เพจโบราณนานมา วอนชาวโซเชียลหยุดแชร์ ภาพถ่าย ท้าวสุรนารี หรือ ย่าโม หลังมีคนป่วนปล่อยภาพปลอมว่อนเน็ต แท้จริงเป็นภาพของ ท้าววรจันทร์ เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 4
กลายเป็นประเด็นในโลกออนไลน์ หลังจากเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ที่ผ่านมา ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้แชร์ภาพบุคคลในประวัติศาสตร์ โดยระบุข้อความว่า "บุญตาแล้วเราที่ได้เห็นภาพคุณย่าโมสาธุ ๆ" ทำหลายคนหลงเชื่อเข้ามาสาธุตาม พร้อมแชร์ภาพดังกล่าวออกไปกว่า 1 หมื่นครั้ง
ทว่า งานนี้กลับเป็นเรื่องจกตา เพราะล่าสุด (5 มิถุนายน 2563) ทางเพจเฟซบุ๊ก โบราณนานมา ได้ออกมาไขข้อกระจ่างหลังภาพดังกล่าว ได้สร้างความเข้าใจผิดและสับสน ต่อคนที่พบเห็นเป็นจำนวนมาก ยืนยัน ภาพนี้ไม่ใช่ ท้าวสุรนารี (ย่าโม) แต่เป็น "ท้าววรจันทร์"
โดยทางเพจ ได้อธิบายข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพและการใช้กล้องถ่ายรูปในสมัยนั้น ด้วยว่า ผู้ที่นำกล้องถ่ายรูปเข้ามาในไทยครั้งแรก คือ พระสังฆราชปาลเลอกัว บาทหลวงคาทอลิกชาวฝรั่งเศส ที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในประเทศเมื่อปี 2388 ตรงกับปลายรัชกาลที่ 3
ส่วนท้าวสุรนารี หรือ ย่าโม ท่านเกิดปี 2314 ในสมัยกรุงธนบุรี และมีชีวิตเรื่อยมาจนถึงแก่อสัญกรรมในปี 2395 คือช่วงต้นรัชกาลที่ 4 พอดี ซึ่งขณะนั้นกล้องถ่ายรูปเข้ามาแล้วก็จริง แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย เพราะคนสมัยนั้นมีความเชื่อว่าการปั้นหุ่น การวาดรูป การถ่ายรูป จะมีอายุสั้น หรือจะถูกนำไปใช้ทำร้ายทางไสยศาสตร์ จึงไม่กล้าที่จะถ่ายรูปกัน
ความเชื่อดังกล่าวนี้ มีมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 4
เป็นเจ้านายพระองค์แรก ๆ ที่ทรงยอมถ่ายภาพพระบรมฉายาลักษณ์
ทำให้การถ่ายภาพเริ่มได้รับความนิยมในหมู่ชนชั้นสูง
และประชาชนก็นิยมการถ่ายภาพเจริญรอยตามพระองค์มากขึ้น
เมื่อเทียบจากช่วงเวลาที่กล้องถ่ายรูปได้รับความนิยม และปีที่ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีภาพถ่ายจริง ๆ ของย่าโม
ส่วนบุคคลในภาพ คือ ท้าววรจันทร์ หรือ เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 4 มีพระราชโอรส 1 พระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา เป็นต้นราชสกุล "โสณกุล"
กลายเป็นประเด็นในโลกออนไลน์ หลังจากเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ที่ผ่านมา ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้แชร์ภาพบุคคลในประวัติศาสตร์ โดยระบุข้อความว่า "บุญตาแล้วเราที่ได้เห็นภาพคุณย่าโมสาธุ ๆ" ทำหลายคนหลงเชื่อเข้ามาสาธุตาม พร้อมแชร์ภาพดังกล่าวออกไปกว่า 1 หมื่นครั้ง
ทว่า งานนี้กลับเป็นเรื่องจกตา เพราะล่าสุด (5 มิถุนายน 2563) ทางเพจเฟซบุ๊ก โบราณนานมา ได้ออกมาไขข้อกระจ่างหลังภาพดังกล่าว ได้สร้างความเข้าใจผิดและสับสน ต่อคนที่พบเห็นเป็นจำนวนมาก ยืนยัน ภาพนี้ไม่ใช่ ท้าวสุรนารี (ย่าโม) แต่เป็น "ท้าววรจันทร์"
โดยทางเพจ ได้อธิบายข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพและการใช้กล้องถ่ายรูปในสมัยนั้น ด้วยว่า ผู้ที่นำกล้องถ่ายรูปเข้ามาในไทยครั้งแรก คือ พระสังฆราชปาลเลอกัว บาทหลวงคาทอลิกชาวฝรั่งเศส ที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในประเทศเมื่อปี 2388 ตรงกับปลายรัชกาลที่ 3
ส่วนท้าวสุรนารี หรือ ย่าโม ท่านเกิดปี 2314 ในสมัยกรุงธนบุรี และมีชีวิตเรื่อยมาจนถึงแก่อสัญกรรมในปี 2395 คือช่วงต้นรัชกาลที่ 4 พอดี ซึ่งขณะนั้นกล้องถ่ายรูปเข้ามาแล้วก็จริง แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย เพราะคนสมัยนั้นมีความเชื่อว่าการปั้นหุ่น การวาดรูป การถ่ายรูป จะมีอายุสั้น หรือจะถูกนำไปใช้ทำร้ายทางไสยศาสตร์ จึงไม่กล้าที่จะถ่ายรูปกัน
เมื่อเทียบจากช่วงเวลาที่กล้องถ่ายรูปได้รับความนิยม และปีที่ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีภาพถ่ายจริง ๆ ของย่าโม
ส่วนบุคคลในภาพ คือ ท้าววรจันทร์ หรือ เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 4 มีพระราชโอรส 1 พระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา เป็นต้นราชสกุล "โสณกุล"