ผุดแคมเปญ ทุกคนต้องบวชได้ หนุนกลุ่มหลากหลายทางเพศ ชี้การบวชขึ้นอยู่กับศรัทธาไม่ใช่อวัยวะเพศ งานนี้โซเชียลถกสนั่น แบบนี้เหมาะสมหรือไม่
กลายเป็นประเด็นดราม่า กรณีวันที่ 7 มิถุนายน 2564 ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งออกมาโพสต์ภาพคนโกนหัว โกนคิ้ว แต่งกายเหมือนพระสงฆ์ แต่สวมสังฆาฏิสีรุ้ง ซึ่งเป็นสีที่สื่อถึงความหลากหลายทางเพศ โดยโพสต์ในเนื้อหาเรียกร้องให้ทุกคนต้องบวชได้ มองว่าศาสนาพุทธเปิดโอกาสให้แต่ผู้ชายบวช แต่กีดกันเพศหญิง เลสเบี้ยน เกย์ กะเทย บัณเฑาะก์ ซึ่งการบวชขึ้นอยู่กับศรัทธา ไม่ใช่อวัยวะเพศ
แคมเปญ ทุกคนต้องบวชได้ ไม่ได้หมายความว่าใครจะทำอะไรก็ได้ แต่ทุกคนต้องอยู่ในกฎเดียวกัน ใครทำผิดระเบียบก็ว่าไปตามความผิดรายบุคคล อย่าเหมารวมว่ากลุ่มมีความหลากหลายทางเพศบวชแล้วจะทำให้ศาสนาเสื่อมเสีย มองว่าทุกคนต้องบวชได้ เพราะเป็นสิทธิมนุษยชนที่ทุกคนสามารถเข้าถึงศาสนาได้อย่างเท่าเทียม
นอกจากนี้ในสังคมยังมีความเชื่อว่า การบวชนั้นเป็นการตอบแทนบุญคุณ พ่อแม่ได้เกาะชายผ้าเหลือง หมายถึงการได้ขึ้นสวรรค์ แต่กลับไม่อนุญาตให้กลุ่มมีความหลากหลายทางเพศบวช จึงตั้งคำถามว่าศาสนากำลังกีดกันกลุ่มคนเหล่านี้ในการบวชทดแทนคุณพ่อแม่หรือไม่ ทำไมกลุ่มที่มีความหลากหลายต้องไปทดแทนบุญด้วยวิธีอื่น สรุปทุกวันนี้เราเข้าถึงศาสนาด้วยหัวใจแห่งศรัทธา หรือใช้อวัยวะเพศในการเข้าถึงศรัทธาแห่งศาสนากันแน่
ทั้งนี้ หลังโพสต์ดังกล่าวถูกแชร์ออกไปก็มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่มองว่า เรื่องศาสนานั้นเป็นเรื่องของความเชื่อ ไม่ใช่เรื่องกฎหมาย ความเป็นจริงแล้วก็พบเห็นได้ทั่วไปว่ามีเพศที่สามบวชเป็นพระได้ แต่ควรจะสำรวม นุ่งห่มให้เหมือนกับพระรูปอื่น ปฏิบัติตามศีลที่กำหนด ก็แทบจะไม่แตกต่างแล้ว ส่วนกรณีเพศหญิงก็สามารถบวชเป็นภิกษุณีได้
นอกจากนี้หลายคนยังมองว่าการที่จะบวชนั้นจำเป็นต้องตัดกิเลสต่าง ๆ ให้สิ้นเสียก่อน โดยเฉพาะเรื่องเพศ ดังนั้น การเป็นพระจึงไม่สามารถเปิดทางให้แสดงออกถึงความหลากหลายทางเพศได้ จึงเกิดคำถามว่าถ้ายังตัดเรื่องทางเพศไม่ได้แล้วจะบวชไปเพื่ออะไร
กลายเป็นประเด็นดราม่า กรณีวันที่ 7 มิถุนายน 2564 ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งออกมาโพสต์ภาพคนโกนหัว โกนคิ้ว แต่งกายเหมือนพระสงฆ์ แต่สวมสังฆาฏิสีรุ้ง ซึ่งเป็นสีที่สื่อถึงความหลากหลายทางเพศ โดยโพสต์ในเนื้อหาเรียกร้องให้ทุกคนต้องบวชได้ มองว่าศาสนาพุทธเปิดโอกาสให้แต่ผู้ชายบวช แต่กีดกันเพศหญิง เลสเบี้ยน เกย์ กะเทย บัณเฑาะก์ ซึ่งการบวชขึ้นอยู่กับศรัทธา ไม่ใช่อวัยวะเพศ
แคมเปญ ทุกคนต้องบวชได้ ไม่ได้หมายความว่าใครจะทำอะไรก็ได้ แต่ทุกคนต้องอยู่ในกฎเดียวกัน ใครทำผิดระเบียบก็ว่าไปตามความผิดรายบุคคล อย่าเหมารวมว่ากลุ่มมีความหลากหลายทางเพศบวชแล้วจะทำให้ศาสนาเสื่อมเสีย มองว่าทุกคนต้องบวชได้ เพราะเป็นสิทธิมนุษยชนที่ทุกคนสามารถเข้าถึงศาสนาได้อย่างเท่าเทียม
นอกจากนี้ในสังคมยังมีความเชื่อว่า การบวชนั้นเป็นการตอบแทนบุญคุณ พ่อแม่ได้เกาะชายผ้าเหลือง หมายถึงการได้ขึ้นสวรรค์ แต่กลับไม่อนุญาตให้กลุ่มมีความหลากหลายทางเพศบวช จึงตั้งคำถามว่าศาสนากำลังกีดกันกลุ่มคนเหล่านี้ในการบวชทดแทนคุณพ่อแม่หรือไม่ ทำไมกลุ่มที่มีความหลากหลายต้องไปทดแทนบุญด้วยวิธีอื่น สรุปทุกวันนี้เราเข้าถึงศาสนาด้วยหัวใจแห่งศรัทธา หรือใช้อวัยวะเพศในการเข้าถึงศรัทธาแห่งศาสนากันแน่
ทั้งนี้ หลังโพสต์ดังกล่าวถูกแชร์ออกไปก็มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่มองว่า เรื่องศาสนานั้นเป็นเรื่องของความเชื่อ ไม่ใช่เรื่องกฎหมาย ความเป็นจริงแล้วก็พบเห็นได้ทั่วไปว่ามีเพศที่สามบวชเป็นพระได้ แต่ควรจะสำรวม นุ่งห่มให้เหมือนกับพระรูปอื่น ปฏิบัติตามศีลที่กำหนด ก็แทบจะไม่แตกต่างแล้ว ส่วนกรณีเพศหญิงก็สามารถบวชเป็นภิกษุณีได้
นอกจากนี้หลายคนยังมองว่าการที่จะบวชนั้นจำเป็นต้องตัดกิเลสต่าง ๆ ให้สิ้นเสียก่อน โดยเฉพาะเรื่องเพศ ดังนั้น การเป็นพระจึงไม่สามารถเปิดทางให้แสดงออกถึงความหลากหลายทางเพศได้ จึงเกิดคำถามว่าถ้ายังตัดเรื่องทางเพศไม่ได้แล้วจะบวชไปเพื่ออะไร