ส.ว. - ส.ส ลงคะแนนเสียงโหวต 7 ร่างรัฐธรรมนูญ ด้าน ฉบับที่ 7 ร่างรัฐธรรมนูญของ iLaw ถูกปัดตกแล้ว งดออกเสียงเกินครึ่ง
ภาพจาก รัฐสภา
วันนี้ (18 พฤศจิกายน 2563) สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(ส.ส.) พรรครัฐบาล มีการโหวต 7 ร่างรัฐธรรมนูญ โดยเป็นเสียงจาก ส.ว. และ
ส.ส. ทั้งหมด 732 เสียง ซึ่งปัจจัยที่จะส่งผลว่าร่างไหนจะผ่าน หรือไม่ผ่าน
มีดังนี้
ขั้นตอนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
วาระที่ 1
- จากจำนวน ส.ว. และ ส.ส. ทั้งหมด 732 เสียง ต้องมีเสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง คือ 366 เสียง
- 366 เสียง ต้องมี ส.ว. เห็นชอบด้วยไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา หรือ ส.ว. 84 เสียง
วาระที่ 2 : พิจารณาเรียงลำดับมาตรา
- วาระนี้ให้ถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
-
ในส่วนของร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมที่ประชาชนเป็นผู้เสนอ (ฉบับ
iLaw) ต้องเปิดโอกาสให้ผู้แทนประชาชนที่เข้าชื่อกันได้แสดงความคิดเห็นด้วย
เมื่อพิจารณาวาระที่ 2 เสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้ 15 วัน เมื่อพ้นกำหนดจึงให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่ 3 ต่อไป
วาระที่ 3
ด่านสุดท้ายที่จะชี้ชะตาร่างรัฐธรรมนูญใหม่นั้นมีจุดให้ต้องลุ้นอยู่ 3 จุด คือ
- ต้องมีเสียงเห็นด้วยจาก ส.ส. และ ส.ว. 366 เสียง
- ต้องมีเสียงเห็นชอบของ ส.ส. ฝ่ายค้าน ประธาน หรือรองประธานผู้แทนราษฎร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน
- ต้องมีเสียงเห็นด้วยของ ส.ว. 84 เสียง
- ฉบับที่ 1 ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย (ส.ส.ร.) ที่เสนอโดยพรรคเพื่อไทย : ตั้ง ส.ส.ร. 200 คน มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด (โดยใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง) / ห้ามแก้ไขหมวด 1 และ 2
- ฉบับที่ 2 ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย (ส.ส.ร.) ที่เสนอโดยรัฐบาล : ตั้ง ส.ส.ร. 200 คน มาจากการเลือกตั้ง 150 คน และสรรหา 50 คน / ห้ามแก้ไขหมวด 1 และ 2
- ฉบับที่ 3 ยกเลิกอำนาจ ส.ว.
ปฏิรูปประเทศ : ยกเลิกที่มาของวุฒิสภาพิเศษของ คสช.
และอำนาจในการร่วมพิจารณาร่างกฎหมายที่ถูกยับยั้งไว้
- ฉบับที่ 4
ยกเลิกอำนาจ ส.ว. เลือกนายกฯ :
ให้นายกรัฐมนตรีมาจากบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอ หรือ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หรือ ส.ส. จากพรรคที่มี ส.ส. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5
-
ฉบับที่ 5 ยกเลิกนิรโทษกรรม คสช. : ยกเลิกบทบัญญัติที่ให้การรับรองประกาศ และคำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช.
รวมถึงการกระทำที่เกี่ยวข้องให้ชอบด้วยกฎหมาย
- ฉบับที่ 6 ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ : ให้ใช้ระบบเลือกตั้งแบบมีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ เลือกทั้งคน-เลือกทั้งพรรค
- ฉบับที่ 7 ร่างประชาชน รื้อสร้าง ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ (ฉบับ iLaw) :
1. ยกเลิกช่องทางนายกฯ คนนอก - นายกฯ ต้องเป็น ส.ส.
2. ยกเลิกที่มาและอำนาจ ส.ว. ชุดพิเศษของ คสช. - ให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้ง
3. ยกเลิกแผนยุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิรูปที่เขียนโดย คสช.
4. ยกเลิกบทบัญญัติที่ให้การรับรองประกาศ - คำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. รวมถึงการกระทำที่เกี่ยวข้องให้ชอบด้วยกฎหมาย
5. ยกเลิกที่มาของผู้บริหารท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
6. เซตซีโร่ องค์กรอิสระ และศาลรัฐธรรมนูญ
7. ให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญใช้เพียงเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสภา
8. ให้จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ โดย ส.ส.ร. ที่มาจากการเลือกตั้งจำนวน 200 คน
ทั้งนี้ สำหรับผลการโหวตปรากฏว่า ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ได้มีการลงมติโหวตให้ผ่าน ส่วนอีก 5 ฉบับนั้นไม่ผ่าน โดยเฉพาะฉบับที่ 7 ซึ่งเป็นร่างที่ประชาชนเสนอ (ฉบับ iLaw) ถูกปัดตก โดยส่วนใหญ่ผู้ที่งดออกเสียง และโหวตไม่ผ่านร่างคือ ส.ส. พรรคร่วมรัฐบาล และสมาชิกวุฒิสภา