มาดามแพม - สามี สุดเสียใจ ตั้งใจไปบริจาคเลือด แต่สภากาชาดไม่รับ LGBT - เปิดคุณสมบัติผู้บริจาค พบมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ไม่รับบริจาคโลหิตอย่างถาวร เหตุเสี่ยง HIV
วันที่ 27 กันยายน 2564 มาดามแพม ช่างแต่งหน้าและบิวตี้บล็อกเกอร์ชื่อดัง ได้มีการโพสต์ข้อความระบุว่า "ช่วงนี้ สภากาชาดขาดเลือด ผมกับเมียตั้งใจไปบริจาคเลือด แล้วทำคลิปช่วยประชาสัมพันธ์ แล้วถึงได้รู้ว่า LGBT อย่าได้ริอ่านไปบริจาคเลือดเชียว เพราะสภากาชาด ยังมีนโยบาย "ไม่รับเลือดจากรักร่วมเพศ" เพราะมองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง เป็นพาหนะนำโรค นี่มันโลกยุคไหนแล้วครับ
โคตรเสียความรู้สึกเลยครับ ขอบใจมาก ผมจะไม่ขอยุ่งเกี่ยวกับสภากาชาดตลอดไป งานอะไรก็ไม่ต้องมาให้ช่วยโปรโมท ถ้าในอนาคตผมต้องการเลือด ผมก็จะหาซื้อเอง ไม่อยากเชื่อว่าองค์กรที่ต้องการเลือดเพื่อช่วยคน ดันทำลายคนบริจาคเลือดด้วยารเหยียดเพศ
เมียผมน้องเดินร้องไห้กลับบ้านทั้ง ๆ ที่อยู่หน้าห้องบริจาค
เพราะอะไร เพราะความผิดที่ไม่ได้ก่อเหรอ ผมไม่เข้าใจ
การรับเลือดของเพศเดียวกันมันคือตราบาปอะไร
ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่สภากาชาดยังเคยขอให้เมียผมช่วยโปรโมตโครงการบริจาคเลือดอยู่เลย
ย้อนแย้งสุด ๆ"
ทั้งนี้ ในเว็บไซต์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ได้มีการระบุคุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต ในข้อ 11 มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ท่านเป็นเพศชายที่เคยมีเพศกับเพศชายสัมพันธ์ ซึ่งอัตราการติดเชื้อเอชไอวี ของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายสูงกว่าประชากรทั่วไปมาก และโอกาสที่จะมีผู้ที่อยู่ในระยะ window period ของการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มนี้สูงกว่าประชากรทั่วไป
(window period คือ ระยะเวลาที่เพิ่งเริ่มติดเชื้อ ในร่างกายยังมีเชื้อจำนวนน้อย ไม่สามารถตรวจพบร่องรอยการติดเชื้อได้ด้วยวิธีทางห้องปฏิบัติการแต่สามารถถ่ายทอดไปยังผู้รับโลหิตได้) ข้อนี้จึงยังเป็นข้อกำหนดไม่รับบริจาคโลหิตอย่างถาวร
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Madampam Makeup by Winlaphat
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Madampam Makeup by Winlaphat
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Madampam Makeup by Winlaphat
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Madampam Makeup by Winlaphat
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
วันที่ 27 กันยายน 2564 มาดามแพม ช่างแต่งหน้าและบิวตี้บล็อกเกอร์ชื่อดัง ได้มีการโพสต์ข้อความระบุว่า "ช่วงนี้ สภากาชาดขาดเลือด ผมกับเมียตั้งใจไปบริจาคเลือด แล้วทำคลิปช่วยประชาสัมพันธ์ แล้วถึงได้รู้ว่า LGBT อย่าได้ริอ่านไปบริจาคเลือดเชียว เพราะสภากาชาด ยังมีนโยบาย "ไม่รับเลือดจากรักร่วมเพศ" เพราะมองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง เป็นพาหนะนำโรค นี่มันโลกยุคไหนแล้วครับ
โคตรเสียความรู้สึกเลยครับ ขอบใจมาก ผมจะไม่ขอยุ่งเกี่ยวกับสภากาชาดตลอดไป งานอะไรก็ไม่ต้องมาให้ช่วยโปรโมท ถ้าในอนาคตผมต้องการเลือด ผมก็จะหาซื้อเอง ไม่อยากเชื่อว่าองค์กรที่ต้องการเลือดเพื่อช่วยคน ดันทำลายคนบริจาคเลือดด้วยารเหยียดเพศ
ทั้งนี้ ในเว็บไซต์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ได้มีการระบุคุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต ในข้อ 11 มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ท่านเป็นเพศชายที่เคยมีเพศกับเพศชายสัมพันธ์ ซึ่งอัตราการติดเชื้อเอชไอวี ของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายสูงกว่าประชากรทั่วไปมาก และโอกาสที่จะมีผู้ที่อยู่ในระยะ window period ของการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มนี้สูงกว่าประชากรทั่วไป
(window period คือ ระยะเวลาที่เพิ่งเริ่มติดเชื้อ ในร่างกายยังมีเชื้อจำนวนน้อย ไม่สามารถตรวจพบร่องรอยการติดเชื้อได้ด้วยวิธีทางห้องปฏิบัติการแต่สามารถถ่ายทอดไปยังผู้รับโลหิตได้) ข้อนี้จึงยังเป็นข้อกำหนดไม่รับบริจาคโลหิตอย่างถาวร
ต่อมาได้มีการระบุเพิ่มเติมว่า "ขยายความ หลังใจเย็น จากที่ได้ข้อมูลมาทั้งหมดทั้งคอมเมนต์และเสาะหาเพิ่มเติม ถึงได้รู้ว่ากดการไม่รับเลือดจากรักร่วมเพศ มิได้เกิดขึ้นที่ประเทศไทยประเทศเดียว แต่เป็นกฎสากลที่ทั้งโลกใช้ร่วมกันครับ ซึ่งเรามั่นใจว่าเลือดของเราปลอดภัย เรามองแต่ตัวเอง แต่ไม่ได้มองความลำบากใจของทางสภากาชาดไทย จึงทำให้รู้ว่าทางหน่วยงานไม่ได้เหยียดเพศ แต่มันเป็นกฎที่เขาต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดครับ
ถึงแม้จะมีบางประเทศที่เลิกใช้ความเป็นรักร่วมเพศคัดคุณภาพเลือดแล้ว ผมหวังว่าสักวันนึงประเทศไทย ไม่ใช่สิ สภากาชาดไทยจะมองว่า ทุกเพศก็มีความเสี่ยงเท่าเทียมกันหมด และ หาวิธีให้กลุ่ม LGBT ได้ช่วยเหลือผู้ป่วยที่ต้องการเลือดเทียบเท่ากับชายจริงหญิงแท้ครับ
ดังนั้นถ้าใครมีกำลังและอยากบริจาคเลือด หากไม่มีความเสี่ยง ไม่มีโรคประจำตัว และไม่ได้เป็นรักร่วมเพศ ก็ไปบริจาคเลือดเถอะครับ เพราะก็มีหลายเคสที่รอดชีวิตได้เนื่องจากได้รับเลือดบริจาคครับ ส่วนโพสต์ที่ผมพิมพ์ด้วยอารมณ์ ผมจะไม่ลบหรือแก้ไขใดใดทั้งสิ้น เพื่อเตือนตนให้เป็นบทเรียนว่าอย่าเอาอารมณ์ของตัวเองเป็นที่ตั้ง และเผื่อเวลาไว้สำหรับรับฟังเหตุผลของผู้อื่นครับ"
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Madampam Makeup by Winlaphat
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Madampam Makeup by Winlaphat
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Madampam Makeup by Winlaphat
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Madampam Makeup by Winlaphat
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย