ทีมวิจัยนกเงือกพบ ซากนกกกตัวเมียตายคาโพรง คาดพ่อนกถูกยิงตายขณะบินออกหาอาหาร ชี้ยังมีคนล่าลูกนกและหัวนกไปขายอยู่
ล่าสุด (8 พฤศจิกายน 2562) ไทยพีบีเอส รายงานว่า นายปรีดา กล่าวว่า ทีมวิจัยไปเฝ้าแม่นกกก ที่เข้าโพรงหมายเลข 108 มาประมาณ 1 เดือน เนื่องจากในช่วงนี้นกเงือกในป่าบูโด จะเข้าไปทำรังวางไข่ และตัวแม่จะเริ่มผลัดขนในโพรง ส่วนพ่อนกจะคอยหาอาหารมาป้อนให้กับแม่นกทุกวัน กระทั่งอยู่มาวันหนึ่ง ไม่เห็นพ่อนกมาแล้ว แต่นักวิจัยก็ยังไปเฝ้าและเห็นความผิดปกตินี้มาตลอด เมื่อขึ้นไปสำรวจโพรง จึงเจอซากแม่นกกนอนตายในโพรง แต่ไม่เจอซากไข่ จึงสันนิษฐานว่าพ่อนกน่าจะถูกยิงตาย เพราะในจุดไม่ไกลกันมากนัก ชาวบ้านเจอหัวของนกกกตัวผู้บริเวณต้นไทรที่นกไปหาอาหาร
โดยช่วงนี้นกเงือกจะจับคู่และอยู่ในช่วงทำรังวางไข่
กรณีของแม่นกกกที่เจอ ถือเป็นโพรงแรกของปีนี้
แต่หัวตัวผู้เจออาจจะไม่ใช่คู่ของตัวเมียดังกล่าว
แต่หากเป็นคู่ของแม่นกในโพรงที่ตาย ในมุมของตนก็คิดว่าดีกว่า
เพราะเท่ากับครอบครัวนี้ตายยกครัว แต่หากเป็นของโพรงอื่น ๆ
ก็จะทำให้มีนกคู่อื่นตาย เท่ากับสูญเสียถึง 2 เท่า
โดย
นายปรีดา เล่าต่อว่า ที่ผ่านมา
ยังมีคนล่าลูกนกและหัวนกเงือกเพื่อนำไปขายอยู่
ส่วนกรณีพบซกหัวนกตัวผู้ที่อยู่ไม่ห่างจากต้นไทรนั้น
ตามธรรมชาตินกเงือกจะไม่ป่วยตาย เพราะตัวผู้ร่างกายต้องแข็งแรง ดังนั้น
ดูจากสภาพแวดล้อมแล้วคิดว่าน่าจะถูกฆ่าตาย เพราะนกต้องอยู่บนที่สูง
จึงต้องถูกยิงในจุดสำคัญและตกลงมาตาย ซึ่งตนรู้สึกสะเทือนใจ
เหมือนกับครอบครัวนกตายยกครัว แม้จะไม่เจอไข่นกและลูกนกนอนตายกับแม่ในโพรง
แต่ปีที่ผ่านมาเคยเจอลักษณะนี้มาแล้ว 2 โพรง โดยโพรงแรกแม่นกตาย 1 ตัว
และอีกโพรงแม่นกตายพร้อมซากลูก
นอกจากนี้ นายปรีดา ให้ข้อมูลอีกว่า นกเงือกที่อยู่ในธรรมชาติส่วนใหญ่จะถูกยิงตาย ตนไม่เคยพบนกเงือกป่วย หรือถูกงูกัดตาย เพราะงูคืออาหารของมัน ส่วนศัตรูในธรรมชาติ เช่น หมีขอ, หมีหมา และหมาไม้ ก็มีน้อยมาก ยากที่จะมาจับนกเงือกกิน เว้นเสียแต่ปิดปากโพรงไม่สนิท ซึ่งหากพบหัว หรือซากนกเงือกตัวผู้ในฤดูทำรัง แน่นอนว่าอาจจะมีแม่นกฟักไข่เลี้ยงลูกที่ใดสักแห่งที่โพรงไม้ในป่ากำลังรอความตายอย่างทรมาน ดังเช่นกรณีที่พบแม่นกเงือกตายอยู่ในโพรงรังนั่นเอง
![ซากนกกกตายคาโพรง ซากนกกกตายคาโพรง]()
![ซากนกกกตายคาโพรง ซากนกกกตายคาโพรง]()
![ซากนกกกตายคาโพรง ซากนกกกตายคาโพรง]()
![ซากนกกกตายคาโพรง ซากนกกกตายคาโพรง]()

ภาพจาก เฟซบุ๊ก
Preeda Budo
เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 นายปรีดา เทียนส่งรัศมี
หัวหน้าโครงการคุ้มครองนกเงือก (ส่วนภาคใต้) คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊ก Preeda Budo ระบุว่า ทางเจ้าหน้าที่ทีมวิจัยนกเงือก เขากะพ้อ ต.กะรุบี จ.ปัตตานี
ได้เดินทางไปสำรวจโพรงรังนกกกหมายเลข 108 ที่ต้นก้างปลา
โดยในปีนี้นกเข้ารังแต่ไม่สำเร็จ เจ้าหน้าที่มาเก็บข้อมูลได้เพียง 1 เดือน
พ่อนกก็หายไป ซึ่งหลังจากสิ้นสุดฤดูทำรัง ทางทีมซ่อมโพรงจึงปีนขึ้นไปสำรวจ
พบว่า ปากโพรงปกติ แต่ภายในโพรงรังพบเศษซากของแม่นกกกตายอยู่ภายใน
ทางทีมวิจัยจึงตั้งข้อสันนิษฐานว่า
พ่อนกอาจถูกยิงตายและแม่นกไม่สามารถบินได้เนื่องจากกำลังผลัดขน
ส่วนสาเหตุอื่นยังไม่ทราบ
ล่าสุด (8 พฤศจิกายน 2562) ไทยพีบีเอส รายงานว่า นายปรีดา กล่าวว่า ทีมวิจัยไปเฝ้าแม่นกกก ที่เข้าโพรงหมายเลข 108 มาประมาณ 1 เดือน เนื่องจากในช่วงนี้นกเงือกในป่าบูโด จะเข้าไปทำรังวางไข่ และตัวแม่จะเริ่มผลัดขนในโพรง ส่วนพ่อนกจะคอยหาอาหารมาป้อนให้กับแม่นกทุกวัน กระทั่งอยู่มาวันหนึ่ง ไม่เห็นพ่อนกมาแล้ว แต่นักวิจัยก็ยังไปเฝ้าและเห็นความผิดปกตินี้มาตลอด เมื่อขึ้นไปสำรวจโพรง จึงเจอซากแม่นกกนอนตายในโพรง แต่ไม่เจอซากไข่ จึงสันนิษฐานว่าพ่อนกน่าจะถูกยิงตาย เพราะในจุดไม่ไกลกันมากนัก ชาวบ้านเจอหัวของนกกกตัวผู้บริเวณต้นไทรที่นกไปหาอาหาร
อย่างไรก็ตาม
สัญชาตญาณของพ่อนก จะต้องหาอาหารมาป้อนอาหารให้กับแม่นก
จากการสำรวจโพรงรังนกที่เทือกเขาบูโด มีประมาณ 200 รัง มีนกใช้ทำรังแล้ว 47
โพรงหรือร้อยละ 50% ถือว่าปกติ ยังไม่เพิ่มขึ้น ซึ่งตามธรรมชาติของแม่นก
ถ้าเข้าโพรงแล้วผลัดขนวางไข่ก็จะบินไม่ได้ ไม่สามารถออกไปหาอาหารได้
เมื่อตัวผู้หายไปก็จะตายไปด้วย เพราะนกเงือกเป็นสัตว์ที่รักเดียวใจเดียว
หากตัวผู้ตายไปก็หมายความว่าอีก 2 ชีวิตที่รออยู่จะอดอาหารตายในที่สุด

ภาพจาก เฟซบุ๊ก
Preeda Budo
นอกจากนี้ นายปรีดา ให้ข้อมูลอีกว่า นกเงือกที่อยู่ในธรรมชาติส่วนใหญ่จะถูกยิงตาย ตนไม่เคยพบนกเงือกป่วย หรือถูกงูกัดตาย เพราะงูคืออาหารของมัน ส่วนศัตรูในธรรมชาติ เช่น หมีขอ, หมีหมา และหมาไม้ ก็มีน้อยมาก ยากที่จะมาจับนกเงือกกิน เว้นเสียแต่ปิดปากโพรงไม่สนิท ซึ่งหากพบหัว หรือซากนกเงือกตัวผู้ในฤดูทำรัง แน่นอนว่าอาจจะมีแม่นกฟักไข่เลี้ยงลูกที่ใดสักแห่งที่โพรงไม้ในป่ากำลังรอความตายอย่างทรมาน ดังเช่นกรณีที่พบแม่นกเงือกตายอยู่ในโพรงรังนั่นเอง
สำหรับ นกกก,
นกกะวะ หรือนกกาฮัง เป็นนกขนาดใหญ่จำพวกนกเงือก
โดยนกกกสามารถพบได้ในป่าของอินเดีย, คาบสมุทรมลายู, สุมาตรา และอินโดนีเซีย
ด้วยขนาดและสีสันที่สวยงาม
ทำให้นกกกเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญเชิงวัฒนธรรมและพิธีกรรมในหลายชนเผ่า
ซึ่งนกกกเป็นนกที่มีอายุยืนและหากอยู่ในกรงเลี้ยงก็สามารถมีอายุได้ถึง 50
ปี และปกติจะกินผลไม้เป็นอาหาร โดยเฉพาะลูกไทร

ภาพจาก เฟซบุ๊ก
Preeda Budo

ภาพจาก เฟซบุ๊ก
Preeda Budo

ภาพจาก เฟซบุ๊ก
Preeda Budo

ภาพจาก เฟซบุ๊ก
Preeda Budo
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก