สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งภูฏาน
เสด็จพระราชดำเนินตามแนวชายแดน บุกป่า ไต่เนินเขา สำรวจมาตรการคุมโควิด
ด้วยพระองค์เอง ภาพแห่งความปลื้มปีติ สะท้อนความห่วงใยประชาชน
ภาพจาก Instagram kingjigmekhesar
วันที่ 27 มิถุนายน 2564 เว็บไซต์มาเธอร์ชิป รายงานว่า สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก
กษัตริย์แห่งภูฏาน พระชนมพรรษา 41 พรรษา
ทรงอุทิศพระวรกายในการประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด
19 ในประเทศ
โดยไม่นานมานี้พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่แนวพรมแดนทางตะวันออกของประเทศ
พร้อมด้วยพระญาติและนายกรัฐมนตรี เพื่อทรงสำรวจมาตรการควบคุมโควิด 19
ตามจุดตรวจและจุดผ่านแดน หลังมีรายงานพบการระบาดหลายครั้งในพื้นที่
สำหรับพระราชกรณียกิจในครั้งนี้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน ที่ผ่านมา สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ฉลองพระองค์ด้วยชุดเดินป่า ทรงสะพายเป้ เสด็จพระราชดำเนินไปยังแนวพรมแดนทางตะวันออกซึ่งมีภูมิประเทศเป็นเนินเขาสูง โดยพื้นที่พรมแดนด้านตะวันออกของภูฏาณส่วนมากอยู่ติดกับรัฐอรุณาจัลประเทศ ของอินเดีย
สำหรับพระราชกรณียกิจในครั้งนี้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน ที่ผ่านมา สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ฉลองพระองค์ด้วยชุดเดินป่า ทรงสะพายเป้ เสด็จพระราชดำเนินไปยังแนวพรมแดนทางตะวันออกซึ่งมีภูมิประเทศเป็นเนินเขาสูง โดยพื้นที่พรมแดนด้านตะวันออกของภูฏาณส่วนมากอยู่ติดกับรัฐอรุณาจัลประเทศ ของอินเดีย
ขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงในสำนักพระราชวังภูฏานยังเผยว่า สิ่งที่พระองค์ทรงหวั่นกลัวมากที่สุดก็คือการระบาดของโรคจะแพร่ไปดั่งไฟลามทุ่งจนกวาดล้างประเทศ
ภาพจาก Instagram kingjigmekhesar
นอกจากการเข้มงวดกวดขันจุดตรวจต่าง ๆ พระองค์ยังทรงทราบถึงผลกระทบจากการปิดพรมแดนที่มีต่อวิถีชีวิตของประชาชนด้วย และยังทรงตรวจเยี่ยมโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ อาทิ โครงการน้ำในเขตแซมดรัป จองตาฮ์
อนึ่ง พระราชกรณียกิจเสร็จสิ้นในวันที่ 18 มิถุนายน โดยพระองค์เสด็จพระราชดำเนินกลับมายังกรุงทิมพู และทรงเข้าสู่กระบวนการกักตัว ตามมาตรการเฝ้าระวังโควิด 19
ด้าน เทนซิง ลัมเซง ประธานสมาคมสื่อแห่งภูฏาน เผยว่า พระราชกรณียกิจครั้งนี้ของพระองค์นับเป็นการเสด็จพระราชดำเนินครั้งล่าสุดจาก ราว 14 - 15 ครั้ง นับตั้งแต่มีรายงานผู้ป่วยโควิด 19 เคสแรกในภูฏาน
สำหรับสถานการณ์โควิด 19 ในประเทศภูฏาน พบว่าทางรัฐบาลได้ดำเนินการจัดสรรวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เข็มแรก ให้แก่ประชาชนถึง 90% แล้ว อย่างไรก็ตาม วัคซีนหลักของภูฏานเป็นวัคซีนที่นำเข้ามาจากอินเดีย ซึ่งขณะนี้ก็เริ่มจะหมดสต็อกลงเนื่องจากสถานการณ์การระบาดในอินเดีย ขณะนี้ทางภูฏานจึงกำลังมองหาแหล่งวัคซีนใหม่ เพื่อให้สามารถดำเนินการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 แก่ประชาชนได้
ภาพจาก Instagram kingjigmekhesar
ภาพจาก Instagram kingjigmekhesar
ภาพจาก Instagram kingjigmekhesar
ภาพจาก Instagram kingjigmekhesar
ภาพจาก Instagram kingjigmekhesar
ภาพจาก Instagram kingjigmekhesar
ภาพจาก Instagram kingjigmekhesar
ขอบคุณข้อมูลจาก มาเธอร์ชิป