คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ มีมติให้ กัญชา - กัญชง พ้นบัญชียาเสพติด ส่งเสริมเป็นพืชเศรษฐกิจ ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ยังไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในทางสันทนาการ
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 ไทยพีบีเอส รายงานว่า นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้ขับเคลื่อนนโยบายกัญชาทางการแพทย์ และส่งเสริมให้กัญชา-กัญชง เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ของประเทศ ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ มีมติเห็นว่า วิถีภูมิปัญญาด้านสุขภาพของไทยมีการนำส่วนใบ กิ่ง ก้าน ลำต้น ราก มาใช้ จึงปลดส่วนนี้ออกจากการเป็นยาเสพติดให้โทษ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้มากขึ้น
โดยร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. ... ที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ ยังคงสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ ซึ่ง อย. จะเสนอร่างประกาศให้นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลใช้บังคับต่อไป
ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างประกาศฉบับนี้กำหนดให้ส่วนต่าง ๆ ของพืชกัญชาและกัญชง เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ปลูก ผลิต หรือสกัดในประเทศไทย ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ได้แก่ เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน ราก ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย เมล็ดกัญชง น้ำมันจากเมล็ดกัญชง หรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชง
ด้าน นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า หลังจากออกประกาศ สามารถนำแต่ละส่วนที่พ้นจากยาเสพติดไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์เพื่อดูแลสุขภาพตนเอง เช่น ใบ ราก ก้าน ใช้ในตำรับยาแผนไทย ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เปลือก แกนลำต้น เส้นใย ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ สารสกัด ใช้ในอุตสาหกรรมยา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และเครื่องสำอาง เมล็ด หรือน้ำมันจากเมล็ดกัญชง ใช้ในอาหารและเครื่องสำอาง
ทั้งนี้ ประชาชนที่จะครอบครองและใช้จะต้องเป็นผลผลิตที่ได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย และยังไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในทางสันทนาการ ซึ่งสามารถตรวจสอบผู้ได้รับอนุญาตได้ที่ อย. คลิก
ขอบคุณข้อมูลจาก ไทยพีบีเอส
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 ไทยพีบีเอส รายงานว่า นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้ขับเคลื่อนนโยบายกัญชาทางการแพทย์ และส่งเสริมให้กัญชา-กัญชง เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ของประเทศ ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ มีมติเห็นว่า วิถีภูมิปัญญาด้านสุขภาพของไทยมีการนำส่วนใบ กิ่ง ก้าน ลำต้น ราก มาใช้ จึงปลดส่วนนี้ออกจากการเป็นยาเสพติดให้โทษ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้มากขึ้น
โดยร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. ... ที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ ยังคงสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ ซึ่ง อย. จะเสนอร่างประกาศให้นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลใช้บังคับต่อไป
ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างประกาศฉบับนี้กำหนดให้ส่วนต่าง ๆ ของพืชกัญชาและกัญชง เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ปลูก ผลิต หรือสกัดในประเทศไทย ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ได้แก่ เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน ราก ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย เมล็ดกัญชง น้ำมันจากเมล็ดกัญชง หรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชง
ด้าน นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า หลังจากออกประกาศ สามารถนำแต่ละส่วนที่พ้นจากยาเสพติดไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์เพื่อดูแลสุขภาพตนเอง เช่น ใบ ราก ก้าน ใช้ในตำรับยาแผนไทย ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เปลือก แกนลำต้น เส้นใย ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ สารสกัด ใช้ในอุตสาหกรรมยา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และเครื่องสำอาง เมล็ด หรือน้ำมันจากเมล็ดกัญชง ใช้ในอาหารและเครื่องสำอาง
ทั้งนี้ ประชาชนที่จะครอบครองและใช้จะต้องเป็นผลผลิตที่ได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย และยังไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในทางสันทนาการ ซึ่งสามารถตรวจสอบผู้ได้รับอนุญาตได้ที่ อย. คลิก
ขอบคุณข้อมูลจาก ไทยพีบีเอส