สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผย 20 มีนาคม 2565 เป็นวันวสันตวิษุวัต ช่วงเวลากลางวันเท่ากับกลางคืน ดาวศุกร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันตกมากที่สุด 46.6 องศา ถือเป็นวันเปลี่ยนฤดูกาลเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศซีกโลกเหนือ และเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงของประเทศซีกโลกใต้
ในทางดาราศาสตร์ กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน เป็นจุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี (ละติจูด 0 องศา) โดยขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออก และตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกพอดี และถือเป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงของประเทศในซีกโลกใต้
สำหรับประเทศไทย วันดังกล่าวดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 06.22 น. และจะตกลับขอบฟ้าเวลาประมาณ 18.29 น.
ทั้งนี้ ใน 1 ปี โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี จึงมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ช่วงใกล้ที่สุดประมาณต้นเดือนมกราคม ประมาณ 147 ล้านกิโลเมตร และช่วงไกลที่สุดประมาณต้นเดือนกรกฎาคม ระยะห่างเฉลี่ย 152 ล้านกิโลเมตร
เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระยะทางใกล้-ไกลในการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ถือเป็นอัตราส่วนที่น้อยมาก ไม่มีผลต่อการเกิดฤดูกาลแต่อย่างใด แต่การที่แกนโลกเอียงทำมุม 23.5 องศา กับแนวตั้งฉากกับระนาบโคจรของดวงอาทิตย์ พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกจึงรับแสงอาทิตย์ได้ในปริมาณไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีอุณหภูมิต่างกัน
รวมถึงมีระยะเวลากลางวันและกลางคืนที่ต่างกันด้วย เป็นเหตุให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลก สังเกตได้ว่าฤดูร้อน เวลากลางวันจะยาวกว่ากลางคืน ดวงอาทิตย์ขึ้นเร็วและตกช้า ส่วนในฤดูหนาว เวลากลางคืนจะยาวกว่ากลางวัน ดวงอาทิตย์ขึ้นช้าและตกเร็ว
![วันวสันตวิษุวัต วันวสันตวิษุวัต]()
![วันวสันตวิษุวัต วันวสันตวิษุวัต]()
![วันวสันตวิษุวัต วันวสันตวิษุวัต]()
![วันวสันตวิษุวัต วันวสันตวิษุวัต]()
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยว่า วันที่ 20 มีนาคม 2565 เป็นวัน "วสันตวิษุวัต" (วะ-สัน-ตะ-วิ-สุ-วัด) หรือ Vernal Equinox ช่วงเวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน ดาวศุกร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันตกมากที่สุด 46.6 องศา สังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 04.00 น. จนถึงรุ่งเช้า
ในทางดาราศาสตร์ กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน เป็นจุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี (ละติจูด 0 องศา) โดยขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออก และตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกพอดี และถือเป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงของประเทศในซีกโลกใต้
สำหรับประเทศไทย วันดังกล่าวดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 06.22 น. และจะตกลับขอบฟ้าเวลาประมาณ 18.29 น.
ทั้งนี้ ใน 1 ปี โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี จึงมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ช่วงใกล้ที่สุดประมาณต้นเดือนมกราคม ประมาณ 147 ล้านกิโลเมตร และช่วงไกลที่สุดประมาณต้นเดือนกรกฎาคม ระยะห่างเฉลี่ย 152 ล้านกิโลเมตร
เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระยะทางใกล้-ไกลในการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ถือเป็นอัตราส่วนที่น้อยมาก ไม่มีผลต่อการเกิดฤดูกาลแต่อย่างใด แต่การที่แกนโลกเอียงทำมุม 23.5 องศา กับแนวตั้งฉากกับระนาบโคจรของดวงอาทิตย์ พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกจึงรับแสงอาทิตย์ได้ในปริมาณไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีอุณหภูมิต่างกัน
รวมถึงมีระยะเวลากลางวันและกลางคืนที่ต่างกันด้วย เป็นเหตุให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลก สังเกตได้ว่าฤดูร้อน เวลากลางวันจะยาวกว่ากลางคืน ดวงอาทิตย์ขึ้นเร็วและตกช้า ส่วนในฤดูหนาว เวลากลางคืนจะยาวกว่ากลางวัน ดวงอาทิตย์ขึ้นช้าและตกเร็ว