ชะตากรรมผู้พากษา - อัยการหญิงอัฟกัน จากผู้สั่งฟ้องเอาผิดอาชญากร ทรงอิทธิพลในการรักษาความยุติ ต้องหลบซ่อน - ปิดบังตัวตน หลังตอลิบานเรืองอำนาจ ชี้ถูกคุกคามหนัก ยึดทรัพย์คนที่ลี้ภัย ญาติพี่น้องถูกคุกคาม

วันที่ 6 ตุลาคม 2564 สำนักข่าวบีบีซี นำเสนอรายงานสะท้อนภาพชะตากรรมของเหล่าผู้พิพากษาและอัยการหญิงชาวอัฟกานิสถาน ที่ชีวิตมีอันต้องพลิกผันในเวลาเพียงไม่นานหลังจากกลุ่มตอลิบานเข้ายึดครองประเทศ เปลี่ยนสถานะของพวกเธอจากผู้ธำรงไว้ซึ่งกฎหมายและความยุติธรรม ให้ต้องหลบซ่อนตัวและหลีกหนีจากความเสี่ยงที่จะถูกเหล่าอาชญากรตามล้างแค้น
หนึ่งในผู้ที่ต้องเผชิญชะตากรรมดังกล่าวก็คือ อัยการหญิงวัย 27 ปี ที่ใช้นามแฝงว่า "ฟาริชตา" โดยจนถึงเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา เธอเป็นอัยการหญิงผู้ทรงอิทธิพล ที่เคยส่งฟ้องและดำเนินคดีเหล่าอาชญากร กลุ่มนักรบตอลิบาน ข้าราชการทุจริต และผู้ชายที่ทุบตีสตรีกับเด็ก มาเป็นจำนวนมาก แต่ในตอนนี้ฟาริชตากลับต้องซ่อนตัวและเปลี่ยนที่อยู่บ่อยครั้ง ราวนักโทษหนีคดี
ฟาริชตา ซึ่งมาจากจังหวัดทางตะวันออกเฉียงใต้ของอัฟกานิสถาน เป็นหนึ่งในกลุ่มหญิงอัฟกันที่ประสบความสำเร็จในอาชีพการงาน เธอทำงานที่มีความท้าทายในสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ จนเมื่อ 5 ปีก่อน ในที่สุดเธอก็ได้กลายเป็นหนึ่งในอัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุดของอัฟกานิสถาน
ส่วนหนึ่งในงานของเธอก็คือการสั่งฟ้องและตัดสินโทษอาชญากรที่ก่อเหตุข่มขืน ฆาตกรรม และความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งแม้จะเป็นงานที่มีความท้าทายแต่เธอก็พึงพอใจกับงานนี้
จนกระทั่งเมื่อกลุ่มตอลิบานเข้ายึดกรุงคาบูลและยึดอำนาจปกครองประเทศมาไว้ในมือ ทางกลุ่มก็ได้ปลดปล่อยนักโทษหลายพันชีวิต ทั้งอาชญากรคดีรุนแรงและกลุ่มนักรบอิสลาม ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ โมฮัมหมัด กอล ผู้วางแผนก่อเหตุระเบิดฆ่าตัวตาย ที่ถูกฟาริชตารวบรวมหลักฐานจนสามารถสั่งฟ้องและต้องรับโทษจำคุกนาน 20 ปี
ฟาริชตาเผยว่า ไม่กี่วันหลังจากที่ตอลิบานยึดกรุงคาบูล โมฮัมหมัด กอล ก็โทร. มาหาเธอ "เขาบอกว่าจะตามล่าฉันเพื่อล้างแค้น ฉันไม่มีที่ไหนให้ซ่อนตัวได้"
นับจากนั้นฟาริชตาก็ต้องย้ายหนี แต่ก็เป็นไปด้วยความยากลำบากเมื่อเธอต้องทำสิ่งต่าง ๆ โดยไร้รายได้
![ชะตากรรมอัยการหญิงอัฟกันหลังตาลีบันเรืองอำนาจ ชะตากรรมอัยการหญิงอัฟกันหลังตาลีบันเรืองอำนาจ]()
ภาพจาก kursat-bayhan / Shutterstock.com
ฟาริชตาและเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ เผยว่า ตอลิบานนั้นต่อต้านเรื่องที่จะมีผู้หญิงทำงานเป็นอัยการและผู้พิพากษา พวกนั้นต้องการกีดกันพวกเธอออกไป
ทั้งนี้ พบว่าในเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีผู้พิพากษาหญิง 2 รายจากศาลสูงสุดของอัฟกานิสถานถูกสังหารในกรุงคาบูล และไม่นานมานี้ก็มีเจ้าหน้าที่หญิง 2 รายที่ทำงานในกระทรวงยุติธรรมของอัฟกานิสถาน ถูกสังหารเช่นกัน โดยในเคสหลังเชื่อว่าเป็นการก่อเหตุล้างแค้น
นับตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ผู้พิพากษาหญิงหลายร้อยชีวิตต้องพากันหลบซ่อนตัว หลายคนพยายามดิ้นรนเพื่อหนีออกนอกประเทศ ในช่วงที่สหรัฐฯ กำลังขนย้ายพลเมืองอเมริกันออกนอกอัฟกานิสถาน ซึ่งก็มีเพียงบางส่วนที่ลี้ภัยออกไปได้ ในขณะที่คนอื่น ๆ ถูกทิ้งให้เผชิญชะตากรรมในประเทศ
ผู้พิพากษาหญิงรายหนึ่ง ซึ่งขณะนี้ลี้ภัยไปอยู่ในอังกฤษได้แล้ว เปิดใจว่า ตัวเธอเองก็ได้รับโทรศัพท์และคำข่มขู่หลายครั้ง ทั้งจากตอลิบานและสมาชิกที่เกี่ยวข้อง ในตอนนั้นบ้านและทรัพย์สินของเธอทั้งหมดในอัฟกานิสถานถูกยึด และญาติ ๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะถูกกลุ่มอิสลามคุกคาม
ขณะนี้ยังเหลือผู้พิพากษาหญิงอัฟกันอีก 230 คน ที่ติดอยู่ในอัฟกานิสถานและต้องซ่อนตัว โดยพบว่าที่อยู่เก่าของพวกเธอถูกบุกรื้อค้น ญาติพี่น้องถูกคุกคาม อาชีพของพวกเธอมาถึงจุดสิ้นสุด และบัญชีธนาคารยังถูกระงับ โดย อนิษา ธันจิ ตัวแทนของสมาคมผู้พิพากษาหญิงนานาชาติ ยอมรับว่า อนาคตของพวกเธอเหล่านั้นในฐานะผู้หญิงที่อัฟกานิสถาน ย่ำแย่มาก
ขอบคุณข้อมูลจาก BBC

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
วันที่ 6 ตุลาคม 2564 สำนักข่าวบีบีซี นำเสนอรายงานสะท้อนภาพชะตากรรมของเหล่าผู้พิพากษาและอัยการหญิงชาวอัฟกานิสถาน ที่ชีวิตมีอันต้องพลิกผันในเวลาเพียงไม่นานหลังจากกลุ่มตอลิบานเข้ายึดครองประเทศ เปลี่ยนสถานะของพวกเธอจากผู้ธำรงไว้ซึ่งกฎหมายและความยุติธรรม ให้ต้องหลบซ่อนตัวและหลีกหนีจากความเสี่ยงที่จะถูกเหล่าอาชญากรตามล้างแค้น
หนึ่งในผู้ที่ต้องเผชิญชะตากรรมดังกล่าวก็คือ อัยการหญิงวัย 27 ปี ที่ใช้นามแฝงว่า "ฟาริชตา" โดยจนถึงเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา เธอเป็นอัยการหญิงผู้ทรงอิทธิพล ที่เคยส่งฟ้องและดำเนินคดีเหล่าอาชญากร กลุ่มนักรบตอลิบาน ข้าราชการทุจริต และผู้ชายที่ทุบตีสตรีกับเด็ก มาเป็นจำนวนมาก แต่ในตอนนี้ฟาริชตากลับต้องซ่อนตัวและเปลี่ยนที่อยู่บ่อยครั้ง ราวนักโทษหนีคดี
จากผู้รักษากฎหมาย ต้องหลบหนีการล้างแค้น
ฟาริชตา ซึ่งมาจากจังหวัดทางตะวันออกเฉียงใต้ของอัฟกานิสถาน เป็นหนึ่งในกลุ่มหญิงอัฟกันที่ประสบความสำเร็จในอาชีพการงาน เธอทำงานที่มีความท้าทายในสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ จนเมื่อ 5 ปีก่อน ในที่สุดเธอก็ได้กลายเป็นหนึ่งในอัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุดของอัฟกานิสถาน
ส่วนหนึ่งในงานของเธอก็คือการสั่งฟ้องและตัดสินโทษอาชญากรที่ก่อเหตุข่มขืน ฆาตกรรม และความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งแม้จะเป็นงานที่มีความท้าทายแต่เธอก็พึงพอใจกับงานนี้
จนกระทั่งเมื่อกลุ่มตอลิบานเข้ายึดกรุงคาบูลและยึดอำนาจปกครองประเทศมาไว้ในมือ ทางกลุ่มก็ได้ปลดปล่อยนักโทษหลายพันชีวิต ทั้งอาชญากรคดีรุนแรงและกลุ่มนักรบอิสลาม ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ โมฮัมหมัด กอล ผู้วางแผนก่อเหตุระเบิดฆ่าตัวตาย ที่ถูกฟาริชตารวบรวมหลักฐานจนสามารถสั่งฟ้องและต้องรับโทษจำคุกนาน 20 ปี
ฟาริชตาเผยว่า ไม่กี่วันหลังจากที่ตอลิบานยึดกรุงคาบูล โมฮัมหมัด กอล ก็โทร. มาหาเธอ "เขาบอกว่าจะตามล่าฉันเพื่อล้างแค้น ฉันไม่มีที่ไหนให้ซ่อนตัวได้"
นับจากนั้นฟาริชตาก็ต้องย้ายหนี แต่ก็เป็นไปด้วยความยากลำบากเมื่อเธอต้องทำสิ่งต่าง ๆ โดยไร้รายได้

ภาพจาก kursat-bayhan / Shutterstock.com
อาชีพที่สตรีถูกกีดกัน
ฟาริชตาและเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ เผยว่า ตอลิบานนั้นต่อต้านเรื่องที่จะมีผู้หญิงทำงานเป็นอัยการและผู้พิพากษา พวกนั้นต้องการกีดกันพวกเธอออกไป
ทั้งนี้ พบว่าในเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีผู้พิพากษาหญิง 2 รายจากศาลสูงสุดของอัฟกานิสถานถูกสังหารในกรุงคาบูล และไม่นานมานี้ก็มีเจ้าหน้าที่หญิง 2 รายที่ทำงานในกระทรวงยุติธรรมของอัฟกานิสถาน ถูกสังหารเช่นกัน โดยในเคสหลังเชื่อว่าเป็นการก่อเหตุล้างแค้น
ผู้พิพากษาหญิง แห่ลี้ภัย
นับตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ผู้พิพากษาหญิงหลายร้อยชีวิตต้องพากันหลบซ่อนตัว หลายคนพยายามดิ้นรนเพื่อหนีออกนอกประเทศ ในช่วงที่สหรัฐฯ กำลังขนย้ายพลเมืองอเมริกันออกนอกอัฟกานิสถาน ซึ่งก็มีเพียงบางส่วนที่ลี้ภัยออกไปได้ ในขณะที่คนอื่น ๆ ถูกทิ้งให้เผชิญชะตากรรมในประเทศ
ผู้พิพากษาหญิงรายหนึ่ง ซึ่งขณะนี้ลี้ภัยไปอยู่ในอังกฤษได้แล้ว เปิดใจว่า ตัวเธอเองก็ได้รับโทรศัพท์และคำข่มขู่หลายครั้ง ทั้งจากตอลิบานและสมาชิกที่เกี่ยวข้อง ในตอนนั้นบ้านและทรัพย์สินของเธอทั้งหมดในอัฟกานิสถานถูกยึด และญาติ ๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะถูกกลุ่มอิสลามคุกคาม
ขณะนี้ยังเหลือผู้พิพากษาหญิงอัฟกันอีก 230 คน ที่ติดอยู่ในอัฟกานิสถานและต้องซ่อนตัว โดยพบว่าที่อยู่เก่าของพวกเธอถูกบุกรื้อค้น ญาติพี่น้องถูกคุกคาม อาชีพของพวกเธอมาถึงจุดสิ้นสุด และบัญชีธนาคารยังถูกระงับ โดย อนิษา ธันจิ ตัวแทนของสมาคมผู้พิพากษาหญิงนานาชาติ ยอมรับว่า อนาคตของพวกเธอเหล่านั้นในฐานะผู้หญิงที่อัฟกานิสถาน ย่ำแย่มาก