นักวิทยาศาสตร์ทึ่ง ค้นพบ ฟอสซิลงูดึกดําบรรพ์ 47 ล้านปี ที่เยอรมนี ชี้ชัดยุโรปเคยมีงูเหลือมและงูหลามในอดีต เผยเป็นฟอสซิลงูที่เก่าแก่ อายุมากที่สุดในโลก
เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 เว็บไซต์เดลี่เมล รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ค้นพบซากฟอสซิล งูหลาม หรือ งูเหลือม (Python) อายุ 47 ล้านปี ที่เยอรมนี โดยฟอสซิลดังกล่าวนับว่าเป็นฟอลซิลงูไพธอนที่มีอายุมากที่สุด เท่าที่เคยพบเจอมาในโลก และงูตัวนี้เป็นสปีชีส์และประเภทใหม่ ที่ไม่เคยพบเจอที่ไหนมาก่อน
จุดที่ค้นพบฟอลซิลดังกล่าวคือ หลุมเมสเซิล (Mellel Pit) นอกเมืองดาร์มชตัดท์-ดีบูร์ก ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมนี โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อให้มันว่า Messelopython freyi
หลุมเมสเซิล คือ อดีตเหมืองร้างที่ UNESCO จัดให้เป็นแหล่งมรดกโลก UNESCO เมื่อปี 2538 โดย งูหลาม หรือ งูเหลือม ที่พบ นับอายุย้อนไปได้ในสมัยอีโอซีน (Eocene Period) สมัยหนึ่งของยุคพาลีโอจีน ช่วงเวลาระหว่าง 56 - 33.9 ล้านปีก่อน
งูที่จัดอยู่ใน วงศ์งูเหลือม (Python) ในโลกนี้มีมากมายหลายชนิด และมีถิ่นที่อยู่กระจัดกระจายอยู่ในแอฟริกา เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
การค้นพบว่ามีงูในวงศ์งูเหลือมเคยอาศัยอยู่ในทวีปยุโรปด้วย แสดงให้เห็นว่าในสมัยนั้นมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และมีงูหลายชนิด
แต่พอมาถึงสมัยไมโอซีน ซึ่งเป็นช่วง 22 - 5 ล้านปีก่อน งูในวงศ์งูเหลือมก็หายไปจากทวีปยุโรป เนื่องจากการเปลี่ยนทางสภาพอากาศที่ทำให้ยุโรปเย็นลงอีกครั้ง
แต่การค้นพบฟอสซิลงูสายพันธุ์ใหม่จะเป็นก้าวสำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์การวิวัฒนาการของงู โดยเฉพาะงูในยุโรป
ขอบคุณข้อมูลจาก Daily Mail