อขยาย อัตราค่าโดยสารเริ่มตั้งแต่ 44-97 บาท ซึ่งเอกชนคู่สัญญาสามารถปรับอัตราค่าโดยสารได้ทุก 36 เดือน โดยการปรับอัตราค่าโดยสารครั้งที่ 1 จะเริ่มต้นเมื่อครบระยะเวลา 8 ปี นับจากวันที่ รฟท. ออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงานในส่วนของการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ (ไม่รวมแอร์พอร์ต เรล ลิงก์)
ขณะเดียวกัน เอกชนคู่สัญญา ตกลงว่าจะไม่เรียกเก็บค่าโดยสารในส่วนของค่าแรกเข้าระบบ หากผู้ใช้บริการเปลี่ยนถ่ายจากรถไฟสายอื่นที่ใช้ระบบรถไฟเดียวกันกับรถไฟความเร็วสูง หรือแอร์พอร์ต เรลลิงก์ และแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ส่วนต่อขยาย แล้วแต่กรณี โดยระบบที่ผู้ใช้บริการขึ้นก่อนเป็นผู้ได้รับค่าแรกเข้าตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงคมนาคม ซึ่งอัตราค่าแรกเข้าจะเป็นอัตราที่ รฟท. และเอกชนคู่สัญญาจะตกลงร่วมกัน
ภาพจาก EEC WE CAN
ทั้งนี้ ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนระบุกรณีที่รัฐบาลหรือ รฟท. มีความประสงค์จะลดหรือยกเว้นค่าโดยสาร ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งของระยะเวลาโครงการฯ เมื่อ รฟท. แจ้งความประสงค์มายังเอกชนคู่สัญญา ทางคู่สัญญาจะมาตกลงกันเกี่ยวกับแนวทางการลด หรือยกเว้นค่าโดยสาร เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล หรือ รฟท. นั้น รวมถึงแนวทางการเยียวยาผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของเอกชนคู่สัญญาที่เกิดขึ้นจากการลดหรือยกเว้นค่าโดยสารดังกล่าว
นอกจากนี้ ในกรณีที่เอกชนคู่สัญญาประสงค์จะเรียกเก็บค่าโดยสารในอัตราพิเศษที่สูงกว่าอัตราค่าโดยสารปกติ สำหรับที่นั่งผู้โดยสารชั้นหนึ่ง (First Class) หรือผู้โดยสารชั้นธุรกิจ (Business Class) เอกชนคู่สัญญาจะดำเนินการได้โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่า สัดส่วนของจำนวนที่นั่งทั้งหมดของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง หรือผู้โดยสารชั้นธุรกิจรวมกันแล้ว ต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 26 ของจำนวนที่นั่งของผู้โดยสารทั้งหมดในแต่ละขบวนรถไฟที่วิ่งให้บริการแก่ผู้ใช้บริการในแต่ละรอบ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก