คนกรุงจุก ค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว ตลอดสาย 104
บาท ด้าน กทม. แจง จริง ๆ ราคา 158 บาท แต่ปรับลดลงให้เป็นการชั่วคราว
ด้านคนบ่นยับ ค่าแรงแทบจะเป็นครึ่งหนึ่งของค่าเดินทาง !
ภาพจาก Worchi Zingkhai / Shutterstock.com
วันที่ 16 มกราคม 2564 กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่า
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท
ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS กล่าวว่า
ทางบีทีเอสได้หารือกับกรุงเทพมหานคร เรื่องค่าโดยสารของรถไฟฟ้าบีทีเอส
ที่จะแบ่งใหม่ออกเป็น 4 ช่วง หากนั่งตลอดสายไม่เกิน 104 บาท
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 โดยบังคับใช้เป็นการชั่วคราว
1. ช่วงสถานี หมอชิต-อ่อนนุช และ สนามกีฬาฯ-สะพานตากสิน ค่าโดยสาร 16-44 บาท
2. ส่วนต่อขยาย หมอชิต-คูคต ค่าโดยสาร 15-45 บาท ปรับเพิ่มสถานีละ 3 บาท
3. ส่วนต่อขยาย อ่อนนุช-เคหะสมุทรปราการ ค่าโดยสาร 15-45 บาท ปรับเพิ่มสถานีละ 3 บาท
4. ส่วนต่อขยายสะพานตากสิน บางหว้า 15-33 บาท ปรับเพิ่มสถานีละ 3 บาท
1. ช่วงสถานี หมอชิต-อ่อนนุช และ สนามกีฬาฯ-สะพานตากสิน ค่าโดยสาร 16-44 บาท
2. ส่วนต่อขยาย หมอชิต-คูคต ค่าโดยสาร 15-45 บาท ปรับเพิ่มสถานีละ 3 บาท
3. ส่วนต่อขยาย อ่อนนุช-เคหะสมุทรปราการ ค่าโดยสาร 15-45 บาท ปรับเพิ่มสถานีละ 3 บาท
4. ส่วนต่อขยายสะพานตากสิน บางหว้า 15-33 บาท ปรับเพิ่มสถานีละ 3 บาท
ด้าน TNN ได้เผยเอกสารชี้แจงจากกรุงเทพมหานคร ต่อเรื่องนี้ว่า รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เปิดให้บริการเดินรถตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2561 และเปิดให้บริการเต็มทั้งระบบในวันที่ 16 ธันวาคม 2563 ซึ่งเกือบ 3 ปีแล้ว ที่ไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายในจุดนี้ และตอนนี้ ที่เปิดให้บริการครบทั้งเส้น จึงต้องเริ่มเก็บค่าโดยสารแล้ว
อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้บริการส่วนหลักคือ หมอชิต-อ่อนนุช จะยังคงเสียค่าโดยสารในอัตราเดิม ไม่มีการเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนกันระหว่างส่วนหลักและส่วนต่อขยาย ซึ่งจริง ๆ แล้ว อัตราค่าโดยสารสายสีเขียวทั้งสาย สูงสุดจะอยู่ที่ 158 บาท แต่เพื่อบรรเทาผลกระทบโควิด 19 จึงปรับให้ค่าโดยสารอยู่ที่ 104 บาท อันจะทำให้มีผลขาดทุนปีละ 3,000-4,000 ล้านบาท เมื่อนับรวมตั้งแต่ปี 2564-2572 จะขาดทุน 30,000-40,000 ล้านบาท
ในขณะเดียวกัน โลกออนไลน์ได้ออกมาพูดถึงเรื่องนี้กันอย่างมหาศาล หลายคนบอกว่า ค่าแรงคนไทยยังเริ่มต้นแค่ 300 บาท แต่ค่ารถไฟฟ้าสูงสุดเกือบเท่าครึ่งหนึ่งของค่าแรงแล้ว แล้วจะเอาเงินที่ไหนกินข้าว พร้อมกับมีการเทียบกับต่างชาติ เช่น อเมริกา ที่ค่ารถไฟฟ้าเหมาจ่าย 98 บาท แต่ค่าแรงขั้นต่ำชั่วโมงละ 470 บาท หรือที่เกาหลีใต้ ค่ารถุไฟฟ้าสูงสุด 98 บาท แต่ค่าแรงขั้นต่ำชั่วโมงละ 250 บาท ในขณะที่ประเทศไทย ทำงานได้ชั่วโมงละ 40 บาท แต่ค่ารถไฟฟ้าทะยานไปที่ 104 บาท