สทป. - กรมฝนหลวง เผยนวัตกรรมฝนเทียมยุคใหม่ ใช้จรวดยิงขึ้นฟ้าสลายลูกเห็บบรรเทาภัยแล้ง เป็นแนวคิดต่อยอดจากการทำฝนเทียมโดยเครื่องบิน
วันที่ 22 พฤษภาคม 2564 เฟซบุ๊ก สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดลำพูน รายงานว่า เจ้าหน้าที่จากสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) และเจ้าหน้าที่จากกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้เปิดตัวเครื่องทำฝนเทียมรูปแบบใหม่คือ การยิงจรวดปล่อยสารซิลเวอร์ไอโอไดด์ลงในก้อนเมฆ ทำให้เมฆตกลงมาเป็นฝน เพื่อช่วยบรรเทาภัยแล้งและภัยจากลูกเห็บให้กับประชาชน
ทั้งนี้ นาวาอากาศโท ไพศาล บุญยะรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการดังกล่าว ระบุว่า การยิงจรวดนั้นเป็นทางเลือกในการนำสารซิลเวอร์ไอโอไดด์เข้าสู่ก้อนเมฆที่ความสูงประมาณ 18,000-24,000 ฟุต ซึ่งสารดังกล่าวแกนกลั่นตัวของอนุภาคน้ำมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ทำให้พัฒนาตัวอย่างรวดเร็วและตกลงมาเป็นฝน โดยปกติกรมฝนหลวงฯ จะใช้เครื่องบินในการปฏิบัติการ แต่กรณีที่สภาพอากาศแปรปรวน เครื่องบินไม่สามารถเข้าโจมตีเมฆเย็นได้ จึงเกิดแนวคิดในการออกแบบจรวดดังกล่าว
ทดลองยิงจรวด 7 นัด ค่าโอกาสเกิดลูกเห็บลดลง ช่วยชาวบ้านที่ประสบภัยแล้ง
ด้าน นายกำพล เกษจินดา นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า เริ่มการทดลองตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2564 ถึงปัจจุบัน มีการยิงจรวดไปแล้ว 7 นัด พบว่าหลังจากการยิงจรวด (ณ ตำแหน่งเวลา 0 นาที) ค่าคุณสมบัติทางกายภาพของเมฆ ได้แก่ ความสูง ปริมาตร มวล ค่าการสะท้อนสูงสุด และค่า VIL เริ่มคงที่ และมีการเปลี่ยนแปลงลดลงอย่างชัดเจน ยกตัวอย่างกลุ่มเมฆตัวอย่างวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ภายหลังยิงจรวด ค่าโอกาสการเกิดลูกเห็บลดลงอย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับข้อมูลในพื้นที่ที่ไม่มีรายงานการเกิดลูกเห็บ
นายวรยุทธ เนาวรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวว่า โครงการนี้ถือเป็นนวัตกรรมที่ดีต่อประชาชนและประเทศ พื้นที่ อ.ลี้ ของ จ.ลำพูน เกิดปัญหาภัยแล้งขึ้นทุกปี การพัฒนายากลำบาก จะทำฝาย ขุดสระน้ำ เจาะน้ำบาดาล ในพื้นที่การเกษตรก็ไม่ได้ ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวน และป่าไม้ไม่อนุญาต การทดลองเชิงปฏิบัติการในการทำฝนเมฆเย็นหรือสลายลูกเห็บในพื้นที่ จ.ลำพูน นั้นจะเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้งของพี่น้องประชาชน เกษตรกร ให้มีน้ำกินน้ำใช้อย่างเพียงพอต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก นายอานนท์ บุญมาตุ้ย เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์จังหวัดลำพูน

ทั้งนี้ นาวาอากาศโท ไพศาล บุญยะรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการดังกล่าว ระบุว่า การยิงจรวดนั้นเป็นทางเลือกในการนำสารซิลเวอร์ไอโอไดด์เข้าสู่ก้อนเมฆที่ความสูงประมาณ 18,000-24,000 ฟุต ซึ่งสารดังกล่าวแกนกลั่นตัวของอนุภาคน้ำมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ทำให้พัฒนาตัวอย่างรวดเร็วและตกลงมาเป็นฝน โดยปกติกรมฝนหลวงฯ จะใช้เครื่องบินในการปฏิบัติการ แต่กรณีที่สภาพอากาศแปรปรวน เครื่องบินไม่สามารถเข้าโจมตีเมฆเย็นได้ จึงเกิดแนวคิดในการออกแบบจรวดดังกล่าว

ทดลองยิงจรวด 7 นัด ค่าโอกาสเกิดลูกเห็บลดลง ช่วยชาวบ้านที่ประสบภัยแล้ง
ด้าน นายกำพล เกษจินดา นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า เริ่มการทดลองตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2564 ถึงปัจจุบัน มีการยิงจรวดไปแล้ว 7 นัด พบว่าหลังจากการยิงจรวด (ณ ตำแหน่งเวลา 0 นาที) ค่าคุณสมบัติทางกายภาพของเมฆ ได้แก่ ความสูง ปริมาตร มวล ค่าการสะท้อนสูงสุด และค่า VIL เริ่มคงที่ และมีการเปลี่ยนแปลงลดลงอย่างชัดเจน ยกตัวอย่างกลุ่มเมฆตัวอย่างวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ภายหลังยิงจรวด ค่าโอกาสการเกิดลูกเห็บลดลงอย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับข้อมูลในพื้นที่ที่ไม่มีรายงานการเกิดลูกเห็บ
นายวรยุทธ เนาวรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวว่า โครงการนี้ถือเป็นนวัตกรรมที่ดีต่อประชาชนและประเทศ พื้นที่ อ.ลี้ ของ จ.ลำพูน เกิดปัญหาภัยแล้งขึ้นทุกปี การพัฒนายากลำบาก จะทำฝาย ขุดสระน้ำ เจาะน้ำบาดาล ในพื้นที่การเกษตรก็ไม่ได้ ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวน และป่าไม้ไม่อนุญาต การทดลองเชิงปฏิบัติการในการทำฝนเมฆเย็นหรือสลายลูกเห็บในพื้นที่ จ.ลำพูน นั้นจะเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้งของพี่น้องประชาชน เกษตรกร ให้มีน้ำกินน้ำใช้อย่างเพียงพอต่อไป
