รู้จักปลาแสงอาทิตย์ ทั้งรูปลักษณ์ประหลาด ชะตากรรมอาภัพ แต่ยังอยู่รอดมาได้ไง

 
               ไปรู้จักปลาแสงอาทิตย์ หรือ โมลา โมลา พี่ใหญ่ในมหาสมุทรสุดประหลาด ชะตากรรมอาภัพเหมือนถูกกลั่นแกล้ง แต่ยังอยู่รอดมาได้อย่างไร เก่งมาก

รู้จักปลาแสงอาทิตย์

             บางคนอาจเคยเห็นภาพของปลาตัวใหญ่มาก ที่มีหน้าตาและรูปร่างสุดแปลกประหลาดลอยตัวช้า ๆ อยู่ในน้ำ ทั้งปากที่อ้าอยู่ตลอดเวลา และลักษณะของครีบที่ดูแตกต่างจากปลาทั่วไป ทำให้ดูเหมือนว่ามันไม่ใช่ปลาจริง ๆ หรือเป็นตัวการ์ตูนที่ถูกสร้างขึ้นมา แต่แท้จริงแล้ว มันมีชีวิตอยู่จริงในมหาสมุทร ชื่อของมันคือ Ocean Sunfish หรือปลาแสงอาทิตย์

ลักษณะเฉพาะ

            -  ปลาแสงอาทิตย์ หรือที่รู้จักในชื่อทางวิทยาศาตร์ว่า โมลา โมลา (Mola mola) ส่วนใหญ่อาศัยอยู่โดยลำพัง พบได้ในมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก

            - รูปร่างมีลักษณะเป็นทรงกลมแบน มีผิวหนังสีเงิน หยาบ และมีเมือกหนาเหมือนเป็นเกราะหุ้มตัว

            - ปลาแสงอาทิตย์ไม่มีหางทำให้บังคับทิศทางได้แย่ มันว่ายน้ำอย่างเงอะ ๆ งะ ๆ ด้วยครีบหลังและครีบก้น ซึ่งมีลักษณะเป็นครีบเดี่ยวคล้ายกับครีบหาง อยู่ส่วนล่างของลำตัวใกล้กับรูทวาร ทำหน้าที่ช่วยในการทรงตัว

            - ฟันของมันเชื่อมติดกันจนมีลักษณะคล้ายจะงอยปาก จนทำให้ไม่สามารถปิดปากได้สนิท จึงเหมือนกับว่าอ้าปากอยู่ตลอดเวลา

            - ปลาแสงอาทิตย์มีขนาดใหญ่มากถึง 14 ฟุต ในแนวตั้ง และ 10 ฟุต ในแนวนอน ทั้งยังเป็นปลากระดูกแข็งที่หนักที่สุดในโลก มีน้ำหนักมากได้ถึง 2,300 กิโลกรัม

            - ในแง่ของการอนุรักษ์ ปลาแสงอาทิตย์ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (vulnerable)

รู้จักปลาแสงอาทิตย์

พฤติกรรมการใช้ชีวิต

            - ชื่อของปลาแสงอาทิตย์ ได้มาจากนิสัยของมันที่ชอบขึ้นมาลอยอาบแดดรับแสงอาทิตย์ที่ผิวน้ำทะเล จนบางครั้งมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นฉลามและโดนทำร้าย เพราะครีบหลังขนาดใหญ่ที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ

            - ที่ชอบขึ้นมาลอยตะแคงตัวที่ผิวน้ำ ก็เพื่อให้ปลาตัวเล็กหรือนกบางชนิดมาคอยกินปรสิตที่มาคอยกัดติดอยู่ตามตัว และสามารถกระโดดสะบัดตัวเหนือน้ำได้สูงถึง 10 ฟุต เพื่อสลัดปรสิตให้หลุดออก แต่บางครั้งก็ทำให้มันน็อกน้ำ  
            - อาหารของพวกมันส่วนใหญ่คือ แมงกะพรุน รวมทั้งยังกินปลาตัวเล็ก ๆ แพลงก์ตอนสัตว์ และสาหร่ายทะเลหลากหลายชนิด  

            - ปลาแสงอาทิตย์ไม่เป็นอันตรายต่อผู้คน แถมยังเป็นสัตว์ที่อยากรู้อยากเห็นมาก มักจะว่ายเข้าหานักดำน้ำ

การดำรงชีวิตและการสืบพันธุ์

            - สืบพันธุ์ผ่านการวางไข่ โดยที่ตัวเมียจะปล่อยไข่ออกมา และตัวผู้จะปล่อยสเปิร์มเข้าไปปฏิสนธิในเวลาเดียวกัน

            - ปลาแสงอาทิตย์ตัวเมียสามารถผลิตไข่ได้ครั้งละ 300 ล้านฟอง และวางไข่หลายครั้งตลอดอายุขัย แต่ไข่จะไม่ได้รับการดูแล ถูกปล่อยไปตามกระแสน้ำ ทำให้ตัวอ่อนที่ฟักอยู่รอดและเติบโตมาได้เหลือเพียงไม่กี่ตัว

            - ปลาแสงอาทิตย์ตัวใหญ่ไม่น่าห่วง แต่ตัวที่มีขนาดกลางมักจะตกเป็นเหยื่อของนักล่าท้องแห่งทะเล ได้แก่สิงโตทะเล วาฬเพชฌฆาต และฉลามโดยเฉพาะสิงโตทะเลที่ชอบกัดครีบของมันแล้วเอาไปเล่นเหมือนจานร่อน

            - ประชากรที่รอดชีวิตพวกของพวกมันตามธรรมชาติมีน้อยมาก อีกทั้งยังมักถูกจับติดไปกับอวน และสำลักขยะทะล โดยเฉพาะถุงพลาติกที่เหมือนแมงกะพรุน

รู้จักปลาแสงอาทิตย์

รู้จักปลาแสงอาทิตย์

รู้จักปลาแสงอาทิตย์




ขอบคุณข้อมูลจาก
https://oceana.org/marine-life/ocean-fishes/ocean-sunfish
https://www.nationalgeographic.com/animals/fish/facts/ocean-sunfish


 
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
รู้จักปลาแสงอาทิตย์ ทั้งรูปลักษณ์ประหลาด ชะตากรรมอาภัพ แต่ยังอยู่รอดมาได้ไง อัปเดตล่าสุด 10 กรกฎาคม 2564 เวลา 14:55:08 97,798 อ่าน
TOP
x close