เว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ โดนแฮกเกอร์โจมตีระบบ ปล่อยเพลงฮิปฮอปอย่างเดือด พร้อมเปลี่ยนชื่อเว็บเป็น Kangaroo court เผยคำนี้แบบนี้มีความหมายว่าอะไร ไม่ใช่ศาลจิงโจ้ !
จากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัยคดีของนายอานนท์ นำภา, ไมค์ ภาณุพงศ์ และ รุ้ง ปนัสยา ในการชุมนุมเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เพื่อเสนอข้อเรียกร้อง 10 ข้อ โดยวินิจฉัยข้อเรียกร้องของม็อบไม่ใช่การปฏิรูปสถาบัน แต่เป็นการล้มล้างการปกครอง ขอให้แกนนำและขบวนการยุติการกระทำ
อ่านข่าว : ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยข้อเรียกร้อง 3 แกนนำ ไม่ใช่ปฏิรูป แต่เป็นล้มล้างการปกครอง !
ภาพจาก constitutionalcourt.or.th
ล่าสุด วันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 เว็บไซต์สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ถึงผู้ไม่หวังดีแฮกเข้าระบบ ซึ่งเมื่อกดเข้า www.constitutionalcourt.or.th พบว่าหน้าเว็บไซต์ถูกเปลี่ยนเป็นหน้ายูทูบ มิวสิกวิดีโอเพลง Guillotine (It Goes Yah) หรือเพลง กิโยตีน ของ Death Grips ซึ่งเป็นศิลปินแนวฮิปฮอป ประเทศสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ แฮกเกอร์ที่เจาะระบบของศาลรัฐธรรมนูญ ยังอัปโหลดหน้าเว็บใหม่ ใช้ชื่อหัวข้อว่า "Kangaroo Court" ซึ่งแปลตรงตัวได้ว่า "ศาลจิงโจ้"
ภาพจาก constitutionalcourt.or.th
จากนั้นเวลา 12.25 น. มีการแก้ไขหน้าเว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ กลับมาเป็นปกติได้สำเร็จ ต่อมา 5 นาทีต่อมา เวลา 12.30 น. ก็ถูกแฮกอีกครั้ง ทำให้ชื่อเว็บไซต์ Kangaroo Court และเพลง Guillotine (It goes Yah) กลับมาปรากฏบนเว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ กระทั่งหน้าเว็บไซต์ถูกปิดไป ไม่สามารถเข้าใช้งานได้
สำหรับในภาษาอังกฤษ Kangaroo Court หรือ Kangaroo trial หมายถึง ศาลที่ละเลยหรือบิดเบือนหลักการทางกฎหมายและความยุติธรรม ตุลาการของศาลเถื่อน นักนิติศาสตร์ไทยเรียกว่า "ยุติธรรมกำมะลอ" (Mock justice) หรือ ศาลเตี้ย
ภาพจาก constitutionalcourt.or.th
คำว่า Kangaroo court ไม่ได้มีที่มาจากประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของจิงโจ้ แต่มีการใช้ครั้งแรกในการขุดทองที่แคลิฟอร์เนีย ปี พ.ศ. 2396 ครั้งนั้นเรียกว่า Mustang court หรือ ศาลม้าเถื่อน เพราะเหตุการณ์ครั้งนั้น ศาลตัดสินอย่างรีบเร่งเหมือนม้าเถื่อนกระโดด และต่อมาก็เปรียบเป็นการกระโดดของจิงโจ้
ตัวอย่างศาลเถื่อนในประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียที่สุด ได้แก่ ศาลเถื่อนของ โจเซฟ สตาลิน ผู้นำทหารเผด็จการ ซึ่งโจเซฟตั้งขึ้นเพื่อใช้กำจัดศัตรูทางการเมืองของตนที่เรียกเองว่าเป็นศัตรูของประชาชน เหตุการณ์นี้ได้ชื่อว่า การกวาดล้างใหญ่ และศาลประชาชนของ โรลันด์ ไฟรซเลอร์ รัฐบาลนาซี ที่ตั้งขึ้นเพื่อใช้กำจัดศัตรูของลัทธินาซี
ภาพจาก constitutionalcourt.or.th
ภาพจาก constitutionalcourt.or.th
จากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัยคดีของนายอานนท์ นำภา, ไมค์ ภาณุพงศ์ และ รุ้ง ปนัสยา ในการชุมนุมเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เพื่อเสนอข้อเรียกร้อง 10 ข้อ โดยวินิจฉัยข้อเรียกร้องของม็อบไม่ใช่การปฏิรูปสถาบัน แต่เป็นการล้มล้างการปกครอง ขอให้แกนนำและขบวนการยุติการกระทำ
อ่านข่าว : ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยข้อเรียกร้อง 3 แกนนำ ไม่ใช่ปฏิรูป แต่เป็นล้มล้างการปกครอง !
ภาพจาก constitutionalcourt.or.th
ล่าสุด วันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 เว็บไซต์สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ถึงผู้ไม่หวังดีแฮกเข้าระบบ ซึ่งเมื่อกดเข้า www.constitutionalcourt.or.th พบว่าหน้าเว็บไซต์ถูกเปลี่ยนเป็นหน้ายูทูบ มิวสิกวิดีโอเพลง Guillotine (It Goes Yah) หรือเพลง กิโยตีน ของ Death Grips ซึ่งเป็นศิลปินแนวฮิปฮอป ประเทศสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ แฮกเกอร์ที่เจาะระบบของศาลรัฐธรรมนูญ ยังอัปโหลดหน้าเว็บใหม่ ใช้ชื่อหัวข้อว่า "Kangaroo Court" ซึ่งแปลตรงตัวได้ว่า "ศาลจิงโจ้"
ภาพจาก constitutionalcourt.or.th
จากนั้นเวลา 12.25 น. มีการแก้ไขหน้าเว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ กลับมาเป็นปกติได้สำเร็จ ต่อมา 5 นาทีต่อมา เวลา 12.30 น. ก็ถูกแฮกอีกครั้ง ทำให้ชื่อเว็บไซต์ Kangaroo Court และเพลง Guillotine (It goes Yah) กลับมาปรากฏบนเว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ กระทั่งหน้าเว็บไซต์ถูกปิดไป ไม่สามารถเข้าใช้งานได้
สำหรับในภาษาอังกฤษ Kangaroo Court หรือ Kangaroo trial หมายถึง ศาลที่ละเลยหรือบิดเบือนหลักการทางกฎหมายและความยุติธรรม ตุลาการของศาลเถื่อน นักนิติศาสตร์ไทยเรียกว่า "ยุติธรรมกำมะลอ" (Mock justice) หรือ ศาลเตี้ย
ภาพจาก constitutionalcourt.or.th
คำว่า Kangaroo court ไม่ได้มีที่มาจากประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของจิงโจ้ แต่มีการใช้ครั้งแรกในการขุดทองที่แคลิฟอร์เนีย ปี พ.ศ. 2396 ครั้งนั้นเรียกว่า Mustang court หรือ ศาลม้าเถื่อน เพราะเหตุการณ์ครั้งนั้น ศาลตัดสินอย่างรีบเร่งเหมือนม้าเถื่อนกระโดด และต่อมาก็เปรียบเป็นการกระโดดของจิงโจ้
ตัวอย่างศาลเถื่อนในประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียที่สุด ได้แก่ ศาลเถื่อนของ โจเซฟ สตาลิน ผู้นำทหารเผด็จการ ซึ่งโจเซฟตั้งขึ้นเพื่อใช้กำจัดศัตรูทางการเมืองของตนที่เรียกเองว่าเป็นศัตรูของประชาชน เหตุการณ์นี้ได้ชื่อว่า การกวาดล้างใหญ่ และศาลประชาชนของ โรลันด์ ไฟรซเลอร์ รัฐบาลนาซี ที่ตั้งขึ้นเพื่อใช้กำจัดศัตรูของลัทธินาซี
ภาพจาก constitutionalcourt.or.th
ภาพจาก constitutionalcourt.or.th