ดาวหางนีโอไวส์ วันนี้เคลื่อนใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 6,767 ปี พร้อมเผยทิศทาง และจุดดีที่สุดในการรับชม รอลุ้นเย็นนี้ฝนตกหรือไม่
จากกรณีที่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. ได้ระบุว่า ตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ดาวหางนีโอไวส์ หรือ C/2020 F3 (NEOWISE) ซึ่งเป็นดาวหางคาบยาว ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบใช้เวลาประมาณ 6,767 ปี โดยตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นมา จะดาวหางนีโอไวส์ได้เปลี่ยนมาปรากฏในช่วงหัวค่ำ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ โดยมีความสว่างในระดับที่ยังสามารถสังเกตการณ์ได้ด้วยตาเปล่า จึงเป็นโอกาสดีที่คนไทยจะได้ยลความสวยงามของดาวหางดวงนี้ หากสภาพอากาศเอื้ออำนวย
ล่าสุดวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ระบุว่า วันนี้ ( 23 กรกฎาคม 2563) เป็นวันที่ดาวหางเข้าใกล้โลกที่สุด โดยประชาชนทั่วไป จะสามารถสังเกตได้ตั้งแต่หลังดวงอาทิตย์ตก ถึงประมาณสามทุ่ม หากฟ้าใส ไร้เมฆ สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า ขณะเดียวกันในค่ำคืนนี้ ตรงกับคืนดวงจันทร์ขึ้น 2 ค่ำ อาจทำให้มีแสงจันทร์รบกวนเล็กน้อย
อย่างไรก็ตาม ด้วยในช่วงนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงฤดูฝนที่มีเมฆมาก ประกอบกับบริเวณใกล้ขอบฟ้ามีเมฆปกคลุมค่อนข้างหนา จึงอาจเป็นอุปสรรคสำคัญในการรับชมดาวหางดังกล่าว และหลังจากวันนี้ก่อนที่ความสว่างจะเริ่มลดลง และแสงดวงจันทร์จะเริ่มสว่างรบกวน จึงเป็นโอกาสดีที่คนไทยจะได้ยลโฉมและบันทึกภาพความสวยงามของดาวหางดวงนี้
สำหรับผู้ที่ต้องการชม ดาวหางนีโอไวส์
นั้นสามารถเริ่มชมได้ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า
ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทำเลที่เหมาะสมคือพื้นที่ที่สูง
และเห็นฟ้าทางทิศตะวันตกเป็นมุมกว้าง พร้อมรอลุ้นว่าจะมีเมฆมาบดบังหรือไม่
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ล่าสุดวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ระบุว่า วันนี้ ( 23 กรกฎาคม 2563) เป็นวันที่ดาวหางเข้าใกล้โลกที่สุด โดยประชาชนทั่วไป จะสามารถสังเกตได้ตั้งแต่หลังดวงอาทิตย์ตก ถึงประมาณสามทุ่ม หากฟ้าใส ไร้เมฆ สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า ขณะเดียวกันในค่ำคืนนี้ ตรงกับคืนดวงจันทร์ขึ้น 2 ค่ำ อาจทำให้มีแสงจันทร์รบกวนเล็กน้อย
