สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยแล้วแสงสีเขียวสว่างวาบ และเสียงระเบิดสนั่นบนท้องฟ้าที่ จ.เชียงใหม่ แท้จริงคือดาวตกชนิดระเบิด พร้อมอธิบายอย่างละเอียด
ภาพจาก เฟซบุ๊ก First Patchaya
วันที่ 22 มิถุนายน 2564 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชี้แจงกรณีมีการแชร์ข้อมูลจำนวนมากในโซเชียลมีเดีย ช่วงเย็นวันที่ 22 มิถุนายน 2564 มีผู้พบเห็นแสงสว่างวาบบนท้องฟ้า สีฟ้าอมเขียว หลังจากนั้นได้ยินเสียงดังสนั่นพร้อมกันในหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือของไทย เขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำปาง ฯลฯ ไม่พบรายงานความเสียหายหรือได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด จากหลักฐานที่รวบรวมได้ คาดว่าอาจเกิดจากดาวตกชนิดระเบิด (Bolide)
โดยนายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สดร. กล่าวว่า ตามที่มีข้อมูลเผยแพร่ทางโซเชียลมีเดีย ช่วงเย็นวันที่ 22 มิถุนายน 2564 เวลาประมาณ 18.30 น. หลายพื้นที่ในจังหวัดทางภาคเหนือ อาทิ เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำปาง มีรายงานผู้พบเห็นแสงสีฟ้าอมเขียว พุ่งจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก หลังจากนั้นได้ยินเสียงระเบิดดังสนั่น เกิดแรงสั่นสะเทือน สร้างความตกใจ อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานและไม่มีรายงานความเสียหาย
จากหลักฐานภาพ และคลิปจากการโพสต์โดยคุณอาลิสา เซยะ ที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เบื้องต้นคาดว่าเป็น ดาวตกชนิดระเบิด โดยปกติแล้วดาวตกที่เข้ามาในชั้นบรรยากาศจะเริ่มเกิดความร้อนสูงจนเกิดการลุกไหม้ที่ความสูงประมาณ 80-120 กิโลเมตร จึงมักจะสูงเกินกว่าที่จะได้ยินเสียง
ภาพจาก อาลิสา เซยะ
อย่างไรก็ตามในบางครั้งดาวตกอาจจะแผ่คลื่นเสียงกระแทก ในลักษณะเดียวกันกับเครื่องบินความเร็วเหนือเสียง ซึ่งสอดคล้องกับรายงานการพบเห็นที่ระบุว่าเห็นแสงวาบก่อนที่จะได้ยินเสียงตามมา ซึ่งระยะเวลาระหว่างการพบเสียงและแสงนั้นจะขึ้นอยู่กับระยะห่างของดาวตกในขณะที่พบเห็น ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าวัตถุดังกล่าวนั้นจะตกลงมาถึงพื้นโลกเป็นอุกกาบาตหรือไม่ ดาวตกส่วนมากที่ตกลงมานั้นจะไหม้หมดไปในชั้นบรรยากาศ
สำหรับอุกกาบาตที่ใหญ่พอจนตกลงมาถึงพื้นโลกได้นั้น มีการประมาณการกันว่ามีอยู่ประมาณ 6,000 ดวงในทุก ๆ ปี แต่ส่วนมากนั้นตกลงในมหาสมุทร หรือพื้นที่ห่างไกล ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์นั้น มีอุกกาบาตเพียงไม่กี่ชิ้นที่มนุษย์สามารถเก็บขึ้นมาได้หลังจากมีผู้พบเห็นเป็นดาวตกอยู่บนท้องฟ้า ในแต่ละวันจะมีอุกกาบาตเข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลกเป็นจำนวนมาก แต่โดยทั่วไปจะไหม้หมดไปตั้งแต่ความสูงนับร้อยกิโลเมตรในชั้นบรรยากาศ ไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจเพราะโอกาสที่จะเกิดอันตรายเป็นไปได้น้อยมาก
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ภาพจาก เฟซบุ๊ก First Patchaya
วันที่ 22 มิถุนายน 2564 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชี้แจงกรณีมีการแชร์ข้อมูลจำนวนมากในโซเชียลมีเดีย ช่วงเย็นวันที่ 22 มิถุนายน 2564 มีผู้พบเห็นแสงสว่างวาบบนท้องฟ้า สีฟ้าอมเขียว หลังจากนั้นได้ยินเสียงดังสนั่นพร้อมกันในหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือของไทย เขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำปาง ฯลฯ ไม่พบรายงานความเสียหายหรือได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด จากหลักฐานที่รวบรวมได้ คาดว่าอาจเกิดจากดาวตกชนิดระเบิด (Bolide)
โดยนายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สดร. กล่าวว่า ตามที่มีข้อมูลเผยแพร่ทางโซเชียลมีเดีย ช่วงเย็นวันที่ 22 มิถุนายน 2564 เวลาประมาณ 18.30 น. หลายพื้นที่ในจังหวัดทางภาคเหนือ อาทิ เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำปาง มีรายงานผู้พบเห็นแสงสีฟ้าอมเขียว พุ่งจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก หลังจากนั้นได้ยินเสียงระเบิดดังสนั่น เกิดแรงสั่นสะเทือน สร้างความตกใจ อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานและไม่มีรายงานความเสียหาย
จากหลักฐานภาพ และคลิปจากการโพสต์โดยคุณอาลิสา เซยะ ที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เบื้องต้นคาดว่าเป็น ดาวตกชนิดระเบิด โดยปกติแล้วดาวตกที่เข้ามาในชั้นบรรยากาศจะเริ่มเกิดความร้อนสูงจนเกิดการลุกไหม้ที่ความสูงประมาณ 80-120 กิโลเมตร จึงมักจะสูงเกินกว่าที่จะได้ยินเสียง
ภาพจาก อาลิสา เซยะ
อย่างไรก็ตามในบางครั้งดาวตกอาจจะแผ่คลื่นเสียงกระแทก ในลักษณะเดียวกันกับเครื่องบินความเร็วเหนือเสียง ซึ่งสอดคล้องกับรายงานการพบเห็นที่ระบุว่าเห็นแสงวาบก่อนที่จะได้ยินเสียงตามมา ซึ่งระยะเวลาระหว่างการพบเสียงและแสงนั้นจะขึ้นอยู่กับระยะห่างของดาวตกในขณะที่พบเห็น ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าวัตถุดังกล่าวนั้นจะตกลงมาถึงพื้นโลกเป็นอุกกาบาตหรือไม่ ดาวตกส่วนมากที่ตกลงมานั้นจะไหม้หมดไปในชั้นบรรยากาศ
สำหรับอุกกาบาตที่ใหญ่พอจนตกลงมาถึงพื้นโลกได้นั้น มีการประมาณการกันว่ามีอยู่ประมาณ 6,000 ดวงในทุก ๆ ปี แต่ส่วนมากนั้นตกลงในมหาสมุทร หรือพื้นที่ห่างไกล ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์นั้น มีอุกกาบาตเพียงไม่กี่ชิ้นที่มนุษย์สามารถเก็บขึ้นมาได้หลังจากมีผู้พบเห็นเป็นดาวตกอยู่บนท้องฟ้า ในแต่ละวันจะมีอุกกาบาตเข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลกเป็นจำนวนมาก แต่โดยทั่วไปจะไหม้หมดไปตั้งแต่ความสูงนับร้อยกิโลเมตรในชั้นบรรยากาศ ไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจเพราะโอกาสที่จะเกิดอันตรายเป็นไปได้น้อยมาก
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ