แอนโธนี่ ปิยชนม์ เด็กนักเรียนจากเชียงราย เสนอโปรเจกต์ดักจับคาร์บอนในอากาศ แปลงเป็นออกซิเจนเสนออีลอน มัสก์ หลังเจ้าตัวจัดประกวดชิงเงิน 3 พันล้านบาท
ภาพจาก Odd ANDERSEN / AFP
ภาพจาก Anthony Phiyachon
ภาพจาก Odd ANDERSEN / AFP
หลังจากที่อีลอน มัสก์ ทวีตข้อความประกาศว่า จะมีโครงการประกวดเทคโนโลยีเครื่องดักจับคาร์บอนที่ดีที่สุด มีเงินรางวัลสูงถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะเปิดให้ลงทะเบียนและรายละเอียดทั้งหมดในวันที่ 22 เมษายน 2564 ซึ่งถือว่าเป็นวัน Earth Day หรือวันคุ้มครองโลก
ล่าสุด วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า งานนี้ ก็มีคนไทยหวังเข้าร่วมประกวดด้วยเช่นกัน ชื่อว่า แอนโธนี่ ปิยชนม์ นักเรียนโรงเรียนนานาชาติเกนส์วิลล์ จ.เชียงราย วัย 15 ปี
ล่าสุด วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า งานนี้ ก็มีคนไทยหวังเข้าร่วมประกวดด้วยเช่นกัน ชื่อว่า แอนโธนี่ ปิยชนม์ นักเรียนโรงเรียนนานาชาติเกนส์วิลล์ จ.เชียงราย วัย 15 ปี
ทั้งนี้ แอนโธนี่ มีการโพสต์คลิปอธิบายหลักการทำงานคร่าว ๆ ว่า ปัญหาในปัจจุบันคือ เรามีขยะพลาสติกมากเกินไป ถ้าเราตัดต้นไม้ หลังจากนี้จะมีสิ่งเลวร้ายตามมา
ส่วนกระบวนการทำงานของเครื่องมือนี้ มีการใช้กลไกเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ให้เป็นไฮโดรเจนบริสุทธิ์ และออกซิเจน นอกจากนี้ เครื่องมือดังกล่าวยังสามารถดักจับฝุ่นละออง PM2.5 ได้ ขณะเดียวกัน ก๊าซไฮโดรเจนที่ได้ สามารถผลิตมีเทนและปิโตเลียม ส่วนออกซิเจนก็ปล่อยคืนสู่ชั้นบรรยากาศ
สำหรับขั้นตอนการทำงานของเครื่อง มีดังนี้
ส่วนกระบวนการทำงานของเครื่องมือนี้ มีการใช้กลไกเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ให้เป็นไฮโดรเจนบริสุทธิ์ และออกซิเจน นอกจากนี้ เครื่องมือดังกล่าวยังสามารถดักจับฝุ่นละออง PM2.5 ได้ ขณะเดียวกัน ก๊าซไฮโดรเจนที่ได้ สามารถผลิตมีเทนและปิโตเลียม ส่วนออกซิเจนก็ปล่อยคืนสู่ชั้นบรรยากาศ
สำหรับขั้นตอนการทำงานของเครื่อง มีดังนี้
1. เติมน้ำเข้าไปในเครื่อง
ภาพจาก Anthony Phiyachon
2. จุดไฟที่บริเวณหนึ่งของอุปกรณ์เพื่อสร้างความร้อน
ภาพจาก Anthony Phiyachon
3. จากนั้นความดันสูงจะสร้างก๊าซไฮโดรเจนในเครื่อง ให้มันอยู่ในระดับ 1,600 PSI หรือ 1,100 Bar
4. ผลคือ เปลวสีฟ้าของไฮโดรเจนแทบจะมองไม่เห็นในกระจกสีเขียว และเมื่อมันมีการสัมผัสกับอากาศ ไฮโดรเจนที่ได้จะรวมตัวกับออกซิเจนจนกลายเป็นน้ำ
ภาพจาก Anthony Phiyachon