ญาติเผยภาพชวนอึ้ง เผาศพหนุ่มเบญจเพสประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต เจอกะโหลกตอกบาร์โค้ดตัวเลขวันเกิด วันตาย ด้าน อาจารย์อ๊อด วิเคราะห์คาดเป็นรอยที่ทำขึ้นหลังเผาแล้ว
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Ärinnisa P Raiñńy
จากกรณีที่ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Ärinnisa P Raiñńy ได้มีการเผยเรื่องราวชวนอึ้ง หลังเก็บกระดูกจากการฌาปนกิจ นายสฐาพร พรแสน อายุ 25 ปี ที่เสียชีวิตภายหลังขับขี่รถจักรยานยนต์ชนท้ายรถเก๋งและถูกรถตู้ทับเสียชีวิต เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2564 โดยผู้โพสต์ระบุว่า "ใครจะเชื่อว่า เรื่องอัศจรรย์นี้ จะเกิดขึ้น กระดูกส่วนหัวมีแบบนี้ ซึ่งสอดคล้องกับ วันเกิด วันตาย เทวดาเขากลับสวรรค์แล้วจริง ๆ เขากำหนดมาแล้ว"
วันที่ 11 สิงหาคม 2564 เดลินิวส์ออนไลน์ รายงานว่า รองศาสตราจารย์ ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์และนักวิชาการสาขาเคมีอินทรีย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือ อาจารย์อ๊อด กล่าวว่า ดูลักษณะจากภาพยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเศษชิ้นส่วนกะโหลกจากการฌาปนกิจหรือไม่ แต่หากวิเคราะห์กันแบบตรงไปตรงมาจะเห็นว่ามีลักษณะรอยกดของตัวเลขลงไป เป็นการกระทำหลังจากที่เกิดการเผาไหม้ มีการใช้แม่พิมพ์กดตัวเลขลงไป เพราะเราดูร่องรอยการฉีกขาด ซึ่งตัวเลขถูกทับรอยลงไป ไม่ใช่ลักษณะที่มีตัวเลขอยู่แล้ว มีการแสตมป์ภายหลัง
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Ärinnisa P Raiñńy
ซึ่งการเกิดตัวเลขแบบนี้เป็นไปได้ยาก ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงหลังจากที่ถูกเผา รอยเหลี่ยมมุมจะต้องถูกเชื้อเพลิงเผาไปบางส่วนบ้าง แต่นี่ดูใหม่และสดค่อนข้างจะมีพิรุธ ซึ่งการตรวจสอบว่าเป็นเนื้อกะโหลกจริงหรือไม่ สามารถทำได้โดยการส่งให้ทางนิติเวชตรวจสอบ
ขอบคุณข้อมูลจาก เดลินิวส์ออนไลน์
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Ärinnisa P Raiñńy
จากกรณีที่ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Ärinnisa P Raiñńy ได้มีการเผยเรื่องราวชวนอึ้ง หลังเก็บกระดูกจากการฌาปนกิจ นายสฐาพร พรแสน อายุ 25 ปี ที่เสียชีวิตภายหลังขับขี่รถจักรยานยนต์ชนท้ายรถเก๋งและถูกรถตู้ทับเสียชีวิต เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2564 โดยผู้โพสต์ระบุว่า "ใครจะเชื่อว่า เรื่องอัศจรรย์นี้ จะเกิดขึ้น กระดูกส่วนหัวมีแบบนี้ ซึ่งสอดคล้องกับ วันเกิด วันตาย เทวดาเขากลับสวรรค์แล้วจริง ๆ เขากำหนดมาแล้ว"
วันที่ 11 สิงหาคม 2564 เดลินิวส์ออนไลน์ รายงานว่า รองศาสตราจารย์ ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์และนักวิชาการสาขาเคมีอินทรีย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือ อาจารย์อ๊อด กล่าวว่า ดูลักษณะจากภาพยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเศษชิ้นส่วนกะโหลกจากการฌาปนกิจหรือไม่ แต่หากวิเคราะห์กันแบบตรงไปตรงมาจะเห็นว่ามีลักษณะรอยกดของตัวเลขลงไป เป็นการกระทำหลังจากที่เกิดการเผาไหม้ มีการใช้แม่พิมพ์กดตัวเลขลงไป เพราะเราดูร่องรอยการฉีกขาด ซึ่งตัวเลขถูกทับรอยลงไป ไม่ใช่ลักษณะที่มีตัวเลขอยู่แล้ว มีการแสตมป์ภายหลัง
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Ärinnisa P Raiñńy
ซึ่งการเกิดตัวเลขแบบนี้เป็นไปได้ยาก ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงหลังจากที่ถูกเผา รอยเหลี่ยมมุมจะต้องถูกเชื้อเพลิงเผาไปบางส่วนบ้าง แต่นี่ดูใหม่และสดค่อนข้างจะมีพิรุธ ซึ่งการตรวจสอบว่าเป็นเนื้อกะโหลกจริงหรือไม่ สามารถทำได้โดยการส่งให้ทางนิติเวชตรวจสอบ
ขอบคุณข้อมูลจาก เดลินิวส์ออนไลน์