x close

พายุจ่อเข้าไทย 3 ลูก 11-18 ต.ค. เตือนทั่วไทยระวังปริมาณน้ำสูงอีก โดยเฉพาะ 7 จังหวัดนี้

        รศ. ดร.เสรี ศุภราทิตย์ เผยจะมีพายุ 3 ลูกเข้าไทยช่วงวันที่ 11 - 18 ตุลาคม นี้ เตือนทุกภาคทั่วไทยเฝ้าระวังปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ที่น้ำยังท่วมอยู่

พายุเข้าไทย

        เมื่อวานนี้ (10 ตุลาคม 2564) รศ. ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำของไทย ได้มีการโพสต์เฟซบุ๊กเตือนพายุเข้าไทยเร็ว ๆ นี้ 3 ลูก คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 11 - 18 ตุลาคม นี้ ซึ่งขอให้ทุกภาคเฝ้าระวังปริมาณน้ำสะสม โดยเฉพาะพื้นที่ จ.อ่างทอง, ลพบุรี, สระบุรี, สุพรรณบุรี, พระนครศรีอยุธยา, ปทุมธานี และนนทบุรี

        โดย รศ. ดร.เสรี กล่าวว่า ตนเองนั้นลงพื้นที่น้ำท่วมภาคกลางมาตลอด  2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ระยะนี้แนวโน้มปริมาณน้ำเหนืออาจจะลดลง ตนค้นพบพฤติกรรมน้ำหลากที่น่าสนใจ กล่าวคือ ปริมาณน้ำเหนือในปีนี้แม้ว่าจะน้อยกว่าปี 2554 เนื่องจากปริมาณฝนสะสมในภาคเหนือน้อยกว่าประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ แต่ระดับน้ำในหลายพื้นที่ยกระดับสูงขึ้นใกล้เคียงกัน หรือมากกว่า อยู่ในระดับอันตรายโดยดัชนีควาเข้มน้ำท่วม (Flood intensity) เป็นไปตาม "ทฤษฎีน้ำล้นแก้ว" ซึ่งเกิดจากการยกระดับถนน และมีการก่อสร้างคันกั้นน้ำ การถมดินสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ การบีบแม่น้ำ ลำคลองหลายสาย การแย่งที่น้ำอยู่ แต่ละเลยการประเมินความเสี่ยง และความรุนแรงของพฤติกรรมน้ำหลากในลุ่มน้ำ

        เมื่อระดับน้ำถูกยกให้สูงขึ้น จึงมีแรงดันสูงขึ้น ส่งผลให้คันกั้นน้ำแตกเกิดปรากฏการณ์ "Domino effect" (อ.ไชโย อ.ปากโมก ต.โผงเผง จ.อ่างทอง อ.บางบาล ระดับน้ำสูงบริเวณเกาะเมือง พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น) เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐกับชุมชน และระหว่างชุมชนด้วยกันเอง

พายุเข้าไทย

เตือนทุกภาคเฝ้าระวังปริมาณน้ำสะสมเพิ่ม โดยเฉพาะท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์


        ทั้งนี้ แล้วจะเกิดอะไรขึ้นจากพายุ 3 ลูกนี้ ได้แก่ Lionrock, Kompasu และ Low pressure/Depression โดยจากการประเมินภาพรวมในลุ่มน้ำเจ้าพระยา พบว่าจะมีปริมาณฝนสะสมเพิ่มขึ้นประมาณ 150 - 200 มม. ตั้งแต่วันที่ 11 - 18 ตุลาคม ซึ่งจะส่งผลให้มีระดับน้ำสูงขึ้น < 0.50 m. ความเสี่ยงจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่มีน้ำเต็มเขื่อน อาจต้องระบายน้ำเพิ่มขึ้น ดังนั้นชุมชนที่อยู่ริมน้ำ หรือที่ท่วมอยู่แล้วจึงต้องเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ โดยเฉพาะพื้นที่ใน จ.อ่างทอง, ลพบุรี, สระบุรี, สุพรรณบุรี, พระนครศรีอยุธยา, ปทุมธานี และนนทบุรี

        แต่จะไม่ส่งผลกระทบต่อคันกั้นน้ำพื้นที่ กทม. (แต่ควรระวังน้ำท่วมรอการระบาย) พื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบสูงสุดที่ป
ริมาณฝนสะสมอาจจะเพิ่มมากกว่า 200 มม. เป็นพื้นที่ภาคตะวันออกฉียงเหนือ ตอนบน ตอนกลาง และตอนล่างประมาณวันที่ 13 - 18 ตุลาคม

        - ภาคตะวันออก ตลอดทั้งสัปดาห์ 10 - 18 ตุลาคม

        - ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ตลอดทั้งสัปดาห์ 10-18 ตุลาคม อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก และขนาดกลางหลายอ่างฯ ที่มีความจุใกล้เต็ม คันกั้นน้ำที่มีความเปราะบางหลายจุด จึงควรต้องเฝ้าระวังสูงสุด





เรื่องที่คุณอาจสนใจ
พายุจ่อเข้าไทย 3 ลูก 11-18 ต.ค. เตือนทั่วไทยระวังปริมาณน้ำสูงอีก โดยเฉพาะ 7 จังหวัดนี้ อัปเดตล่าสุด 11 ตุลาคม 2564 เวลา 13:18:43 25,736 อ่าน
TOP