รองโฆษกสำนักนายกฯ ยืนยัน แบน พาราควอต - คลอร์ไพริฟอส ตั้งแต่ 1 มิ.ย. 63 เป็นต้นไป ใครมีไว้ครอบครองรีบส่งคืนคนขาย ภายใน 90 วัน เผยเตรียมสารทดแทนไว้ให้เกษตรกรแล้ว
วันที่ 30 พฤษภาคม 2563 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2563 จะมีผลบังคับใช้ โดยห้ามให้มีการผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก และมีไว้ครอบครอง สารเคมีทางการเกษตรเพื่อกำจัดศัตรูพืช 5 รายการ ประกอบด้วย
1. คลอร์ไพริฟอส
2. คลอร์ไพริฟอส-เมทิล
3. พาราควอต
4. พาราควอตไดคลอไรด์
5. พาราควอตไดคลอไรด์ (เมทิล-ซัลเฟต)
ทั้งนี้ น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า รัฐบาลคำนึงถึงสุขภาพที่ดีของประชาชน ซึ่งการห้ามใช้สารเคมีดังกล่าว เพราะเป็นสารเคมีความเสี่ยงสูง อันตรายต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม และทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค จึงห้ามไม่ให้มีการใช้ โดยผ่านความเห็นชอบจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม คณะกรรมการวัตถุอันตราย รวมถึงภาคีเครือข่ายเกษตรกรต่าง ๆ
ส่วนสารทดแทน กรมวิชาการเกษตร ได้เตรียมสารทดแทนรวมถึงข้อเสนอเกี่ยวกับการกำจัดศัตรูพืชแบบธรรมชาติไว้แล้ว เพื่อรองรับผลกระทบที่จะมีต่อเกษตรกร ขอให้มั่นใจว่าการห้ามใช้สารเคมีดังกล่าว เป็นผลดีต่อสุขภาพของประชาชน เกิดประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักข่าว INN
1. คลอร์ไพริฟอส
2. คลอร์ไพริฟอส-เมทิล
3. พาราควอต
4. พาราควอตไดคลอไรด์
5. พาราควอตไดคลอไรด์ (เมทิล-ซัลเฟต)

ภาพจาก OhLanlaa / Shutterstock.com
โดยก่อนหน้านี้ กรมวิชาการเกษตร
ได้ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ต่อกับทุกภาคส่วนแล้ว พร้อมกันนี้
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
ยังได้ลงนามในคำสั่งเพื่อดำเนินการตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ซึ่งผู้มีไว้ในครอบครองเพื่อใช้กำจัดศัตรูพืชในการประกอบการเกษตรกรรม
ต้องส่งมอบคืนวัตถุอันตรายดังกล่าวแก่ผู้ขายที่ซื้อมา ภายใน 90 วัน
หรือไม่เกินวันที่ 29 สิงหาคม 2563 ส่วนผู้ขายต้องรับคืนจากผู้ซื้อ
แล้วรวบรวมข้อมูลการครอบครอง ส่งให้เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรภายใน 120
หรือไม่เกิน 28 กันยายน 2563ทั้งนี้ น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า รัฐบาลคำนึงถึงสุขภาพที่ดีของประชาชน ซึ่งการห้ามใช้สารเคมีดังกล่าว เพราะเป็นสารเคมีความเสี่ยงสูง อันตรายต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม และทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค จึงห้ามไม่ให้มีการใช้ โดยผ่านความเห็นชอบจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม คณะกรรมการวัตถุอันตราย รวมถึงภาคีเครือข่ายเกษตรกรต่าง ๆ
ส่วนสารทดแทน กรมวิชาการเกษตร ได้เตรียมสารทดแทนรวมถึงข้อเสนอเกี่ยวกับการกำจัดศัตรูพืชแบบธรรมชาติไว้แล้ว เพื่อรองรับผลกระทบที่จะมีต่อเกษตรกร ขอให้มั่นใจว่าการห้ามใช้สารเคมีดังกล่าว เป็นผลดีต่อสุขภาพของประชาชน เกิดประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักข่าว INN