คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.กิจการอวกาศ ชี้กฎหมายฉบับนี้จะช่วยให้ประเทศไทยมีความพร้อมและรองรับการสร้างเศรษฐกิจอวกาศ
วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ไทยโพสต์ รายงานว่า นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ที่ประชุม ครม. ได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กิจการอวกาศ พ.ศ.... แล้ว โดยร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ เป็นกฎหมายที่ทันต่อสถานการณ์และรองรับอนาคตของประเทศไทย
ด้วยในปัจจุบันเทคโนโลยีอวกาศมีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอวกาศเกิดขึ้นมากมาย ที่ดำเนินงานโดยหน่วยงานจากภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยหรือแม้แต่ระดับโรงเรียน มีความร่วมมือจากจากภายในประเทศและต่างประเทศ กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ จะส่งผลให้เกิดประโยชน์กับประเทศในวงกว้างทั้งในแง่เศรษฐกิจและสังคม
ทั้งนี้ กฎหมายอวกาศจัดทำขึ้น เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือด้านเทคโนโลยีอวกาศ การดำเนินกิจกรรมอวกาศระหว่างประเทศไทยกับนานาชาติ ให้สามารถดำเนินการได้อย่างสอดคล้องกับกฎกติกา สร้างความเชื่อมั่นของประเทศในระดับสากล และสิ่งสำคัญที่ตามมาคือทำให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีระดับสูงมาสู่บุคลากรภายในประเทศไทย ที่ส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถการลงทุนด้านกิจการอวกาศของประเทศ
ด้านนายปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA กล่าวเสริมว่า กฎหมายฉบับนี้จะช่วยให้ประเทศไทยมีความพร้อมและรองรับการสร้างเศรษฐกิจอวกาศ หรือ New Space Economy หลังจากนี้ร่าง พ.ร.บ.กิจการอวกาศ จะถูกส่งเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฏีกา และการพิจารณาของรัฐสภาก่อนที่จะประกาศบังคับใช้ เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการใช้ประโยชน์จากอวกาศเพื่อพัฒนาประเทศไทยของเรา
ขอบคุณข้อมูลจาก ไทยโพสต์

วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ไทยโพสต์ รายงานว่า นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ที่ประชุม ครม. ได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กิจการอวกาศ พ.ศ.... แล้ว โดยร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ เป็นกฎหมายที่ทันต่อสถานการณ์และรองรับอนาคตของประเทศไทย
ด้วยในปัจจุบันเทคโนโลยีอวกาศมีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอวกาศเกิดขึ้นมากมาย ที่ดำเนินงานโดยหน่วยงานจากภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยหรือแม้แต่ระดับโรงเรียน มีความร่วมมือจากจากภายในประเทศและต่างประเทศ กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ จะส่งผลให้เกิดประโยชน์กับประเทศในวงกว้างทั้งในแง่เศรษฐกิจและสังคม

ทั้งนี้ กฎหมายอวกาศจัดทำขึ้น เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือด้านเทคโนโลยีอวกาศ การดำเนินกิจกรรมอวกาศระหว่างประเทศไทยกับนานาชาติ ให้สามารถดำเนินการได้อย่างสอดคล้องกับกฎกติกา สร้างความเชื่อมั่นของประเทศในระดับสากล และสิ่งสำคัญที่ตามมาคือทำให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีระดับสูงมาสู่บุคลากรภายในประเทศไทย ที่ส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถการลงทุนด้านกิจการอวกาศของประเทศ
ด้านนายปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA กล่าวเสริมว่า กฎหมายฉบับนี้จะช่วยให้ประเทศไทยมีความพร้อมและรองรับการสร้างเศรษฐกิจอวกาศ หรือ New Space Economy หลังจากนี้ร่าง พ.ร.บ.กิจการอวกาศ จะถูกส่งเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฏีกา และการพิจารณาของรัฐสภาก่อนที่จะประกาศบังคับใช้ เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการใช้ประโยชน์จากอวกาศเพื่อพัฒนาประเทศไทยของเรา