แม่น้องครีม เล่าอาการลูกก่อนเสียชีวิต เผยขนาดเพื่อนยังรู้ลูกตัวร้อนเป็นไข้ แต่หมอที่ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก กลับไม่วัดไข้เด็กก่อน - หมอยันฉีดวัคซีนแล้วดับไม่เคยเกิดขึ้นในไทย
กรณี "น้องครีม" เด็กอายุ 11 ขวบ ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่โรงเรียน หลังจากนั้นมีอาการแน่นหน้าอก อาเจียน และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ครอบครัวติดใจสาเหตุการตายเป็นอย่างมากว่าเกิดจากอะไร ทำให้ประชาชนจำนวนมากรู้สึกกลัวกับวัคซีนตัวนี้
รายการ โหนกระแส วันที่ 1 กันยายน 2563 ได้สัมภาษณ์ คุณรุ่งทิพย์ ทองพูน แม่น้องครีม, คุณสุรพจน์ สุขขะ พ่อน้องครีม, นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ และ ดร.มนต์ชัย จงไกรรัตนกุล รองประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สภาทนายความ
คุณพ่อคุณแม่อายุเท่าไหร่ มีลูกกี่คน ?
สุรพจน์ : 32 ครับ
รุ่งทิพย์ : 31 ค่ะ มีลูกคนเดียวค่ะ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ?
รุ่งทิพย์ : วันศุกร์ที่ผ่านมา น้องไปโรงเรียนปกติ กินได้ไม่มีอะไร ไปส่งน้องที่บ้านอีกหลังเพื่อให้อาไปส่งที่โรงเรียน ปกติดีตั้งแต่คืนวันพฤหัสบดี ไม่มีอะไรเลย วันนั้นมีฉีดวัคซีน หนูไม่รู้ น้องบอกว่าช่วงเที่ยงคุณครูให้นอนพักผ่อน ก็สงสัยว่าให้นอนทำไม น้องบอกว่าครูให้นอนทั้งห้อง แต่หนูเวียนหัว หนูหลับไปเลย ตื่นมาอีกทีก็เวียนหัว เพื่อนบอกว่าตัวร้อน เป็นไข้แน่เลย หลังจากนั้นก็เข้าแถวบ่าย 2 ฉีดวัคซีน แต่ไม่มีการวัดไข้นะคะ
ตอนไปโรงเรียนเขามีการวัดไข้แต่เช้า โรงเรียนวัดไหม ?
รุ่งทิพย์ : เคยไปส่งปกติ 7 โมงเช้าทุกวัน ไม่เคยเจอโรงเรียนวัดไข้ ก็ถามอาที่ไปส่ง เขาก็บอกว่าไม่มีการวัดไข้ แต่ไม่รู้ว่าหลัง 7 โมงมีวัดไข้หรือเปล่า
สุรพจน์ : ทางโรงเรียนบอกว่าที่โรงเรียนมีทางเข้าหลายทาง
รุ่งทิพย์ : หนูยืนยันว่าเราส่งหน้าโรงเรียน จะเข้าทำไมหลังโรงเรียน
อาการปกติไม่มีไข้ ?
รุ่งทิพย์ : กินได้ปกติ หลังตอนกลับมา ลูกเล่าเองค่ะ ฉีดเสร็จเลิกเรียนบ่าย 3 ครึ่ง อาบอกว่าน้องบ่นว่าปวดแขน จุกเหมือนคลื่นไส้ อาเจียน อ้วกไป 1 ที อาให้กินยาพาราฯ แล้วให้นอน หนูก็ไปรับลูกช่วง 6 โมง เลิกงานพอดี น้องไม่สบาย แต่ดีขึ้น เขาบอกว่ามีฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกมา หนูก็ไม่รู้ค่ะ
โรงเรียนบอกว่าแจ้งผู้ปกครองแล้ว ?
รุ่งทิพย์ : น้องอยู่บ้านย่า มีแต่คนแก่ เขาก็น่าจะแจ้ง แต่หนูไม่รู้รายละเอียด กลับบ้านมาน้องยังบ่นว่าจุกอก ปกติกินเก่ง กินทุกอย่าง แต่อันนี้ไม่กิน พอตกเย็นให้กินพาราฯ นอนก็ปกติ บ่นว่าเหมือนจะอ้วก เช้ามาวันเสาร์ก็ถามว่าไปโรงเรียนไหม ลูกก็ลุกเลย ด้วยความอยากไปเรียน ชอบเจอเพื่อน แต่งตัวเสร็จก็ไปส่งที่โรงเรียน 7 โมงเหมือนเดิม
ตื่นมาตอนเช้าวันเสาร์มีอาการอะไรไหม ?
รุ่งทิพย์ : ไม่ค่ะ เหมือนบ่นเฉย ๆ แต่น้องบอกว่าไหว เพราะยายถามว่าจะไปเหรอ น้องบอกว่าไป หนูก็ไปส่ง 7 โมงแล้วก็กลับ หลังจากนั้นอาเล่าว่า ครูมาส่งน้องที่บ้าน น้องมีอาการหน้าซีด ปากซีด อ่อนแรง ตอนนั้นคร่าว ๆ คิดว่า 8 โมง แต่รายละเอียดถามอา อาบอกว่าประมาณ 10 โมง หนูเห็นอาโพสต์เฟซว่าลูกไม่สบาย ก็ไปรับลูกหาหมอ เพราะแม่บ่นให้พาหลานไปหาหมอ น้องบอกว่าน้องจุก อยากอ้วก และไม่กิน ปกติกินเก่งมาก หนูเลยพาไปโรงพยาบาล พอไปถึงโรงพยาบาล หมอก็ตรวจความดัน วัดไข้ได้ 39 ก็ไปเจาะเลือดวัดไข้เลือดออก รอประมาณครึ่งชั่วโมง น้องก็บ่นว่าจุก เสร็จหรือยัง พอผลออกมาไม่มีอะไร
หมอก็ถามประวัติว่าไปฉีดวัคซีนมาแล้วเป็นอะไรหรือเปล่า เขาถามกับน้อง น้องก็เล่าว่าไปเรียนแล้วนอน ตื่นมาเวียนหัว ตัวร้อน เพื่อนบอกว่าตัวร้อน เขาก็ให้หนูเข้าแถวฉีดยาเลย ประมาณบ่าย 2 วันที่ 28 หมอก็คุยอะไรนี่แหละ เขาก็คุยกันเอง บอกว่าน่าจะแพ้ยา หนูได้ยินค่ะ ถ้าอย่างนั้นให้ไปรับยา อีก 3 วัน นัดมาหาหมออีกที ประมาณบ่าย 3 พยายามให้น้องกินข้าว หนูทำข้าวไม่คิดว่าจะเป็นมื้อสุดท้ายให้น้อง น้องกินก็พยายามแค่น ๆ ซื้อนมให้กินไม่ถึงครึ่งขวด เพื่อต้องการให้กินยา แล้วก็นอน เช็ดตัวให้ปกติ หนูชอบอาบน้ำ สระผมให้น้อง แต่วันนั้นเช็ดตัวขึ้น แล้วก็นอน พอตกดึกเกือบ 5 ทุ่มน้องอ้วก บอกว่าจะอ้วก แน่นหน้าอก ก็บอกให้ลูกไปอ้วกสิ แล้วก็ได้ยินเสียงลูกอ้วก
เขาบอกว่าหิวน้ำ ช่วงนั้นก็จนถึงตี 1 น้องเข้าห้องน้ำบ่อยมาก จนน้องอ้วกมาหมดเลย เปื้อนที่นอน หนูก็ดุน้อง เพราะเราไม่รู้ รื้อที่นอนแล้วปูใหม่ น้องก็ไปอ้วกในห้องน้ำ ได้ยินเสียงอ้วกในกระโถนดังมาก แล้วน้องก็เงียบไป พอเรียกเขาก็ไม่พูด พอไปเห็นน้องล้มไปแล้ว (เสียงสั่นเครือ) หนูก็อุ้มน้องลากออกมา หนูอุ้มไม่ไหว น้องตัวใหญ่ ก็เรียกน้อง น้องนิ่งไปแล้ว หนูรีบดูหัวใจน้องว่าเต้นไหม ก็ตะโกนลั่นบ้านให้ไปส่งโรงพยาบาล พอไปถึงโรงพยาบาล พยาบาลก็ปั๊มหัวใจเป็นชั่วโมง เขาบอกว่าน้องไม่อยู่แล้ว
พ่อติดใจตรงไหน ?
สุรพจน์ : ติดใจทั้งหมด ทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโรงเรียน และเป็นขั้นตอนการทำงานของหมอที่ฉีดวัคซีน วัดไข้ก่อนฉีดหรือเปล่า แล้วก็ทางโรงพยาบาลที่รักษา คนไข้มีไข้สูง แต่ไม่แอดมิต ปล่อยให้กลับบ้าน อาการแน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน เป็นอาการแพ้ยาหรือเปล่า
ประเด็นที่เกิด ส่วนต้องรับผิดชอบ ในมุมข้อกฎหมายทำอะไรได้บ้าง ?
ดร.มนต์ชัย : ต้องแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือจุดเริ่มต้นของการนำยาเข้าสู่ร่างกาย ตามปกติพยาบาลหรือหมอต้องมีการถามว่าน้องแพ้ยาไหม มีอาการอะไร จุดนี้ให้ความเป็นธรรมเขา ข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏ แต่ในทางปกติต้องมีการสอบถาม เมื่อมีการฉีดเข้าไปแล้วไม่ได้มีการถาม ตามความเห็นผมเป็นความประมาท ขาดความระมัดระวัง แน่นอนในส่วนความรับผิด โรงพยาบาลก็คือสังกัดสาธารณสุข อาจต้องมีส่วนด้วย ถ้าพยาบาลท่านนั้นหรือคุณหมอที่ดูแลโปรเจกต์นี้ งานนี้ไม่มีการถาม เป็นความประมาท ให้เด็กถึงแก่ความตาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสน
ในส่วนการรักษาพยาบาล ผมว่ากรณีนี้ถ้าฟังก็ต้องให้ความเป็นธรรมคุณหมอ ไม่ทราบว่าเขารักษาตามอาการ หรือเขารู้ไหมว่านี่คืออาการแพ้ยา ตามปกติเมื่อ 39 องศา น่าจะต้องแอดมิตเป็นปกติ แต่ทำไมถึงปล่อยให้กลับบ้าน ผมเข้าใจว่าเคสนี้ต้องมีการผ่าชันสูตรพลิกศพ ผลจะออกมาอีก 20-30 วัน ผลนั้นจะเป็นตัวบอกว่าลูกเสียชีวิตอย่างไร ถ้าเกิดประมาทในการฉีดยา หรือการรักษา เอาผิดได้ มีแนวทางคำพิพากษาเพียบ เอาผิดไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล ต้นสังกัดของการรักษาในวันเสาร์ หรือว่าต้นสังกัดหน่วยงานที่เอายามาฉีดเรา รวมทั้งโรงเรียน ถ้าคุณครูประจำชั้นรู้อยู่แล้วว่าตัวเด็กไม่สบาย ยังเอาไปฉีด ผมถือว่าเป็นความประมาทอย่างร้ายแรงครับ
มุมโรงเรียนเขาบอกว่าเขาไม่รู้ว่าน้องครีมไม่สบาย ?
สุรพจน์ : บอกไม่รู้เป็นไปได้ยาก การเอาเด็กไปฉีดวัคซีนต้องถามคำถามเด็ก และเด็กก็โตตอบโต้ได้อยู่แล้ว
รุ่งทิพย์ : เพื่อนในห้องยังรู้เลย แล้วเด็กแค่ 6 คนเท่านั้น น่าจะรู้ว่าไม่สบาย เพราะเขาก็สนิทกับคุณครู
น้องเคยมีอาการหอบเหนื่อยเรื่องหัวใจไหม ?
รุ่งทิพย์ : ไม่มีค่ะ น้องแข็งแรง ไม่เคยเช็กหัวใจ เพราะประวัติไม่มี ป่วยหนัก ๆ ไม่มี
ดร.มนต์ชัย : แพทย์ลงความเห็นว่าน้องเสียชีวิตเพราะอะไร
รุ่งทิพย์ : หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
อยู่ในสายกับ พญ.สุชาดา เจียมศิริ ผอ.กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรณีที่เกิดขึ้น เห็นว่าวันนี้จะลงพื้นที่อยุธยา ?
พญ.สุชาดา : ใช่ค่ะ ตอนนี้อยู่อยุธยาค่ะ ตอนนี้ได้รับทราบข่าวว่ามีการหยุดฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก แต่ถามว่าจำเป็นต้องหยุดไหม จริง ๆ ก็ไม่จำเป็น แต่เพื่อให้ประชาชนมั่นใจ จะชะลอไว้ก่อนก็ไม่มีปัญหาค่ะ
กรณีเยียวยา จะดูแลยังไงได้บ้าง ?
พญ.สุชาดา : จริง ๆ ประเทศเรามีกฎหมายรองรับการเยียวยาในกรณีคล้าย ๆ อย่างนี้ แต่ต้องเป็นการตกลงกันของสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลที่เกี่ยวข้อง และผู้ปกครองผู้ที่ได้รับผลกระทบด้วย จริง ๆ ต้องมาคุยกันในรายละเอียด อาจไม่สามารถบอกทางโทรศัพท์ได้ จริง ๆ เรามีทีมมาคุยกับคุณพ่อคุณแม่ แต่ไม่แน่ใจว่าจะกลับมาคุยกับเราทันไหม ถ้าทันจะได้คุยกันเรื่องนี้ ทางสาธารณสุขจังหวัดได้เตรียมรายละเอียดเพื่อปรึกษาเรื่องนี้ด้วยค่ะ
กรณีนี้คนที่ไปฉีดวัคซีนที่โรงเรียน เป็นหมอหรือเปล่า ?
พญ.สุชาดา : ต้องเรียนว่าในระบบนี้ไม่ได้มีแค่หมอและพยาบาล มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขด้วยในการให้บริการประชาชน ไม่งั้นเราจะตั้งสาธารณสุขไม่ได้ทุกตำบลเหมือนที่ประเทศเรามี เรื่องการให้วัคซีนเป็นการให้บริการขั้นพื้นฐาน อยู่ภายใต้สถานอนามัยของทุกตำบลที่อยู่ในประเทศไทย เป็นเรื่องปกติในการให้บริการด้านสาธารณสุข ประเทศอื่นก็เป็นเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าคนฉีดวัคซีนต้องเป็นพยาบาลหรือแพทย์เท่านั้น
สรุปว่าอาจเป็นเจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช่หมอ พยาบาล แต่มีความรู้ ?
พญ.สุชาดา : ใช่ค่ะ และทุกคนต้องผ่านการฝึกอบรมว่าเวลาให้วัคซีนต้องทำยังไง ไม่ใช่เอาใครมาก็ได้มานะคะ คนให้บริการนี้อย่างน้อยต้องจบปริญญาตรีด้านสาธารณสุขศาสตร์มา
จำเป็นไหมที่เจ้าหน้าที่ต้องถามเด็กว่ามีอาการป่วยไข้ไม่สบายไหม หรือจำเป็นไหมที่เขาต้องรู้เรื่องการฉีดและให้คำแนะนำต่าง ๆ นานาก่อน หรือวัดไข้ ?
พญ.สุชาดา : แน่นอนค่ะ เรื่องซักประวัติเป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่ต้องถามอยู่แล้ว ไม่ใช่แค่ซักประวัติอย่างเดียว เขาจะต้องถูกฝึกให้สังเกตอาการผู้ป่วย มีการจับเนื้อจับตัวดูด้วย เพราะบางทีเด็กอาจไม่ได้บอก หรือบอกไม่ได้ ซึ่งกรณีลูกคุณพ่อ ก็ต้องขอแสดงความเสียใจด้วย จากการที่เราได้ถามเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ เขาบอกว่ามีการถาม จับเนื้อจับตัวว่าน้องมีไข้หรือเปล่า ซึ่งเราก็ได้ข้อมูลว่าในวันให้บริการมีลักษณะทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ที่ให้วัคซีนได้
พ่อติดใจเรื่องอะไร ?
สุรพจน์ : เด็กกลับมาบ้าน มาบอกผู้ปกครอง ว่าไม่มีการวัดไข้ก่อนตรวจ
รุ่งทิพย์ : ถ้าบอกว่ามีการจับเนื้อจับตัว เป็นไปไม่ได้
สุรพจน์ : ขนาดเพื่อนจับตัวน้องครีมยังรู้เลยว่าน้องตัวร้อน
รุ่งทิพย์ : แล้วทำไมหมอถึงไม่รู้
นี่คือฝั่งที่คุณพ่อคุณแม่บอกว่าเป็นไปไม่ได้ เพื่อน ๆ จับตัวเด็กยังรู้เลยว่าตัวร้อนมาก น่าจะป่วยด้วย เด็กกลับมาบ้านเขาก็ถาม เด็กบอกว่าไม่ได้วัดอะไรเลย ?
สุรพจน์ : ตอนไปโรงพยาบาลมหาราช เด็กบอกกับหมอเองว่าไม่มีการวัดไข้ก่อนฉีดยา
เป็นไปได้ไหมเจ้าหน้าที่คนนั้นอาจพลาดในสิ่งนี้ ?
พญ.สุชาดา : ต้องบอกว่าเวลาฉีดวัคซีนเราไม่ได้วัดไข้ด้วยปรอททุกรายอยู่แล้วค่ะ อันนี้เป็นเรื่องที่น้องได้อธิบายให้คุณพ่อฟังก็ถูกต้อง เป็นไปได้ แต่ต้องเรียนว่าคนป่วย บางทีวัดไข้ไม่มีไข้ก็ยังมี การวัดไข้อย่างเดียวไม่ได้บอกว่าน้องมีอาการอยู่ในระดับที่รับวัคซีนได้หรือไม่ แต่ที่สำคัญคือทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องดูภาพรวม ดูรีแอ็คชั่นของน้อง ดูอาการจากภาพรวมว่าน้องซึมไหม แต่อันหนึ่งที่เจ้าหน้าที่ต้องเรียนรู้ ถ้าคนไข้บอกว่ามีไข้ มีอาการเจ็บป่วย อาจจำเป็นเรื่องฉีดวัคซีนไปก่อน แต่ต้องเรียนว่าในเชิงปฏิบัติปกติ ถ้าเด็กมีไข้ต่ำ ๆ หรือเป็นหวัด เราไม่ได้ห้ามให้เจ้าหน้าที่ฉีด เป็นหวัดเล็กน้อย มีไข้ต่ำ ๆ สามารถฉีดวัคซีนได้
ดร.มนต์ชัย : กรณีถ้าเกิดเป็นไข้สูงถึง 39 องศา เราควรฉีดวัคซีนไหม
พญ.สุชาดา : ถ้า 39 องศา จับตัวก็รู้แน่ว่ามีไข้สูง ปกติเราจะไม่ได้วัคซีนค่ะ
ดร.มนต์ชัย : อาการไข้สูงจะสังเกตได้ง่ายใช่ไหม
พญ.สุชาดา : ได้แน่นอน ถ้าเพื่อนร่วมชั้นยังบอกได้ เจ้าหน้าที่ก็ต้องรีเช็กได้ ตอนที่เขามาเจอน้องและมีไข้ แต่บางทีเรื่องไข้เป็นเรื่องลำบากเหมือนกัน อย่างโควิดบางทีไม่มีไข้ไม่ได้หมายถึงไม่ป่วย อาจไปเจอน้องตอนที่ไม่มีไข้ให้เห็นก็เป็นไปได้
ผอ.สถาบันมะเร็งแห่งชาติ วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ความอันตรายมีไหม ?
นพ.จินดา : จริง ๆ ต้องเรียนว่าวัคซีนมะเร็งปากมดลูกคิดค้นกันมานานแล้ว ตั้งแต่ปี 2549 องค์การอาหารและยาอเมริกา เขาก็ยอมรับว่าให้ใช้เป็นวัคซีนที่ป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ เมืองไทยเองก็มี อย. ได้รับรองว่าสามารถใช้ได้ตั้งแต่ปี 2550
อันตรายมีไหม ?
นพ.จินดา : เนื่องจากมีความปลอดภัยสูงและใช้มานาน ผลข้างเคียงถือว่าน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นการฉีดวัคซีนทั่วไป
ในเมืองไทยเคยมีเคสอย่างนี้ไหม ?
นพ.จินดา : เท่าที่สืบค้นดู ไม่เคยมีนะครับ แม้กระทั่งเว็บไซต์ WHO ก็เขียนไว้เลยว่าไม่เคยพบผลข้างเคียงที่รุนแรงเสียชีวิต
กรณีเด็กผู้หญิงต้องอายุเท่าไหร่ควรต้องฉีด ?
นพ.จินดา : อายุ 9-14 ปี เพราะช่วงนี้เป็นช่วงตอบสนองต่อการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้เป็นผลดี และฉีด 2 ครั้ง ครั้งแรกและหลังจากนั้นอีก 6 เดือน
น้องฉีดกี่ครั้ง ?
รุ่งทิพย์ : ครั้งที่ 2 ครั้งแรกไม่รู้เลย เพราะเขาอยู่กับย่า น้องไม่มีอาการอะไรเลย
ถ้าจะพูดตรง ๆ ถ้าจะแพ้ต้องแพ้ครั้งแรก หรือครั้งแรกไม่แพ้ แต่แพ้ครั้งที่ 2 มีไหม ?
นพ.จินดา : อย่างที่เรียนว่าแพ้คำนิยามคืออะไร ถ้าฉีดไปมีไข้ ปวดบวมแดงร้อน ภาษาชาวบ้านทั่วไปอย่างนั้นเรียกว่าแพ้ ต้องบอกว่านั่นคือเป็นผลข้างเคียง แต่ถ้าหมายถึงอาการแพ้จนเสียชีวิต ผมคิดว่าการที่ครั้งที่ 1 ไม่เป็น แล้วครั้งที่ 2 มาเป็นโอกาสน่าจะน้อย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นไม่ได้ แต่โอกาสน่าจะน้อย
วัคซีนตัวนี้ถ้าอยู่ดี ๆ ไข้สูงไปฉีดเข้าไป จะมีผลไหม ?
นพ.จินดา : อย่างที่ ผอ.สุชาดา เรียน เมื่อไหร่ที่มีไข้สูงเราจะเลี่ยงการฉีดวัคซีนไป แต่ถ้าเป็นไข้เล็ก ๆ น้อย ๆ ประเมินแล้วก็ให้ฉีดได้ ก็มีในทางปฏิบัติเช่นเดียวกัน
กรณีนี้ ผอ.สุชาดา บอกว่าคนไปฉีดอาจเป็นเจ้าหน้าที่อนามัย เป็นไปได้ไหมที่อาจพลาดพลั้ง ไม่ได้ถามเด็ก สอง ด้วยวุฒิภาวะ ไม่ใช่เจ้าหน้าที่อาจประมาทเลินเล่อ ทำให้มีผลเสียตามมา เป็นไปได้ไหม ?
นพ.จินดา : ยากที่จะให้ความเห็น แต่โดยมาตรฐานวิชาชีพ เขาก็มีมาตรฐานในการทำงาน ก็ต้องเชื่อมั่นว่าเขาให้บริการประชาชนด้วยจิตสาธารณะ เขาก็ต้องมีความรับผิดชอบ แต่ถ้าจะให้ความเห็นแบบที่ถาม ก็เป็นเรื่องลำบาก
ตอนนี้คนกลัวเรื่องการฉีด อยากให้บอกว่าจริง ๆ มันไม่ได้น่ากลัว ?
นพ.จินดา : อย่างที่เรียนเบื้องต้น 1. ไม่เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้ 2. เว็บไซต์ WHO ก็แสดงข้อมูลให้เห็นชัดเจนว่าไม่มีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น แล้ววัคซีนนี้ใช้มาเป็น 10 ปีแล้ว มีผลทำให้อุบัติการณ์มะเร็งปากมดลูกลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ถ้ามองภาพรวมประโยชน์ ก็เป็นประโยชน์ในวงกว้าง
ดร.มนต์ชัย : กรณีที่คุณหมอทราบว่าน้องแพ้ยา การให้การรักษาของหมอต่ำหรือว่ายังไง
นพ.จินดา : ตอนน้องไปโรงพยาบาล คุณหมอก็ตรวจวัดไข้ได้ 39 คุณหมอไม่ได้นิ่งนอนใจ มีการตรวจเลือด เพราะสิ่งที่คุณหมอกังวลคือไข้เลือดออก แต่พอคุณหมอเห็นผลเลือดแล้ว คุณหมอก็ค่อนข้างมั่นใจว่าไม่ใช่ไข้เลือดออก และได้ประวัติเพิ่มเติมว่าน้องไปฉีดวัคซีน ซึ่งถ้าให้คาดเดาก็อย่างที่เราทราบ เวลาฉีดวัคซีนโอกาสเกิดไข้ก็คงจะมี ผมเข้าใจว่าสมมติฐานตอนนั้นน่าจะเข้าใจว่าไข้เกิดจากวัคซีน ประโยคที่คุณแม่ได้ยินว่าแพ้ยา บางทีเป็นผลข้างเคียง ไม่ได้เป็นเรื่องแพ้ยา บางครั้งเวลาปฏิบัติพูดจาสื่อสารอาจมีการสื่อในลักษณะคลาดเคลื่อนบ้าง อย่างไรก็ตาม น้องมีการผ่าศพ ชันสูตรพลิกศพ น่าจะมีผลจากตรงนั้น ก็อยากให้รอผลทั้งหมดอย่างเป็นทางการแล้วค่อยพิจารณากันอีกที
เรื่องทั้งหมดอยากให้จบลงตรงไหน ?
สุรพจน์ : ตอนนี้อยากรู้สาเหตุที่แท้จริงด้วย และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ความรับผิดชอบ ชีวิตเด็ก พ่อแม่เราก็ทำใจยาก เพราะเรามีลูกคนเดียว
รุ่งทิพย์ : อยากให้ได้รับความยุติธรรม หลังฉีดวัคซีน น้องบ่นแน่นหน้าอก ตั้งแต่วันแรกจนวันสุดท้าย บ่นเรื่องแน่นหน้าอก หนูก็คาใจอยู่ตรงนี้ ก็อยากให้ได้รับความยุติธรรม เราไม่ได้อยากได้รับเงินนะคะ
ทั้งนี้ สามารถติดตามชมรายการ โหนกระแส โดยมี หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20 น. ทางช่อง 3 กดเลข 33
กรณี "น้องครีม" เด็กอายุ 11 ขวบ ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่โรงเรียน หลังจากนั้นมีอาการแน่นหน้าอก อาเจียน และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ครอบครัวติดใจสาเหตุการตายเป็นอย่างมากว่าเกิดจากอะไร ทำให้ประชาชนจำนวนมากรู้สึกกลัวกับวัคซีนตัวนี้
รายการ โหนกระแส วันที่ 1 กันยายน 2563 ได้สัมภาษณ์ คุณรุ่งทิพย์ ทองพูน แม่น้องครีม, คุณสุรพจน์ สุขขะ พ่อน้องครีม, นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ และ ดร.มนต์ชัย จงไกรรัตนกุล รองประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สภาทนายความ
คุณพ่อคุณแม่อายุเท่าไหร่ มีลูกกี่คน ?
สุรพจน์ : 32 ครับ
รุ่งทิพย์ : 31 ค่ะ มีลูกคนเดียวค่ะ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ?
รุ่งทิพย์ : วันศุกร์ที่ผ่านมา น้องไปโรงเรียนปกติ กินได้ไม่มีอะไร ไปส่งน้องที่บ้านอีกหลังเพื่อให้อาไปส่งที่โรงเรียน ปกติดีตั้งแต่คืนวันพฤหัสบดี ไม่มีอะไรเลย วันนั้นมีฉีดวัคซีน หนูไม่รู้ น้องบอกว่าช่วงเที่ยงคุณครูให้นอนพักผ่อน ก็สงสัยว่าให้นอนทำไม น้องบอกว่าครูให้นอนทั้งห้อง แต่หนูเวียนหัว หนูหลับไปเลย ตื่นมาอีกทีก็เวียนหัว เพื่อนบอกว่าตัวร้อน เป็นไข้แน่เลย หลังจากนั้นก็เข้าแถวบ่าย 2 ฉีดวัคซีน แต่ไม่มีการวัดไข้นะคะ
ตอนไปโรงเรียนเขามีการวัดไข้แต่เช้า โรงเรียนวัดไหม ?
รุ่งทิพย์ : เคยไปส่งปกติ 7 โมงเช้าทุกวัน ไม่เคยเจอโรงเรียนวัดไข้ ก็ถามอาที่ไปส่ง เขาก็บอกว่าไม่มีการวัดไข้ แต่ไม่รู้ว่าหลัง 7 โมงมีวัดไข้หรือเปล่า
สุรพจน์ : ทางโรงเรียนบอกว่าที่โรงเรียนมีทางเข้าหลายทาง
รุ่งทิพย์ : หนูยืนยันว่าเราส่งหน้าโรงเรียน จะเข้าทำไมหลังโรงเรียน
อาการปกติไม่มีไข้ ?
รุ่งทิพย์ : กินได้ปกติ หลังตอนกลับมา ลูกเล่าเองค่ะ ฉีดเสร็จเลิกเรียนบ่าย 3 ครึ่ง อาบอกว่าน้องบ่นว่าปวดแขน จุกเหมือนคลื่นไส้ อาเจียน อ้วกไป 1 ที อาให้กินยาพาราฯ แล้วให้นอน หนูก็ไปรับลูกช่วง 6 โมง เลิกงานพอดี น้องไม่สบาย แต่ดีขึ้น เขาบอกว่ามีฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกมา หนูก็ไม่รู้ค่ะ
โรงเรียนบอกว่าแจ้งผู้ปกครองแล้ว ?
รุ่งทิพย์ : น้องอยู่บ้านย่า มีแต่คนแก่ เขาก็น่าจะแจ้ง แต่หนูไม่รู้รายละเอียด กลับบ้านมาน้องยังบ่นว่าจุกอก ปกติกินเก่ง กินทุกอย่าง แต่อันนี้ไม่กิน พอตกเย็นให้กินพาราฯ นอนก็ปกติ บ่นว่าเหมือนจะอ้วก เช้ามาวันเสาร์ก็ถามว่าไปโรงเรียนไหม ลูกก็ลุกเลย ด้วยความอยากไปเรียน ชอบเจอเพื่อน แต่งตัวเสร็จก็ไปส่งที่โรงเรียน 7 โมงเหมือนเดิม
ตื่นมาตอนเช้าวันเสาร์มีอาการอะไรไหม ?
รุ่งทิพย์ : ไม่ค่ะ เหมือนบ่นเฉย ๆ แต่น้องบอกว่าไหว เพราะยายถามว่าจะไปเหรอ น้องบอกว่าไป หนูก็ไปส่ง 7 โมงแล้วก็กลับ หลังจากนั้นอาเล่าว่า ครูมาส่งน้องที่บ้าน น้องมีอาการหน้าซีด ปากซีด อ่อนแรง ตอนนั้นคร่าว ๆ คิดว่า 8 โมง แต่รายละเอียดถามอา อาบอกว่าประมาณ 10 โมง หนูเห็นอาโพสต์เฟซว่าลูกไม่สบาย ก็ไปรับลูกหาหมอ เพราะแม่บ่นให้พาหลานไปหาหมอ น้องบอกว่าน้องจุก อยากอ้วก และไม่กิน ปกติกินเก่งมาก หนูเลยพาไปโรงพยาบาล พอไปถึงโรงพยาบาล หมอก็ตรวจความดัน วัดไข้ได้ 39 ก็ไปเจาะเลือดวัดไข้เลือดออก รอประมาณครึ่งชั่วโมง น้องก็บ่นว่าจุก เสร็จหรือยัง พอผลออกมาไม่มีอะไร
หมอก็ถามประวัติว่าไปฉีดวัคซีนมาแล้วเป็นอะไรหรือเปล่า เขาถามกับน้อง น้องก็เล่าว่าไปเรียนแล้วนอน ตื่นมาเวียนหัว ตัวร้อน เพื่อนบอกว่าตัวร้อน เขาก็ให้หนูเข้าแถวฉีดยาเลย ประมาณบ่าย 2 วันที่ 28 หมอก็คุยอะไรนี่แหละ เขาก็คุยกันเอง บอกว่าน่าจะแพ้ยา หนูได้ยินค่ะ ถ้าอย่างนั้นให้ไปรับยา อีก 3 วัน นัดมาหาหมออีกที ประมาณบ่าย 3 พยายามให้น้องกินข้าว หนูทำข้าวไม่คิดว่าจะเป็นมื้อสุดท้ายให้น้อง น้องกินก็พยายามแค่น ๆ ซื้อนมให้กินไม่ถึงครึ่งขวด เพื่อต้องการให้กินยา แล้วก็นอน เช็ดตัวให้ปกติ หนูชอบอาบน้ำ สระผมให้น้อง แต่วันนั้นเช็ดตัวขึ้น แล้วก็นอน พอตกดึกเกือบ 5 ทุ่มน้องอ้วก บอกว่าจะอ้วก แน่นหน้าอก ก็บอกให้ลูกไปอ้วกสิ แล้วก็ได้ยินเสียงลูกอ้วก
เขาบอกว่าหิวน้ำ ช่วงนั้นก็จนถึงตี 1 น้องเข้าห้องน้ำบ่อยมาก จนน้องอ้วกมาหมดเลย เปื้อนที่นอน หนูก็ดุน้อง เพราะเราไม่รู้ รื้อที่นอนแล้วปูใหม่ น้องก็ไปอ้วกในห้องน้ำ ได้ยินเสียงอ้วกในกระโถนดังมาก แล้วน้องก็เงียบไป พอเรียกเขาก็ไม่พูด พอไปเห็นน้องล้มไปแล้ว (เสียงสั่นเครือ) หนูก็อุ้มน้องลากออกมา หนูอุ้มไม่ไหว น้องตัวใหญ่ ก็เรียกน้อง น้องนิ่งไปแล้ว หนูรีบดูหัวใจน้องว่าเต้นไหม ก็ตะโกนลั่นบ้านให้ไปส่งโรงพยาบาล พอไปถึงโรงพยาบาล พยาบาลก็ปั๊มหัวใจเป็นชั่วโมง เขาบอกว่าน้องไม่อยู่แล้ว
พ่อติดใจตรงไหน ?
สุรพจน์ : ติดใจทั้งหมด ทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโรงเรียน และเป็นขั้นตอนการทำงานของหมอที่ฉีดวัคซีน วัดไข้ก่อนฉีดหรือเปล่า แล้วก็ทางโรงพยาบาลที่รักษา คนไข้มีไข้สูง แต่ไม่แอดมิต ปล่อยให้กลับบ้าน อาการแน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน เป็นอาการแพ้ยาหรือเปล่า
ประเด็นที่เกิด ส่วนต้องรับผิดชอบ ในมุมข้อกฎหมายทำอะไรได้บ้าง ?
ดร.มนต์ชัย : ต้องแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือจุดเริ่มต้นของการนำยาเข้าสู่ร่างกาย ตามปกติพยาบาลหรือหมอต้องมีการถามว่าน้องแพ้ยาไหม มีอาการอะไร จุดนี้ให้ความเป็นธรรมเขา ข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏ แต่ในทางปกติต้องมีการสอบถาม เมื่อมีการฉีดเข้าไปแล้วไม่ได้มีการถาม ตามความเห็นผมเป็นความประมาท ขาดความระมัดระวัง แน่นอนในส่วนความรับผิด โรงพยาบาลก็คือสังกัดสาธารณสุข อาจต้องมีส่วนด้วย ถ้าพยาบาลท่านนั้นหรือคุณหมอที่ดูแลโปรเจกต์นี้ งานนี้ไม่มีการถาม เป็นความประมาท ให้เด็กถึงแก่ความตาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสน
ในส่วนการรักษาพยาบาล ผมว่ากรณีนี้ถ้าฟังก็ต้องให้ความเป็นธรรมคุณหมอ ไม่ทราบว่าเขารักษาตามอาการ หรือเขารู้ไหมว่านี่คืออาการแพ้ยา ตามปกติเมื่อ 39 องศา น่าจะต้องแอดมิตเป็นปกติ แต่ทำไมถึงปล่อยให้กลับบ้าน ผมเข้าใจว่าเคสนี้ต้องมีการผ่าชันสูตรพลิกศพ ผลจะออกมาอีก 20-30 วัน ผลนั้นจะเป็นตัวบอกว่าลูกเสียชีวิตอย่างไร ถ้าเกิดประมาทในการฉีดยา หรือการรักษา เอาผิดได้ มีแนวทางคำพิพากษาเพียบ เอาผิดไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล ต้นสังกัดของการรักษาในวันเสาร์ หรือว่าต้นสังกัดหน่วยงานที่เอายามาฉีดเรา รวมทั้งโรงเรียน ถ้าคุณครูประจำชั้นรู้อยู่แล้วว่าตัวเด็กไม่สบาย ยังเอาไปฉีด ผมถือว่าเป็นความประมาทอย่างร้ายแรงครับ
มุมโรงเรียนเขาบอกว่าเขาไม่รู้ว่าน้องครีมไม่สบาย ?
สุรพจน์ : บอกไม่รู้เป็นไปได้ยาก การเอาเด็กไปฉีดวัคซีนต้องถามคำถามเด็ก และเด็กก็โตตอบโต้ได้อยู่แล้ว
รุ่งทิพย์ : เพื่อนในห้องยังรู้เลย แล้วเด็กแค่ 6 คนเท่านั้น น่าจะรู้ว่าไม่สบาย เพราะเขาก็สนิทกับคุณครู
น้องเคยมีอาการหอบเหนื่อยเรื่องหัวใจไหม ?
รุ่งทิพย์ : ไม่มีค่ะ น้องแข็งแรง ไม่เคยเช็กหัวใจ เพราะประวัติไม่มี ป่วยหนัก ๆ ไม่มี
ดร.มนต์ชัย : แพทย์ลงความเห็นว่าน้องเสียชีวิตเพราะอะไร
รุ่งทิพย์ : หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
อยู่ในสายกับ พญ.สุชาดา เจียมศิริ ผอ.กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรณีที่เกิดขึ้น เห็นว่าวันนี้จะลงพื้นที่อยุธยา ?
พญ.สุชาดา : ใช่ค่ะ ตอนนี้อยู่อยุธยาค่ะ ตอนนี้ได้รับทราบข่าวว่ามีการหยุดฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก แต่ถามว่าจำเป็นต้องหยุดไหม จริง ๆ ก็ไม่จำเป็น แต่เพื่อให้ประชาชนมั่นใจ จะชะลอไว้ก่อนก็ไม่มีปัญหาค่ะ
กรณีเยียวยา จะดูแลยังไงได้บ้าง ?
พญ.สุชาดา : จริง ๆ ประเทศเรามีกฎหมายรองรับการเยียวยาในกรณีคล้าย ๆ อย่างนี้ แต่ต้องเป็นการตกลงกันของสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลที่เกี่ยวข้อง และผู้ปกครองผู้ที่ได้รับผลกระทบด้วย จริง ๆ ต้องมาคุยกันในรายละเอียด อาจไม่สามารถบอกทางโทรศัพท์ได้ จริง ๆ เรามีทีมมาคุยกับคุณพ่อคุณแม่ แต่ไม่แน่ใจว่าจะกลับมาคุยกับเราทันไหม ถ้าทันจะได้คุยกันเรื่องนี้ ทางสาธารณสุขจังหวัดได้เตรียมรายละเอียดเพื่อปรึกษาเรื่องนี้ด้วยค่ะ
กรณีนี้คนที่ไปฉีดวัคซีนที่โรงเรียน เป็นหมอหรือเปล่า ?
พญ.สุชาดา : ต้องเรียนว่าในระบบนี้ไม่ได้มีแค่หมอและพยาบาล มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขด้วยในการให้บริการประชาชน ไม่งั้นเราจะตั้งสาธารณสุขไม่ได้ทุกตำบลเหมือนที่ประเทศเรามี เรื่องการให้วัคซีนเป็นการให้บริการขั้นพื้นฐาน อยู่ภายใต้สถานอนามัยของทุกตำบลที่อยู่ในประเทศไทย เป็นเรื่องปกติในการให้บริการด้านสาธารณสุข ประเทศอื่นก็เป็นเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าคนฉีดวัคซีนต้องเป็นพยาบาลหรือแพทย์เท่านั้น
สรุปว่าอาจเป็นเจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช่หมอ พยาบาล แต่มีความรู้ ?
พญ.สุชาดา : ใช่ค่ะ และทุกคนต้องผ่านการฝึกอบรมว่าเวลาให้วัคซีนต้องทำยังไง ไม่ใช่เอาใครมาก็ได้มานะคะ คนให้บริการนี้อย่างน้อยต้องจบปริญญาตรีด้านสาธารณสุขศาสตร์มา
จำเป็นไหมที่เจ้าหน้าที่ต้องถามเด็กว่ามีอาการป่วยไข้ไม่สบายไหม หรือจำเป็นไหมที่เขาต้องรู้เรื่องการฉีดและให้คำแนะนำต่าง ๆ นานาก่อน หรือวัดไข้ ?
พญ.สุชาดา : แน่นอนค่ะ เรื่องซักประวัติเป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่ต้องถามอยู่แล้ว ไม่ใช่แค่ซักประวัติอย่างเดียว เขาจะต้องถูกฝึกให้สังเกตอาการผู้ป่วย มีการจับเนื้อจับตัวดูด้วย เพราะบางทีเด็กอาจไม่ได้บอก หรือบอกไม่ได้ ซึ่งกรณีลูกคุณพ่อ ก็ต้องขอแสดงความเสียใจด้วย จากการที่เราได้ถามเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ เขาบอกว่ามีการถาม จับเนื้อจับตัวว่าน้องมีไข้หรือเปล่า ซึ่งเราก็ได้ข้อมูลว่าในวันให้บริการมีลักษณะทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ที่ให้วัคซีนได้
พ่อติดใจเรื่องอะไร ?
สุรพจน์ : เด็กกลับมาบ้าน มาบอกผู้ปกครอง ว่าไม่มีการวัดไข้ก่อนตรวจ
รุ่งทิพย์ : ถ้าบอกว่ามีการจับเนื้อจับตัว เป็นไปไม่ได้
สุรพจน์ : ขนาดเพื่อนจับตัวน้องครีมยังรู้เลยว่าน้องตัวร้อน
รุ่งทิพย์ : แล้วทำไมหมอถึงไม่รู้
นี่คือฝั่งที่คุณพ่อคุณแม่บอกว่าเป็นไปไม่ได้ เพื่อน ๆ จับตัวเด็กยังรู้เลยว่าตัวร้อนมาก น่าจะป่วยด้วย เด็กกลับมาบ้านเขาก็ถาม เด็กบอกว่าไม่ได้วัดอะไรเลย ?
สุรพจน์ : ตอนไปโรงพยาบาลมหาราช เด็กบอกกับหมอเองว่าไม่มีการวัดไข้ก่อนฉีดยา
เป็นไปได้ไหมเจ้าหน้าที่คนนั้นอาจพลาดในสิ่งนี้ ?
พญ.สุชาดา : ต้องบอกว่าเวลาฉีดวัคซีนเราไม่ได้วัดไข้ด้วยปรอททุกรายอยู่แล้วค่ะ อันนี้เป็นเรื่องที่น้องได้อธิบายให้คุณพ่อฟังก็ถูกต้อง เป็นไปได้ แต่ต้องเรียนว่าคนป่วย บางทีวัดไข้ไม่มีไข้ก็ยังมี การวัดไข้อย่างเดียวไม่ได้บอกว่าน้องมีอาการอยู่ในระดับที่รับวัคซีนได้หรือไม่ แต่ที่สำคัญคือทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องดูภาพรวม ดูรีแอ็คชั่นของน้อง ดูอาการจากภาพรวมว่าน้องซึมไหม แต่อันหนึ่งที่เจ้าหน้าที่ต้องเรียนรู้ ถ้าคนไข้บอกว่ามีไข้ มีอาการเจ็บป่วย อาจจำเป็นเรื่องฉีดวัคซีนไปก่อน แต่ต้องเรียนว่าในเชิงปฏิบัติปกติ ถ้าเด็กมีไข้ต่ำ ๆ หรือเป็นหวัด เราไม่ได้ห้ามให้เจ้าหน้าที่ฉีด เป็นหวัดเล็กน้อย มีไข้ต่ำ ๆ สามารถฉีดวัคซีนได้
ดร.มนต์ชัย : กรณีถ้าเกิดเป็นไข้สูงถึง 39 องศา เราควรฉีดวัคซีนไหม
พญ.สุชาดา : ถ้า 39 องศา จับตัวก็รู้แน่ว่ามีไข้สูง ปกติเราจะไม่ได้วัคซีนค่ะ
ดร.มนต์ชัย : อาการไข้สูงจะสังเกตได้ง่ายใช่ไหม
พญ.สุชาดา : ได้แน่นอน ถ้าเพื่อนร่วมชั้นยังบอกได้ เจ้าหน้าที่ก็ต้องรีเช็กได้ ตอนที่เขามาเจอน้องและมีไข้ แต่บางทีเรื่องไข้เป็นเรื่องลำบากเหมือนกัน อย่างโควิดบางทีไม่มีไข้ไม่ได้หมายถึงไม่ป่วย อาจไปเจอน้องตอนที่ไม่มีไข้ให้เห็นก็เป็นไปได้
ผอ.สถาบันมะเร็งแห่งชาติ วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ความอันตรายมีไหม ?
นพ.จินดา : จริง ๆ ต้องเรียนว่าวัคซีนมะเร็งปากมดลูกคิดค้นกันมานานแล้ว ตั้งแต่ปี 2549 องค์การอาหารและยาอเมริกา เขาก็ยอมรับว่าให้ใช้เป็นวัคซีนที่ป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ เมืองไทยเองก็มี อย. ได้รับรองว่าสามารถใช้ได้ตั้งแต่ปี 2550
อันตรายมีไหม ?
นพ.จินดา : เนื่องจากมีความปลอดภัยสูงและใช้มานาน ผลข้างเคียงถือว่าน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นการฉีดวัคซีนทั่วไป
ในเมืองไทยเคยมีเคสอย่างนี้ไหม ?
นพ.จินดา : เท่าที่สืบค้นดู ไม่เคยมีนะครับ แม้กระทั่งเว็บไซต์ WHO ก็เขียนไว้เลยว่าไม่เคยพบผลข้างเคียงที่รุนแรงเสียชีวิต
กรณีเด็กผู้หญิงต้องอายุเท่าไหร่ควรต้องฉีด ?
นพ.จินดา : อายุ 9-14 ปี เพราะช่วงนี้เป็นช่วงตอบสนองต่อการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้เป็นผลดี และฉีด 2 ครั้ง ครั้งแรกและหลังจากนั้นอีก 6 เดือน
น้องฉีดกี่ครั้ง ?
รุ่งทิพย์ : ครั้งที่ 2 ครั้งแรกไม่รู้เลย เพราะเขาอยู่กับย่า น้องไม่มีอาการอะไรเลย
ถ้าจะพูดตรง ๆ ถ้าจะแพ้ต้องแพ้ครั้งแรก หรือครั้งแรกไม่แพ้ แต่แพ้ครั้งที่ 2 มีไหม ?
นพ.จินดา : อย่างที่เรียนว่าแพ้คำนิยามคืออะไร ถ้าฉีดไปมีไข้ ปวดบวมแดงร้อน ภาษาชาวบ้านทั่วไปอย่างนั้นเรียกว่าแพ้ ต้องบอกว่านั่นคือเป็นผลข้างเคียง แต่ถ้าหมายถึงอาการแพ้จนเสียชีวิต ผมคิดว่าการที่ครั้งที่ 1 ไม่เป็น แล้วครั้งที่ 2 มาเป็นโอกาสน่าจะน้อย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นไม่ได้ แต่โอกาสน่าจะน้อย
วัคซีนตัวนี้ถ้าอยู่ดี ๆ ไข้สูงไปฉีดเข้าไป จะมีผลไหม ?
นพ.จินดา : อย่างที่ ผอ.สุชาดา เรียน เมื่อไหร่ที่มีไข้สูงเราจะเลี่ยงการฉีดวัคซีนไป แต่ถ้าเป็นไข้เล็ก ๆ น้อย ๆ ประเมินแล้วก็ให้ฉีดได้ ก็มีในทางปฏิบัติเช่นเดียวกัน
กรณีนี้ ผอ.สุชาดา บอกว่าคนไปฉีดอาจเป็นเจ้าหน้าที่อนามัย เป็นไปได้ไหมที่อาจพลาดพลั้ง ไม่ได้ถามเด็ก สอง ด้วยวุฒิภาวะ ไม่ใช่เจ้าหน้าที่อาจประมาทเลินเล่อ ทำให้มีผลเสียตามมา เป็นไปได้ไหม ?
นพ.จินดา : ยากที่จะให้ความเห็น แต่โดยมาตรฐานวิชาชีพ เขาก็มีมาตรฐานในการทำงาน ก็ต้องเชื่อมั่นว่าเขาให้บริการประชาชนด้วยจิตสาธารณะ เขาก็ต้องมีความรับผิดชอบ แต่ถ้าจะให้ความเห็นแบบที่ถาม ก็เป็นเรื่องลำบาก
ตอนนี้คนกลัวเรื่องการฉีด อยากให้บอกว่าจริง ๆ มันไม่ได้น่ากลัว ?
นพ.จินดา : อย่างที่เรียนเบื้องต้น 1. ไม่เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้ 2. เว็บไซต์ WHO ก็แสดงข้อมูลให้เห็นชัดเจนว่าไม่มีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น แล้ววัคซีนนี้ใช้มาเป็น 10 ปีแล้ว มีผลทำให้อุบัติการณ์มะเร็งปากมดลูกลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ถ้ามองภาพรวมประโยชน์ ก็เป็นประโยชน์ในวงกว้าง
ดร.มนต์ชัย : กรณีที่คุณหมอทราบว่าน้องแพ้ยา การให้การรักษาของหมอต่ำหรือว่ายังไง
นพ.จินดา : ตอนน้องไปโรงพยาบาล คุณหมอก็ตรวจวัดไข้ได้ 39 คุณหมอไม่ได้นิ่งนอนใจ มีการตรวจเลือด เพราะสิ่งที่คุณหมอกังวลคือไข้เลือดออก แต่พอคุณหมอเห็นผลเลือดแล้ว คุณหมอก็ค่อนข้างมั่นใจว่าไม่ใช่ไข้เลือดออก และได้ประวัติเพิ่มเติมว่าน้องไปฉีดวัคซีน ซึ่งถ้าให้คาดเดาก็อย่างที่เราทราบ เวลาฉีดวัคซีนโอกาสเกิดไข้ก็คงจะมี ผมเข้าใจว่าสมมติฐานตอนนั้นน่าจะเข้าใจว่าไข้เกิดจากวัคซีน ประโยคที่คุณแม่ได้ยินว่าแพ้ยา บางทีเป็นผลข้างเคียง ไม่ได้เป็นเรื่องแพ้ยา บางครั้งเวลาปฏิบัติพูดจาสื่อสารอาจมีการสื่อในลักษณะคลาดเคลื่อนบ้าง อย่างไรก็ตาม น้องมีการผ่าศพ ชันสูตรพลิกศพ น่าจะมีผลจากตรงนั้น ก็อยากให้รอผลทั้งหมดอย่างเป็นทางการแล้วค่อยพิจารณากันอีกที
เรื่องทั้งหมดอยากให้จบลงตรงไหน ?
สุรพจน์ : ตอนนี้อยากรู้สาเหตุที่แท้จริงด้วย และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ความรับผิดชอบ ชีวิตเด็ก พ่อแม่เราก็ทำใจยาก เพราะเรามีลูกคนเดียว
รุ่งทิพย์ : อยากให้ได้รับความยุติธรรม หลังฉีดวัคซีน น้องบ่นแน่นหน้าอก ตั้งแต่วันแรกจนวันสุดท้าย บ่นเรื่องแน่นหน้าอก หนูก็คาใจอยู่ตรงนี้ ก็อยากให้ได้รับความยุติธรรม เราไม่ได้อยากได้รับเงินนะคะ
ทั้งนี้ สามารถติดตามชมรายการ โหนกระแส โดยมี หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20 น. ทางช่อง 3 กดเลข 33