อุทาหรณ์เตือนระวัง เจาะหู กลายเป็นแผลเป็นคีลอยด์ ถึงขั้นต้องเข้าผ่าตัดออก

          โรงพยาบาลสิชล นครศรีธรรมราช เผยอุทาหรณ์เตือนระวัง คนไข้เจาะหู มีแผลเป็นคีลอยด์ ต้องมาผ่าตัดเอาก้อนเนื้อที่หูออก ชี้อาจมีปัจจัยด้านพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย


          วันที่ 9 สิงหาคม 2563 โรงพยาบาลสิชล จ.นครศรีธรรมราช ได้มีการเผยภาพคนไข้ อายุ 35 ปี ที่มีแผลเป็นคีลอยด์ ภายหลังจากเจาะหู โดยระบุว่า คีลอยด์ คือ แผลเป็นชนิดหนึ่งที่มีลักษณะนูนและขนาดอาจขยายใหญ่กว่ารอยแผลที่เกิดขึ้น โดยอาจเกิดขึ้นทันทีที่แผลหายหรือหลังจากแผลหายสักระยะหนึ่งแล้ว แม้จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ แต่ก็อาจทำให้รู้สึกเจ็บ คัน ระคายเคือง หรือส่งผลด้านความสวยความงามได้

          สาเหตุคีลอยด์เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ผู้ที่มีอายุอยู่ในช่วง 10-30 ปี มีแนวโน้มที่จะเป็นได้มากกว่า และเชื่อว่าอาจมีปัจจัยด้านพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยกว่าครึ่งของผู้ที่เกิดแผลเป็นชนิดคีลอยด์ มีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นคีลอยด์มาก่อนเช่นกัน หรือเกิดจากบาดแผลไม่สะอาด ติดเชื้อ

ภาพข่าว เจาะหู
          การรักษา การฉีดคอร์ติโซนสเตียรอยด์ เป็นวิธีการรักษาที่ปลอดภัยและไม่เจ็บมาก โดยจะฉีดสเตียรอยด์ชนิดนี้เข้าที่แผลเป็นทุก ๆ 4-8 สัปดาห์ เพื่อช่วยให้คีลอยด์ยุบตัวลง แต่หากก้อนมีขนาดใหญ่ อาจต้องพิจารณาผ่าตัดเสียก่อน นอกจากนั้นยังมีวิธีอื่น เช่น การเลเซอร์ ใช้ความเย็น แผ่นเจล เป็นต้น

          คำแนะนำคือ หากพบว่ามีแนวโน้มจะเป็นก้อนเนื้อคีลอยด์ให้รีบปรึกษาแพทย์ รักษาก่อนที่ก้อนจะมีขนาดโตขึ้น หากในครอบครัวมีความเสี่ยง ก็ไม่ควรไปเจาะ สัก ให้เกิดบาดแผลตามร่างกาย เจอผู้ป่วยบ่อย ๆ ที่ปล่อยทิ้งไว้จนก้อนโตมากแล้ว การรักษาก็ยากขึ้น ผ่าตัดแล้วก็ต้องติดตามการรักษา หลังผ่าก้อนมีโอกาสโตขึ้นมาได้อีก

ภาพข่าว เจาะหู

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
อุทาหรณ์เตือนระวัง เจาะหู กลายเป็นแผลเป็นคีลอยด์ ถึงขั้นต้องเข้าผ่าตัดออก อัปเดตล่าสุด 10 สิงหาคม 2563 เวลา 10:46:09 25,322 อ่าน
TOP
x close