ปริญญาโท (Masters Degree)
หลักสูตรมหาบัณฑิตที่จะต้องเรียนจบปริญญาตรีเสียก่อน มุ่งเน้นการให้ความรู้ ทักษะ และความชำนาญหรือภาพรวมระดับสูง (High-Order Overview) ในแต่ละสาขา ใช้เวลาเรียนประมาณ 1-3 ปี
สำหรับผู้ได้รับวุฒิปริญญาโท ถือว่ามีความรู้ในหัวข้อทฤษฎีและประยุกต์กลุ่มชำนาญพิเศษ มีทักษะการวิเคราะห์ การประเมินเชิงวิจารณ์หรือการประยุกต์ทางวิชาชีพระดับสูง และความสามารถแก้ไขปัญหาซับซ้อนและคิดอย่างเคร่งครัดและเป็นอิสระ ซึ่งหลักสูตรที่นิยมเรียน เช่น บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (M.B.A.) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (M.A.) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (M.S.) วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (B.Eng.) เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต (M.Econ.) เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
-
ปริญญาโทด้านการวิจัย (Research Master’s Degrees) เน้นด้านวิชาการและการวิจัยประยุกต์
-
ปริญญาโทมืออาชีพ (Professional Master’s Degrees) เน้นสำหรับการทำงานอย่างมืออาชีพ
-
ปริญญาโทแบบ Terminal (Terminal Master’s Degrees) เป็นการศึกษาสูงสุดในสาขาของตน อาจเป็นก้าวแรกสู่ปริญญาเอก
ปริญญาเอก (Doctoral Degree)
ปริญญาโทควบเอก เรียกได้หลายแบบทั้งหลักสูตรปริญญาโทร่วมและปริญญาเอก (Joint Master’s and PhD. Programs) หรือหลักสูตรสองปริญญา (Dual Degree Programs, Combined Degree Programs) เป็นหลักสูตรที่เสนอทางเลือกในการเรียนโดยสามารถนับหน่วยกิตที่ได้รับเป็นสองเท่า เพื่อให้จบทั้งปริญญาโทและเอกพร้อม ๆ กัน สามารถผสมผสานสาขาวิชาที่สนใจได้ด้วยตัวเอง จะไปในทิศทางเดียวกันหรือแตกต่างกันไปเลยก็ได้ รวมถึงปรับแต่งแผนการเรียนต่าง ๆ ด้วยตัวเอง มีอิสระ สามารถค้นคว้าข้อมูล ทำวิจัยในระดับวิชาการสูงสุด หรือขอคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษาได้อย่างใกล้ชิด ซึ่งการเรียนปริญญาโทควบเอก นับว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เริ่มเป็นที่นิยม เพราะใช้เวลาน้อยกว่าจากเดิม
ข้อดีของการเรียนหลักสูตรนี้คือ ประหยัดเงินทุนในระยะยาว เพราะใช้เวลาในการเรียนสั้นกว่าการเรียนปริญญาทีละใบ ประหยัดเวลาในการเรียนได้อย่างน้อย 1-2 ปี เพิ่มโอกาสในการสร้างเครือข่ายหรือผู้คนในแวดวงที่มีความสนใจเดียวกัน เช่น นักธุรกิจ นักวิจัย หรืออาจารย์ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่ออาชีพการทำงาน
ส่วนข้อเสียคือ อาจเสียโอกาสในการเริ่มต้นทำงานในช่วงต้น เนื่องจากต้องตั้งใจเรียนมากกว่าปกติ ไม่มีเวลาทำงานประจำหรืองานพิเศษ ทำให้ต้องออกจากงานมาเพื่อโฟกัสให้กับเรื่องการเรียนโดยเฉพาะ
1. สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC)
สำหรับหลักสูตรปริญญาโทควบเอกที่ VISTEC ในแต่ละสาขาวิชาจะเป็นหลักสูตรนานาชาติ เน้นด้านวิทยาศาสตร์และการวิจัย ใช้ระยะเวลาในการเรียน 5 ปี นิสิตจะสามารถทำงานวิจัยเชิงลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้และคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ มีคณาจารย์ที่เพียบพร้อมด้วยความสามารถและคุณวุฒิ พร้อมทั้งเครื่องมือวิจัยและห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย ซึ่งทางสถาบันจะมีทุนการศึกษาให้ทั้งหมด แบบไม่มีข้อผูกมัด สนับสนุนค่าใช้จ่ายรายเดือน รวมถึงมีทุนเรียนต่อและทำงานวิจัยในต่างประเทศอีกด้วย โดยทั้งหมดมีดังนี้
-
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ สำนักวิชาวิทยาการโมเลกุล
-
สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี สำนักวิชาวิทยาการพลังงาน
-
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมชีวโมเลกุล สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมชีวโมเลกุล
-
สาขาวิชาวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
นอกจากจะเพียบพร้อมไปด้วยหลักสูตรและการเรียนการสอนที่เข้มข้นแล้ว VISTEC ยังมีสภาพแวดล้อมที่ดี โอบล้อมด้วยขุนเขา อยู่ท่ามกลางธรรมชาติภายในวังจันทร์วัลเลย์ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิทยสิริเมธี หรือโทร. สอบถามได้ที่เบอร์ 0-3301-4116
2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดตั้งบัณฑิตมหาวิทยาลัยและเปิดสอนระดับปริญญาโทและปริญญาเอกอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 เพื่อสร้างและขยายความสามารถด้านการผลิตอาจารย์ประจำที่มีมาตรฐานทางวิชาการให้เหมาะสมในประเทศกว่า 100 หลักสูตร ซึ่งรวมถึงปริญญาโทควบเอกด้านวิทยาศาสตร์ที่ผู้เรียนที่จบปริญญาตรีสามารถศึกษาต่อได้ทันที อาทิ
-
หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (นานาชาติ) สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์และชีวเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสาขาวิชาเวชศาสตร์คลินิก
-
หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (นานาชาติ) สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาธรณีวิทยา สาขาจุลชีววิทยา สาขาฟิสิกส์ และสาขาวิชาชีวสารสนเทศศาสตร์และชีววิทยาเชิงคอมพิวเตอร์ (สหสาขาวิชา)
3. มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาหลักสูตรและระบบการศึกษาอย่างต่อเนื่องทั้งปริญญาโทและปริญญาเอก รวมถึงมีคณาจารย์และบุคลากรอุดมไปด้วยคุณภาพ มีประสบการณ์ และสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการศึกษาและวิจัยในสาขาวิชาที่ต้องการ ตัวอย่างหลักสูตรที่เปิดสอนในหลักสูตรโทควบเอก อาทิ
-
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นานาชาติ) สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์และชีววิทยาโครงสร้าง จุลชีววิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกัน พยาธิชีววิทยา เภสัชวิทยา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ สรีรวิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ ฟิสิกส์ พิษวิทยา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ และเคมี
-
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นานาชาติ) สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ และสาขาวิชาวิศวกรรมเคมีบูรณาการ
ขอบคุณข้อมูลจาก
accreditedschoolsonline.org, successcds.net, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สถาบันวิทยสิริเมธี, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล