#เรียกเงินคืนโครงการรัฐ ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ ร้านค้าถูกจดหมายเรียกเงินคืน หลังทำผิดกฎสแกนจ่ายเงินออนไลน์ข้ามจังหวัด - รับแลกเงินในเป๋าตัง ทำผิดครั้งเดียวคืนเงินทั้งหมด โดนกันหลักแสนถึงหลักล้าน
วันที่ 10 ตุลาคม 2564 กลายเป็นแฮชแท็กโด่งดังติดอันดับ 3 ในทวิตเตอร์ไปแล้ว สำหรับเรื่อง #เรียกเงินคืนโครงการรัฐ ที่หลายคนออกมาบ่นกันว่า ทางรัฐบาลได้เริ่มติดต่อร้านค้าไปเพื่อเรียกเงินคืน หลังจากที่อัดฉีดเงินเข้าโครงการอย่าง เราชนะ, โครงคนละครึ่ง, ม.33 เรารักกัน และมีการอ้างว่า ไม่ใช่เฉพาะร้านค้าที่ถูกเรียกเงินคืน แต่ยังหมายถึงประชาชนทั่วไปที่อีกด้วย
ร้านค้าโดนเอกสาร จากรัฐ ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ของโครงการ ถ้าไม่โต้แย้งต้องจ่ายเงินคืน
ทั้งนี้ มีผู้ใช้ทวิตเตอร์หลายรายโพสต์เอกสารการเรียกเงินคืนของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ เช่น โครงการเราชนะ โครงการคนละครึ่ง พร้อมกับระบุเหตุผลลงไปในเอกสารว่า เป็นเพราะทางร้าน มีพฤติกรรมที่เข้าข่ายไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนเงื่อนไขโครงการ และข้อเท็จจริงที่ท่านชี้แจง ไม่สอดคล้องกับธุรกรรมการรับชำระเงินของโครงการ จึงขอให้คืนเงินที่ได้รับจากโครงการภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ได้รับหนังสือฉบับนี้
โดยมีหลายคนที่มาโพสต์หนังสือที่ได้รับ เป็นหนังสือตราครุฑ ประทับตรายาง พร้อมกับลายเซ็นกำกับ จึงคาดว่าไม่น่าใช่เอกสารปลอม โดยจำนวนที่เรียกเก็บนั้น มีตั้งแต่หลักแสนบาท จนถึงหลักล้านบาท และมีข่าวว่า บางคนโดนไปแล้วกว่า 17 ล้านบาท
จากนั้น ในเอกสารดังกล่าวได้ระบุวิธีการคืนเงินผ่านทางแอปฯ ธนาคาร แต่หากไม่เห็นด้วย ร้านค้าสามารถอุทธรณ์ได้ภายใน 15 วัน
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเข้าร่วมโครงการจากทางภาครัฐ ทางโครงการได้มีข้อตกลงว่า หากตรวจสอบพบทุจริต จะมีการเรียกเงินคืนทั้งหมดบัญชี ไม่ใช่เพียงแค่เฉพาะรายการที่ทำทุจริตเท่านั้น
คาดสาเหตุที่โดนเรียกคืน เพราะทำผิดเงื่อนไข รับแลกโครงการเราชนะ-คนละครึ่ง เป็นเงินสด
ทั้งนี้ สำหรับสาเหตุที่ทำให้ร้านเหล่านี้ได้รับหนังสือ ชาวเน็ตวิเคราะห์ว่า อาจจะทำผิดเงื่อนไขในเรื่องการรับแลกเงินในเป๋าตังเป็นเงินสด หรือบางคนใช้โครงการนี้เข้าร่วมกับออนไลน์ (คนที่ซื้อสินค้าอยู่จังหวัดหนึ่ง แต่ไปสแกนที่อีกจังหวัดหนึ่ง) ทั้งที่มีกฎห้าม แถมจำนวนที่เรียกเงินคืนนั้นก็ค่อนข้างน่าสะพรึง เพราะโดนกันหลักแสนหลักล้าน สูงสุดเท่าที่เห็นในเอกสารคือ 3.5 ล้าน แต่มีข่าวลือกันแบบไม่เห็นเอกสารว่า บางคนโดนไป 17 ล้านและต้องคืนเงินทุกบาทภายใน 30 วัน
นอกจากนี้ เมื่อแม่ค้าบางคนถูกเรียกเงินคืนในจำนวนที่สูงขนาดนี้ ก็เริ่มที่จะมีการไล่ให้ไปเรียกเงินจากลูกค้า ในฐานะผู้สมรู้ร่วมคิด
อีกด้านโลกออนไลน์ คนต้องการเงินสดซื้อของมากกว่า - ทำให้ยุ่งยากตั้งแต่แรก จะมาเรียกคืนตอนนี้ทำไม
อย่างไรก็ตาม อีกมุมหนึ่งชาวเน็ตก็มองว่า หากไม่ได้ทำผิดจริงก็น่าจะยื่นอุทธรณ์ได้ เพราะมีกฎให้ยื่นอุทธรณ์ภายใน 15 วัน รวมถึงมีการเรียกเงินคืนในจำนวนที่มากไป โดยที่ไม่มองว่ามีธุรกรรมไหนบ้างที่ผิด แต่หากปิดครั้งเดียวจะเรียกเงินคืนทุกธุรกรรม คนตัวเล็กตัวน้อยเจอแบบนี้ก็แทบสิ้นเนื้อประดาตัว
นอกจากนี้ ยังเกิดการตั้งคำถามถึงวิธีการจ่ายเงิน ที่หลายคนต้องการให้แจกเป็นเงินสดแทน เพราะเงินสดนั้นสามารถนำไปใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ ได้ อาทิ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำมันรถ และพ่อค้าแม่ค้าบางคน ก็โดนเรียกเก็บคืนเพราะช่วงที่แจกเงินนั้น เป็นช่วงโควิด และต้องใช้ช่องทางออนไลน์ในการขายสินค้า ร้านค้าออนไลน์ส่วนใหญ่ก็ผิดกฎด้วยการรับคนละครึ่ง หากทางร้านไม่ทำก็จะอยู่ไม่ได้ จะพึ่งพาเฉพาะหน้าร้านอย่างเดียวก็ไม่ได้
ส่วนในตอนนี้ ทางธนาคารกรุงไทยยังไม่มีการชี้แจงในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
ภาพจาก NOTE OMG / Shutterstock.com
วันที่ 10 ตุลาคม 2564 กลายเป็นแฮชแท็กโด่งดังติดอันดับ 3 ในทวิตเตอร์ไปแล้ว สำหรับเรื่อง #เรียกเงินคืนโครงการรัฐ ที่หลายคนออกมาบ่นกันว่า ทางรัฐบาลได้เริ่มติดต่อร้านค้าไปเพื่อเรียกเงินคืน หลังจากที่อัดฉีดเงินเข้าโครงการอย่าง เราชนะ, โครงคนละครึ่ง, ม.33 เรารักกัน และมีการอ้างว่า ไม่ใช่เฉพาะร้านค้าที่ถูกเรียกเงินคืน แต่ยังหมายถึงประชาชนทั่วไปที่อีกด้วย
ร้านค้าโดนเอกสาร จากรัฐ ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ของโครงการ ถ้าไม่โต้แย้งต้องจ่ายเงินคืน
ทั้งนี้ มีผู้ใช้ทวิตเตอร์หลายรายโพสต์เอกสารการเรียกเงินคืนของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ เช่น โครงการเราชนะ โครงการคนละครึ่ง พร้อมกับระบุเหตุผลลงไปในเอกสารว่า เป็นเพราะทางร้าน มีพฤติกรรมที่เข้าข่ายไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนเงื่อนไขโครงการ และข้อเท็จจริงที่ท่านชี้แจง ไม่สอดคล้องกับธุรกรรมการรับชำระเงินของโครงการ จึงขอให้คืนเงินที่ได้รับจากโครงการภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ได้รับหนังสือฉบับนี้
โดยมีหลายคนที่มาโพสต์หนังสือที่ได้รับ เป็นหนังสือตราครุฑ ประทับตรายาง พร้อมกับลายเซ็นกำกับ จึงคาดว่าไม่น่าใช่เอกสารปลอม โดยจำนวนที่เรียกเก็บนั้น มีตั้งแต่หลักแสนบาท จนถึงหลักล้านบาท และมีข่าวว่า บางคนโดนไปแล้วกว่า 17 ล้านบาท
จากนั้น ในเอกสารดังกล่าวได้ระบุวิธีการคืนเงินผ่านทางแอปฯ ธนาคาร แต่หากไม่เห็นด้วย ร้านค้าสามารถอุทธรณ์ได้ภายใน 15 วัน
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเข้าร่วมโครงการจากทางภาครัฐ ทางโครงการได้มีข้อตกลงว่า หากตรวจสอบพบทุจริต จะมีการเรียกเงินคืนทั้งหมดบัญชี ไม่ใช่เพียงแค่เฉพาะรายการที่ทำทุจริตเท่านั้น
คาดสาเหตุที่โดนเรียกคืน เพราะทำผิดเงื่อนไข รับแลกโครงการเราชนะ-คนละครึ่ง เป็นเงินสด
ทั้งนี้ สำหรับสาเหตุที่ทำให้ร้านเหล่านี้ได้รับหนังสือ ชาวเน็ตวิเคราะห์ว่า อาจจะทำผิดเงื่อนไขในเรื่องการรับแลกเงินในเป๋าตังเป็นเงินสด หรือบางคนใช้โครงการนี้เข้าร่วมกับออนไลน์ (คนที่ซื้อสินค้าอยู่จังหวัดหนึ่ง แต่ไปสแกนที่อีกจังหวัดหนึ่ง) ทั้งที่มีกฎห้าม แถมจำนวนที่เรียกเงินคืนนั้นก็ค่อนข้างน่าสะพรึง เพราะโดนกันหลักแสนหลักล้าน สูงสุดเท่าที่เห็นในเอกสารคือ 3.5 ล้าน แต่มีข่าวลือกันแบบไม่เห็นเอกสารว่า บางคนโดนไป 17 ล้านและต้องคืนเงินทุกบาทภายใน 30 วัน
นอกจากนี้ เมื่อแม่ค้าบางคนถูกเรียกเงินคืนในจำนวนที่สูงขนาดนี้ ก็เริ่มที่จะมีการไล่ให้ไปเรียกเงินจากลูกค้า ในฐานะผู้สมรู้ร่วมคิด
อีกด้านโลกออนไลน์ คนต้องการเงินสดซื้อของมากกว่า - ทำให้ยุ่งยากตั้งแต่แรก จะมาเรียกคืนตอนนี้ทำไม
อย่างไรก็ตาม อีกมุมหนึ่งชาวเน็ตก็มองว่า หากไม่ได้ทำผิดจริงก็น่าจะยื่นอุทธรณ์ได้ เพราะมีกฎให้ยื่นอุทธรณ์ภายใน 15 วัน รวมถึงมีการเรียกเงินคืนในจำนวนที่มากไป โดยที่ไม่มองว่ามีธุรกรรมไหนบ้างที่ผิด แต่หากปิดครั้งเดียวจะเรียกเงินคืนทุกธุรกรรม คนตัวเล็กตัวน้อยเจอแบบนี้ก็แทบสิ้นเนื้อประดาตัว
นอกจากนี้ ยังเกิดการตั้งคำถามถึงวิธีการจ่ายเงิน ที่หลายคนต้องการให้แจกเป็นเงินสดแทน เพราะเงินสดนั้นสามารถนำไปใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ ได้ อาทิ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำมันรถ และพ่อค้าแม่ค้าบางคน ก็โดนเรียกเก็บคืนเพราะช่วงที่แจกเงินนั้น เป็นช่วงโควิด และต้องใช้ช่องทางออนไลน์ในการขายสินค้า ร้านค้าออนไลน์ส่วนใหญ่ก็ผิดกฎด้วยการรับคนละครึ่ง หากทางร้านไม่ทำก็จะอยู่ไม่ได้ จะพึ่งพาเฉพาะหน้าร้านอย่างเดียวก็ไม่ได้
ส่วนในตอนนี้ ทางธนาคารกรุงไทยยังไม่มีการชี้แจงในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
ภาพจาก NOTE OMG / Shutterstock.com