นักวิจัยคาด ขั้วโลกเหนืออาจไม่เหลือน้ำแข็งในช่วงฤดูร้อน ก่อนปี 2593 เพราะโลกร้อน และการปล่อยมลพิษต่อเนื่อง ยังเหลือความหวังควบคุมให้เกิดขึ้นแค่บางปี ถ้าร่วมใจลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้
วันที่ 20 เมษายน 2563 เว็บไซต์อินเดิเพนเดนต์ รายงานว่า งานวิจัยชิ้นใหม่ในวารสาร Geophysical Research Letters เผยให้เห็นผลกระทบอันเลวร้ายที่เกิดจากสภาวะโลกร้อน โดยนักวิจัยคาดว่าบริเวณขั้วโลกเหนือซึ่งเคยมีน้ำแข็งปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติกตลอดทั้งปี จะอยู่ในสภาพที่ปราศจากน้ำแข็งในช่วงฤดูร้อนก่อนปี 2593 แม้โลกจะบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยมลพิษแล้วก็ตาม
ท่ามกลางสภาวะโลกร้อนที่เลวร้ายขึ้นทุกวัน อุณหภูมิเฉลี่ยที่มหาสมุทรอาร์กติกขณะนี้อยู่ที่ 2 องศาเซลเซียส นับว่าสูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรม ขอบเขตของแผ่นน้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทรลดขนาดลงเร็วกว่าที่เคยเป็น
ที่ผ่านมาแผ่นน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกจะลดขนาดและขยายใหญ่ขึ้นตามฤดูกาล โดยจะลดขนาดลงในช่วงฤดูร้อน และขยายขอบเขตให้ใหญ่ขึ้นในช่วงฤดูหนาว แผ่นน้ำแข็งเหล่านี้ยังมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการเป็นถิ่นที่อยู่ของหมีขั้วโลกและแมวน้ำ อย่างไรก็ตามในอนาคตทุกสิ่งอาจเปลี่ยนไป
โดยนักวิจัยได้สร้างแบบจำลองผลกระทบจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีต่อแผ่นน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์ติก พบว่าหากเรายังคงมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมากในอนาคต รวมถึงยังใช้มาตรการป้องกันภาวะโลกร้อนที่ไม่เพียงพอเช่นนี้ต่อไป เราอาจได้เห็นมหาสมุทรอาร์ติกที่น้ำแข็งละลายจนหมดในช่วงฤดูร้อน ภายในไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า หรือก่อนปี 2593
อย่างไรก็ตาม เรายังสามารถควบคุมเหตุการณ์น้ำแข็งขั้วโลกละลายไปจนหมด
ให้เกิดขึ้นเพียงครั้งคราวได้
หากสามารถลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้อย่างรวดเร็ว โดย เดิร์ก
น็อตซ์ ผู้นำทีมวิจัยน้ำแข็งในมหาสมุทร จากมหาวิทยาลัยแฮมเบิร์ก ระบุว่า
หากเราสามารถลดการปล่อยมลพิษทั่วโลกลงได้อย่างรวดเร็ว และยั่งยืน
รวมถึงทำให้อุณหภูมิต่ำลง 2 องศาเซลเซียส เหมือนยุคก่อนอุตสาหกรรม
เราอาจได้เห็นน้ำแข็งที่ขั้วโลก "หายไปเป็นครั้งคราว"
ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังชี้ว่า ขณะนี้มีเพียงมาตรการป้องกันโลกร้อนที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น ที่จะกำหนดได้ว่าเราเหลือเวลาอีกกี่ปี ที่โลกจะยังคงมีน้ำแข็งปกคลุมขั้วโลกตลอดทั้งปี

วันที่ 20 เมษายน 2563 เว็บไซต์อินเดิเพนเดนต์ รายงานว่า งานวิจัยชิ้นใหม่ในวารสาร Geophysical Research Letters เผยให้เห็นผลกระทบอันเลวร้ายที่เกิดจากสภาวะโลกร้อน โดยนักวิจัยคาดว่าบริเวณขั้วโลกเหนือซึ่งเคยมีน้ำแข็งปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติกตลอดทั้งปี จะอยู่ในสภาพที่ปราศจากน้ำแข็งในช่วงฤดูร้อนก่อนปี 2593 แม้โลกจะบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยมลพิษแล้วก็ตาม
ท่ามกลางสภาวะโลกร้อนที่เลวร้ายขึ้นทุกวัน อุณหภูมิเฉลี่ยที่มหาสมุทรอาร์กติกขณะนี้อยู่ที่ 2 องศาเซลเซียส นับว่าสูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรม ขอบเขตของแผ่นน้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทรลดขนาดลงเร็วกว่าที่เคยเป็น
ที่ผ่านมาแผ่นน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกจะลดขนาดและขยายใหญ่ขึ้นตามฤดูกาล โดยจะลดขนาดลงในช่วงฤดูร้อน และขยายขอบเขตให้ใหญ่ขึ้นในช่วงฤดูหนาว แผ่นน้ำแข็งเหล่านี้ยังมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการเป็นถิ่นที่อยู่ของหมีขั้วโลกและแมวน้ำ อย่างไรก็ตามในอนาคตทุกสิ่งอาจเปลี่ยนไป
โดยนักวิจัยได้สร้างแบบจำลองผลกระทบจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีต่อแผ่นน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์ติก พบว่าหากเรายังคงมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมากในอนาคต รวมถึงยังใช้มาตรการป้องกันภาวะโลกร้อนที่ไม่เพียงพอเช่นนี้ต่อไป เราอาจได้เห็นมหาสมุทรอาร์ติกที่น้ำแข็งละลายจนหมดในช่วงฤดูร้อน ภายในไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า หรือก่อนปี 2593
ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังชี้ว่า ขณะนี้มีเพียงมาตรการป้องกันโลกร้อนที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น ที่จะกำหนดได้ว่าเราเหลือเวลาอีกกี่ปี ที่โลกจะยังคงมีน้ำแข็งปกคลุมขั้วโลกตลอดทั้งปี