นักวิชาการ เผยผลตรวจสอบค่าความเค็มน้ำประปา พบสูงกว่าปกติ 5-10 เท่าตัว สืบเนื่องจากวิกฤตภัยแล้ง เตือนคนกรุงและปริมณฑลรับมือ คาดน้ำเค็มยาวนานถึงเดือนพฤษภาคม 2563
สืบเนื่องจากกรณี รศ. ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต เตือนภัยถึงสถานการณ์น้ำประปาในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ว่ามีค่าความเค็มเกินมาตรฐานที่เป็นอันตรายต่อเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคไต โรคหัวใจ เบาหวาน และความดัน ตั้งแต่ช่วงปีใหม่ 2563 สืบเนื่องจากภัยแล้ง ให้ใช้น้ำด้วยความระมัดระวัง ตามที่มีรายงานไปแล้วนั้น
อ่านข่าว : นักวิชาการดังเตือนคนกรุง ค่าความเค็มน้ำประปาเกินมาตรฐาน อันตรายกำลังคืบเข้ามา
ล่าสุด (4 มกราคม 2563) จากการตรวจสอบไปยังเฟซบุ๊ก Chaiwat Vorapeboonpong ของนายชัยวัฒน์ วรพิบูลพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญการประปานครหลวง ระดับ 10 พบว่าได้มีการโพสต์ข้อความเตือนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ที่ผ่านมา ระบุว่า วิกฤตน้ำประปาเค็มจะอยู่ยาวนานถึงเดือนพฤษภาคม 2563 พร้อมเปิดเผยว่า มีผลการตรวจสอบค่าความเค็มที่สูงกว่าปกติ 5-10 เท่าตัว มีคุณหมอฝากเตือนมาให้ระมัดระวังและปรับตัวการใช้น้ำ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยประเภทโรคไต หัวใจ สมอง และความดันโลหิตสูง
วันที่ 28 ธันวาคม 2562
- เวลา 18.30 น. วัดค่าความเค็มได้ 1,780 มิลลิกรัม / ลิตร
- เวลา 20.40 น. วัดค่าความเค็มได้ 2,030 มิลลิกรัม / ลิตร (นิวไฮ)
วันที่ 29 ธันวาคม 2562
- เวลา 18.00 น. วัดค่าความเค็มได้ 1,030 มิลลิกรัม / ลิตร
วันที่ 30 ธันวาคม 2562
- เวลา 18.30 น. วัดค่าความเค็มได้ 740 มิลลิกรัม / ลิตร
วันที่ 31 ธันวาคม 2562
- เวลา 11.20 น. วัดค่าความเค็มได้ 280 มิลลิกรัม / ลิตร
- เวลา 19.40 น. วัดค่าความเค็มได้ 660 มิลลิกรัม / ลิตร
วันที่ 1 มกราคม 2563
- เวลา 20.30 น. วัดค่าความเค็มได้ 720 มิลลิกรัม / ลิตร
วันที่ 2 มกราคม 2563
- เวลา 18.20 น. วัดค่าความเค็มได้ 580 มิลลิกรัม / ลิตร
วันที่ 3 มกราคม 2563
- เวลา 18.00 น. วัดค่าความเค็มได้ 700 มิลลิกรัม / ลิตร
วันที่ 4 มกราคม 2563
- เวลา 07.00 น. วัดค่าความเค็มได้ 200 มิลลิกรัม / ลิตร