สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนชม ดาวหางนีโอไวส์ เข้าใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 ชี้โคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 7,125 ปี
เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2563 NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ รายงานว่า ช่วงเดือนกรกฎาคมนี้ "ดาวหางนีโอไวส์" ซึ่งเป็นดาวที่นักดาราศาสตร์ต่างเฝ้าจับตามอง เนื่องจากมีความสว่างจนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และมีผู้ถ่ายภาพดาวหางดวงนี้ได้จากทั่วทุกมุมโลก สำหรับประเทศไทยก็สามารถสังเกตได้เช่นกัน แต่เนื่องจากตรงกับช่วงฤดูฝน อาจจะต้องลุ้นเมฆ
ทั้งนี้ สามารถเฝ้าดูดาวหางดวงนี้ได้ในช่วงรุ่งเช้า ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก ตำแหน่งปัจจุบันของดาวหางนีโอไวส์อยู่ในกลุ่มดาวสารถี (Auriga) หลังจากนี้ดาวหางจะเคลื่อนที่ขยับไปทางทิศเหนือผ่านกลุ่มดาวแมวป่า (Lynx)
- วันที่ 1-16 กรกฎาคม 2563 สามารถสังเกตได้ในช่วงเช้ามืด ใกล้เส้นขอบฟ้า ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และเมื่อดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าจะไม่สามารถมองเห็นได้
- หลังวันที่ 18
กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป จะสามารถสังเกตดาวหางนีโอไวส์ได้ในช่วงหัวค่ำ
ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า และความสว่างจะลดลงเรื่อย
ๆ
- 20-23 กรกฎาคม 2563
ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการสังเกตดาวหางนีโอไวส์ที่ดีสุด
เนื่องจากดาวหางเคลื่อนที่ห่างจากดวงอาทิตย์พอสมควรแล้ว
และคาดว่าจะมีค่าอันดับความสว่างปรากฏประมาณ 3.6
แม้เป็นช่วงแสงสนธยาก็มีโอกาสที่จะมองเห็นดาวหางดวงนี้ได้ด้วยตาเปล่า
ภาพจาก Sky