ศาลฎีกา พิพากษาจำคุก 2 ปี นางเบญจา หลุยเจริญ อดีต รมช.คลัง และพวกรวม 5 คน คดีช่วยเหลือ โอ๊ค-เอม ลูกนายทักษิณ ชินวัตร เลี่ยงภาษีขายหุ้น - ไม่รอลงอาญา
วันที่ 26 ธันวาคม 2562 มีรายงานว่า ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถ.นครไชยศรี นัดอ่านฎีกาคดีที่ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง
- นางเบญจา หลุยเจริญ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (อดีต รมช.คลัง) สมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตรองอธิบดีกรมสรรพากร
- นางสาวจำรัส แหยมสร้อยทอง อดีต ผอ.สำนักกฎหมาย
- นางสาวโมรีรัตน์ บุญญาศิริ อดีต ผอ.สำนักกฎหมาย
- นายกริช วิปุลานุสาสน์ ผอ.สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร
- นางสาวปราณี เวชพฤกษ์พิทักษ์ คนใกล้ชิดเลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภริยานายทักษิณ ชินวัตร
เป็นจำเลยที่ 1-5 ฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.157
สืบเนื่องจากกรณีให้การช่วยเหลือ นายพานทองแท้ ชินวัตร หรือ โอ๊ค และ นางสาวพินทองทา ชินวัตร หรือ เอม บุตรชายและบุตรสาวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เลี่ยงเสียภาษีอากร หรือเสียภาษีน้อยกว่าที่จะต้องเสีย ในการซื้อหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น เมื่อปี 2549
โดยคดีนี้จำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ ขณะที่ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์
พิพากษายืนให้จำคุกจำเลยที่ 1-4 คนละ 3 ปี
ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ
หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำให้เกิดความเสียหายแก่กรมสรรพากร
ตาม ป.อ.มาตรา 157 ส่วนจำเลยที่ 5 จำคุก 2 ปี ฐานเป็นผู้สนับสนุนฯ
ต่อมาจำเลยทั้งหมดยื่นฎีกาสู้คดี พร้อมขอให้พิจารณาลงโทษสถานเบาหรือรอลงอาญา โดยระหว่างฎีกา จำเลยทั้งหมดได้ประกันตัวคนละ 500,000 บาท ซึ่งวันนี้ทั้งหมดเดินทางมาพร้อมฟังคำพิพากษา
ทั้งนี้ ศาลฎีกาตรวจสำนวน และประชุมปรึกษาหารือกันแล้ว เห็นว่า
การกระทำของจำเลยที่ 1-4 ในการตอบข้อหารือประเมินภาษี การซื้อ-ขายหุ้นชินคอร์ปฯ ให้กับจำเลยที่ 5 รับทราบนั้น แอบแฝงเจตนาที่จะช่วยนายพานทองแท้ และนางสาวพินทองทา ประกอบกับแนวการตอบข้อหารือ
ก็ไม่ตรงกับข้อหารือที่กรมสรรพากรเคยวินิจฉัยเกี่ยวกับการซื้อ-ขายหุ้นบางประการไว้ อีกทั้งยังฟังได้ว่า การที่จำเลยที่ 5
มีหนังสือแจ้งถามข้อหารือมายังกรมสรรพากร
ก็เป็นการวางแผนที่เตรียมไว้ในการขายหุ้นกลุ่มชินคอร์ปฯ
ให้กับกลุ่มเทมาเส็ก ประเทศสิงคโปร์ ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเคยวินิจฉัยว่า
เจ้าของหุ้นที่แท้จริงคือ นายทักษิณ ชินวัตร
ซึ่งจำเลยที่ 1-4 เป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรระดับสูง เคยวินิจฉัยข้อกฎหมายต่าง ๆ มา และถือเป็นมันสมองของกรมสรรพากร ขณะที่จำเลยที่ 5 ก็เคยทำงานเกี่ยวกับการตรวจสอบบัญชีและตรวจสอบการประเมินภาษี จึงย่อมรู้ดีว่าการมีหนังสือถามข้อหารือดังกล่าว นายพานทองแท้ และนางสาวพินทองทา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการยื่นแบบรายได้ประเมินภาษีได้ และหากมีคดีความเกิดขึ้นทั้งอาญาหรือแพ่ง ก็สามารถนำหนังสือตอบข้อหารือนี้ไปใช้อ้างเพื่อเป็นประโยชน์ได้ ขณะที่ข้อสงสัยในการประเมินภาษีลักษณะดังกล่าวยังไม่เคยมีแนวคำวินิจฉัย
ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ส่วนที่จำเลยทั้ง 5 ขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอลงอาญานั้น เห็นว่าการกระทำของจำเลยทั้ง 5 มีพฤติการณ์ร้ายแรง แต่เมื่อพิเคราะห์จากคำให้การของจำเลยที่ 1-4 แล้ว เห็นว่ายังมีประโยชน์ ควรลดโทษให้คนละ 1 ใน 3 พิพากษาแก้ให้จำคุก จำเลยที่ 1-4 คนละ 2 ปี ส่วนจำเลยที่ 5 คงจำคุกไว้ 2 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ภาพจาก สำนักข่าว INN
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศหลังศาลฎีกาพิพากษาให้ลงโทษจำคุกโดยไม่รอลงอาญา
จำเลยทั้งหมดมีสีหน้าเคร่งขรึม และเสียใจ
โดยญาติได้รีบเข้าไปโอบกอดให้กำลังใจ จำเลยบางคนพยายามกลั้นน้ำตาและกล่าวขอบคุณด้วยเสียงสั่นเครือ
ขณะที่จำเลยที่ 5 ที่มีอายุมากและมีอาการป่วย ญาติก็แสดงความกังวลใจเกี่ยวกับสุขภาพ ซึ่งได้มีการนำยารักษาโรคประจำตัวมาให้ด้วย ก่อนเตรียมส่งตัวเข้าเรือนจำ ซึ่งในส่วนของจำเลยผู้ชาย จะถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ส่วนจำเลยผู้หญิง จะเข้าทัณฑสถานหญิงกลาง
ข้อมูลจาก สำนักข่าว INN
วันที่ 26 ธันวาคม 2562 มีรายงานว่า ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถ.นครไชยศรี นัดอ่านฎีกาคดีที่ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง
- นางเบญจา หลุยเจริญ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (อดีต รมช.คลัง) สมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตรองอธิบดีกรมสรรพากร
- นางสาวจำรัส แหยมสร้อยทอง อดีต ผอ.สำนักกฎหมาย
- นางสาวโมรีรัตน์ บุญญาศิริ อดีต ผอ.สำนักกฎหมาย
- นายกริช วิปุลานุสาสน์ ผอ.สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร
- นางสาวปราณี เวชพฤกษ์พิทักษ์ คนใกล้ชิดเลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภริยานายทักษิณ ชินวัตร
เป็นจำเลยที่ 1-5 ฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.157
สืบเนื่องจากกรณีให้การช่วยเหลือ นายพานทองแท้ ชินวัตร หรือ โอ๊ค และ นางสาวพินทองทา ชินวัตร หรือ เอม บุตรชายและบุตรสาวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เลี่ยงเสียภาษีอากร หรือเสียภาษีน้อยกว่าที่จะต้องเสีย ในการซื้อหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น เมื่อปี 2549
ภาพจาก Instagram aimpintongta
ต่อมาจำเลยทั้งหมดยื่นฎีกาสู้คดี พร้อมขอให้พิจารณาลงโทษสถานเบาหรือรอลงอาญา โดยระหว่างฎีกา จำเลยทั้งหมดได้ประกันตัวคนละ 500,000 บาท ซึ่งวันนี้ทั้งหมดเดินทางมาพร้อมฟังคำพิพากษา
ซึ่งจำเลยที่ 1-4 เป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรระดับสูง เคยวินิจฉัยข้อกฎหมายต่าง ๆ มา และถือเป็นมันสมองของกรมสรรพากร ขณะที่จำเลยที่ 5 ก็เคยทำงานเกี่ยวกับการตรวจสอบบัญชีและตรวจสอบการประเมินภาษี จึงย่อมรู้ดีว่าการมีหนังสือถามข้อหารือดังกล่าว นายพานทองแท้ และนางสาวพินทองทา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการยื่นแบบรายได้ประเมินภาษีได้ และหากมีคดีความเกิดขึ้นทั้งอาญาหรือแพ่ง ก็สามารถนำหนังสือตอบข้อหารือนี้ไปใช้อ้างเพื่อเป็นประโยชน์ได้ ขณะที่ข้อสงสัยในการประเมินภาษีลักษณะดังกล่าวยังไม่เคยมีแนวคำวินิจฉัย
ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ส่วนที่จำเลยทั้ง 5 ขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอลงอาญานั้น เห็นว่าการกระทำของจำเลยทั้ง 5 มีพฤติการณ์ร้ายแรง แต่เมื่อพิเคราะห์จากคำให้การของจำเลยที่ 1-4 แล้ว เห็นว่ายังมีประโยชน์ ควรลดโทษให้คนละ 1 ใน 3 พิพากษาแก้ให้จำคุก จำเลยที่ 1-4 คนละ 2 ปี ส่วนจำเลยที่ 5 คงจำคุกไว้ 2 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ภาพจาก สำนักข่าว INN
ขณะที่จำเลยที่ 5 ที่มีอายุมากและมีอาการป่วย ญาติก็แสดงความกังวลใจเกี่ยวกับสุขภาพ ซึ่งได้มีการนำยารักษาโรคประจำตัวมาให้ด้วย ก่อนเตรียมส่งตัวเข้าเรือนจำ ซึ่งในส่วนของจำเลยผู้ชาย จะถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ส่วนจำเลยผู้หญิง จะเข้าทัณฑสถานหญิงกลาง