เปิดจุดแข็ง จุดเด่นที่ Telegram แอปพลิเคชันส่งข้อความ เป็นที่นิยมใช้ในกลุ่มชุมนุมนานาชาติ ไม้ตายของกลุ่มม็อบ ด้วยบริการส่งข้อความที่มีความปลอดภัยสูง ชี้รัสเซียก็เคยพยายามบล็อก แต่ไม่สำเร็จ
ภาพจาก wichayada suwanachun / Shutterstock.com
หลังจากที่กลุ่มเยาวชนปลดแอก - Free YOUTH และกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ได้ออกมาประกาศเพิ่มช่องทางในการกระจายข่าวสาร นอกเหนือจากเพจเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ โดยเปิดทางให้ผู้ชุมนุมสามารถเข้าไปติดตามข้อมูลได้ในแอปพลิเคชัน เทเลแกรม (Telegram) ซึ่งภายในระยะเวลาเพียง 1 วัน พบว่ามีสมาชิกเข้าร่วมกลุ่ม Free YOUTH กันเกือบ 2 แสนคนแล้ว
นำมาสู่การตั้งข้อสงสัยกันอย่างมาก ว่า Telegram คืออะไร และเหตุใดทางกลุ่มแกนนำถึงได้เลือกใช้ Telegram เป็นช่องทางการติดต่อสื่อสาร หากเพจเฟซบุ๊กจะถูกปิดไป
Telegram คืออะไร
Telegram เป็นแอปพลิเคชันในการส่งข้อความ ที่จดทะเบียนในทั้งอังกฤษและสหรัฐฯ เริ่มเปิดให้ใช้บริการมาตั้งแต่ปี 2556 โดยมีผู้ก่อตั้งเป็นคู่พี่น้องชาวรัสเซีย นิโคไล และ ปาเวล ดูรอฟ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยก่อตั้งเว็บ VK โซเชียลมีเดียยอดนิยมของรัสเซีย อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ VK เคยเป็นแพลตฟอร์มที่ผู้ประท้วงรัฐบาลรัสเซียเคยนำมาใช้เป็นช่องทางหลักในการสื่อสาร ซึ่งต่อมาก็ถูกแทรกแซงและมีบริษัทอื่นเข้ามาเทคโอเวอร์กิจการไป ปาเวล ดูรอฟ จึงได้หันมาพัฒนา Telegram ขึ้นแทน
จุดหมายหลักในการพัฒนา Telegram ของทั้งคู่ คือการสร้างช่องทางการสื่อสารที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง และมอบความสนุกสนานได้ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ Telegram ยังเป็นแพลตฟอร์มที่ไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้งาน
Telegram จุดเด่น
Telegram มีจุดเด่นคือการเป็นแอปฯ ที่มีการเข้ารหัส และเก็บข้อมูลไว้บนระบบคลาวด์ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้จากทุกอุปกรณ์ที่ติดตั้งแอปฯ อีกทั้งยังไม่มีโฆษณากวนใจ สามารถรับ-ส่งข้อความได้อย่างรวดเร็ว และมีฟีเจอร์อื่น ๆ ที่ใช้งานได้ เช่น การส่งสติ๊กเกอร์
แต่สิ่งที่โดดเด่นอย่างมากที่ทำให้ Telegram เป็นแอปฯ ส่งข้อความที่มีความปลอดภัยสุด ๆ ก็คือบริการ "แชตลับ" (Secret Chat) ที่มีการเข้ารหัสแบบ End-To-End เป็นการเข้ารหัสของคู่สนทนาตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง นอกจากนี้ข้อความในแชตลับยังสามารถลบทิ้งได้ทุกเวลา รวมถึงตั้งเวลาให้ทำลายตัวเองได้
อย่างไรก็ตามไม่ใช่ข้อความทั้งหมดที่รับ-ส่ง บน Telegram ที่จะถูกตั้งรหัสแบบ End-To-End ทำให้หน้าแชตปกติหรือหน้าแชตกลุ่มจึงมีความปลอดภัยน้อยกว่าแชตลับ
Telegram แอปฯ ยอดนิยม ในการประท้วง
Telegram เป็นแอปฯ ยอดนิยมที่มีผู้ใช้งานหลายร้อยล้านคน อีกทั้งยังกลายมาเป็นอาวุธสำคัญในกลุ่มผู้ประท้วงหลาย ๆ ประเทศ ทั้งในรัสเซีย รวมถึงการประท้วงในฮ่องกงเมื่อปี 2562 ที่กลุ่มม็อบใช้ Telegram เป็นช่องทางในการจัดตั้งกลุ่ม อัปเดตข้อมูลข่าวสาร รวมถึงร้องขออุปกรณ์เสริมต่าง ๆ
ขณะที่ล่าสุดในสถานการณ์การชุมนุม ตุลาคม 2563 ของไทย แกนนำหลายกลุ่มก็ได้เริ่มนำ Telegram มาเป็นช่องทางในการกระจายข่าวสารเช่นกัน
รัสเซียพยายามสกัดกั้น แต่ยังบล็อกไม่ได้
ด้วยความที่ Telegram ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ประท้วงนานาชาติ ทำให้ก่อนหน้านี้ในปี 2561 ทางรัฐบาลรัสเซียก็เคยพยายามสั่งบล็อกแอปฯ ดังกล่าวมาแล้ว หลังทางนักพัฒนาปฏิเสธไม่ส่งมอบกุญแจสำคัญในการถอดรหัสข้อมูลแก่ทางการ แม้รัฐบาลจะอ้างว่าแอปฯ ดังกล่าวถูกนำมาใช้โดยกลุ่มหัวรุนแรงก็ตาม
เป็นความจริงที่ Telegram ก็ถูกนำมาใช้งานโดยกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงเช่นกัน เช่น ISIS แต่ทางนักพัฒนาก็ได้มีความพยายามในการปิดกั้นกลุ่มก่อการร้ายอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ หลังผู้ให้บริการด้านคมนาคมได้รับคำสั่งให้บล็อก Telegram ในเดือนเมษายน 2561 ปรากฏว่าแอปฯ ดังกล่าว ไม่สามารถใช้งานได้ในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น ก่อนจะกลับมาออนไลน์ตามปกติในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง อีกทั้งยังคงมีผู้ใช้งานในรัสเซียอย่างแพร่หลาย แม้แต่เจ้าหน้าที่รัฐบาล กับหน่วยงานราชการบางหน่วยก็ยังมีบัญชีทางการใน Telegram ด้วยซ้ำ
กระทั่งเมื่อเดือนมิถุนายน 2563 ทางหน่วยเฝ้าระวังด้านการสื่อสารของรัสเซีย ก็ได้ออกมายอมรับว่าจะยกเลิกมาตรการบล็อก Telegram หลังความพยายามสกัดกั้นตลอดหลายปี ไม่ประสบผลสำเร็จ
ขอบคุณข้อมูลจาก
Tech Crunch, SCMP, AP
ภาพจาก wichayada suwanachun / Shutterstock.com
หลังจากที่กลุ่มเยาวชนปลดแอก - Free YOUTH และกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ได้ออกมาประกาศเพิ่มช่องทางในการกระจายข่าวสาร นอกเหนือจากเพจเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ โดยเปิดทางให้ผู้ชุมนุมสามารถเข้าไปติดตามข้อมูลได้ในแอปพลิเคชัน เทเลแกรม (Telegram) ซึ่งภายในระยะเวลาเพียง 1 วัน พบว่ามีสมาชิกเข้าร่วมกลุ่ม Free YOUTH กันเกือบ 2 แสนคนแล้ว
นำมาสู่การตั้งข้อสงสัยกันอย่างมาก ว่า Telegram คืออะไร และเหตุใดทางกลุ่มแกนนำถึงได้เลือกใช้ Telegram เป็นช่องทางการติดต่อสื่อสาร หากเพจเฟซบุ๊กจะถูกปิดไป
Telegram คืออะไร
Telegram เป็นแอปพลิเคชันในการส่งข้อความ ที่จดทะเบียนในทั้งอังกฤษและสหรัฐฯ เริ่มเปิดให้ใช้บริการมาตั้งแต่ปี 2556 โดยมีผู้ก่อตั้งเป็นคู่พี่น้องชาวรัสเซีย นิโคไล และ ปาเวล ดูรอฟ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยก่อตั้งเว็บ VK โซเชียลมีเดียยอดนิยมของรัสเซีย อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ VK เคยเป็นแพลตฟอร์มที่ผู้ประท้วงรัฐบาลรัสเซียเคยนำมาใช้เป็นช่องทางหลักในการสื่อสาร ซึ่งต่อมาก็ถูกแทรกแซงและมีบริษัทอื่นเข้ามาเทคโอเวอร์กิจการไป ปาเวล ดูรอฟ จึงได้หันมาพัฒนา Telegram ขึ้นแทน
จุดหมายหลักในการพัฒนา Telegram ของทั้งคู่ คือการสร้างช่องทางการสื่อสารที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง และมอบความสนุกสนานได้ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ Telegram ยังเป็นแพลตฟอร์มที่ไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้งาน
Telegram จุดเด่น
Telegram มีจุดเด่นคือการเป็นแอปฯ ที่มีการเข้ารหัส และเก็บข้อมูลไว้บนระบบคลาวด์ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้จากทุกอุปกรณ์ที่ติดตั้งแอปฯ อีกทั้งยังไม่มีโฆษณากวนใจ สามารถรับ-ส่งข้อความได้อย่างรวดเร็ว และมีฟีเจอร์อื่น ๆ ที่ใช้งานได้ เช่น การส่งสติ๊กเกอร์
แต่สิ่งที่โดดเด่นอย่างมากที่ทำให้ Telegram เป็นแอปฯ ส่งข้อความที่มีความปลอดภัยสุด ๆ ก็คือบริการ "แชตลับ" (Secret Chat) ที่มีการเข้ารหัสแบบ End-To-End เป็นการเข้ารหัสของคู่สนทนาตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง นอกจากนี้ข้อความในแชตลับยังสามารถลบทิ้งได้ทุกเวลา รวมถึงตั้งเวลาให้ทำลายตัวเองได้
อย่างไรก็ตามไม่ใช่ข้อความทั้งหมดที่รับ-ส่ง บน Telegram ที่จะถูกตั้งรหัสแบบ End-To-End ทำให้หน้าแชตปกติหรือหน้าแชตกลุ่มจึงมีความปลอดภัยน้อยกว่าแชตลับ
Telegram แอปฯ ยอดนิยม ในการประท้วง
Telegram เป็นแอปฯ ยอดนิยมที่มีผู้ใช้งานหลายร้อยล้านคน อีกทั้งยังกลายมาเป็นอาวุธสำคัญในกลุ่มผู้ประท้วงหลาย ๆ ประเทศ ทั้งในรัสเซีย รวมถึงการประท้วงในฮ่องกงเมื่อปี 2562 ที่กลุ่มม็อบใช้ Telegram เป็นช่องทางในการจัดตั้งกลุ่ม อัปเดตข้อมูลข่าวสาร รวมถึงร้องขออุปกรณ์เสริมต่าง ๆ
ขณะที่ล่าสุดในสถานการณ์การชุมนุม ตุลาคม 2563 ของไทย แกนนำหลายกลุ่มก็ได้เริ่มนำ Telegram มาเป็นช่องทางในการกระจายข่าวสารเช่นกัน
รัสเซียพยายามสกัดกั้น แต่ยังบล็อกไม่ได้
ด้วยความที่ Telegram ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ประท้วงนานาชาติ ทำให้ก่อนหน้านี้ในปี 2561 ทางรัฐบาลรัสเซียก็เคยพยายามสั่งบล็อกแอปฯ ดังกล่าวมาแล้ว หลังทางนักพัฒนาปฏิเสธไม่ส่งมอบกุญแจสำคัญในการถอดรหัสข้อมูลแก่ทางการ แม้รัฐบาลจะอ้างว่าแอปฯ ดังกล่าวถูกนำมาใช้โดยกลุ่มหัวรุนแรงก็ตาม
เป็นความจริงที่ Telegram ก็ถูกนำมาใช้งานโดยกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงเช่นกัน เช่น ISIS แต่ทางนักพัฒนาก็ได้มีความพยายามในการปิดกั้นกลุ่มก่อการร้ายอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ หลังผู้ให้บริการด้านคมนาคมได้รับคำสั่งให้บล็อก Telegram ในเดือนเมษายน 2561 ปรากฏว่าแอปฯ ดังกล่าว ไม่สามารถใช้งานได้ในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น ก่อนจะกลับมาออนไลน์ตามปกติในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง อีกทั้งยังคงมีผู้ใช้งานในรัสเซียอย่างแพร่หลาย แม้แต่เจ้าหน้าที่รัฐบาล กับหน่วยงานราชการบางหน่วยก็ยังมีบัญชีทางการใน Telegram ด้วยซ้ำ
กระทั่งเมื่อเดือนมิถุนายน 2563 ทางหน่วยเฝ้าระวังด้านการสื่อสารของรัสเซีย ก็ได้ออกมายอมรับว่าจะยกเลิกมาตรการบล็อก Telegram หลังความพยายามสกัดกั้นตลอดหลายปี ไม่ประสบผลสำเร็จ
ขอบคุณข้อมูลจาก
Tech Crunch, SCMP, AP