
MEA หรือ การไฟฟ้านครหลวง ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เล็งเห็นถึงความสำคัญของพลังงานไฟฟ้าที่มั่นคงและเพียงพอ ที่เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนกรุงเทพมหานครสู่การเป็นมหานครแห่งอาเซียนตามนโยบายรัฐบาล จึงเร่งดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มเสถียรภาพและความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า ทั้งยังสามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมช่วยปรับทัศนียภาพให้มีความสวยงาม ตลอดจนช่วยเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่สำคัญ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ
ปัจจุบัน MEA ได้ดำเนินการโครงการฯ แล้วเสร็จเป็นระยะทางรวม 48.6 กิโลเมตร ประกอบด้วยพื้นที่บางส่วนของถนนสายสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ ถนนสีลม ถนนสุขุมวิท ถนนพหลโยธิน ถนนพญาไท ถนนพระรามที่ 1 ถนนพระรามที่ 4 ถนนราชดำริ ถนนราชวิถี ถนนราชปรารภ ถนนศรีอยุธยา ถนนสวรรคโลก ถนนสาธุประดิษฐ์และสว่างอารมณ์ ถนนพิษณุโลก และถนนนครสวรรค์
1. โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ระยะทางรวม 167 กิโลเมตร
2. โครงการที่อยู่ระหว่างจัดหาผู้รับจ้าง ระยะทางรวม 20.5 กิโลเมตร
ได้แก่ ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก (ถนนรามคำแหง) สัญญา 1 และ 2 สายสีส้มตะวันตก สายสีม่วงใต้ และโครงการร่วมกรุงเทพมหานคร (ถนนทหาร-ถนนประชาราษฎร์สาย 1) ซึ่งคาดว่าจะสามารถจัดหาผู้รับจ้างก่อสร้างภายในปี 2565
สำหรับโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินนั้น MEA ได้ดำเนินโครงการครั้งแรกบนถนนสีลม ตั้งแต่ปี 2527 ซึ่งนับว่าเป็นถนนสายแรกของประเทศไทย และได้ดำเนินการต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน รวมระยะทาง 236.1 กิโลเมตร นอกจากนี้ MEA ยังดำเนินโครงการการพัฒนาระบบไฟฟ้าไปสู่การเป็น มหานครอัจฉริยะ Smart Metro Grid โดย MEA โดยได้ร่วมมือกับหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การร่วมมือกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการดำเนินโครงการ "เมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ" (CHULA Smart City) ในพื้นที่บริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงสยามสแควร์ ซึ่งถือเป็นพื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร แลนด์มาร์คสำคัญที่มีศักยภาพในด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการศึกษาของประเทศ

นอกจากนี้ MEA ยังดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าใต้ดินขนาดใหญ่ Outgoing บนเส้นทางตั้งแต่ ถนนชิดลม ถึง ถนนสารสิน (ตลอดแนวถนน) และถนนเพลินจิต (จากสี่แยกชิดลม ถึงสี่แยกเพลินจิต) โดยมีลักษณะเป็นอุโมงค์ยักษ์ขนาดใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.6 เมตร อยู่ลึกประมาณ 40 เมตร มีความยาวของอุโมงค์โดยประมาณ 1,800 เมตร ซึ่งถือเป็นอุโมงค์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เพื่อสร้างระบบไฟฟ้าที่มั่นคง ลดปัญหาไฟฟ้าดับ สร้างภูมิทัศน์ที่สวยงามให้กับเมืองมหานคร ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของประเทศไทย
MEA พร้อมเดินหน้าพัฒนาระบบพลังงานอัจฉริยะอย่างต่อเนื่อง ให้สอดรับกับความต้องการใช้ไฟฟ้าของเมืองมหานคร ทั้งภารกิจการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน พัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Metro Grid) รวมถึงโครงการต่าง ๆ ที่ MEA มุ่งมั่นพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมที่ทันสมัยเพื่อให้ตอบโจทย์การใช้ไฟฟ้าในรูปแบบวิถีชีวิตเมืองมหานคร มุ่งสู่การเป็น Smart City ตามนโยบายรัฐบาลต่อไป
#สายใต้ดิน #โครงการสายใต้ดิน #สายไฟฟ้าใต้ดิน
#MEASmartProject #MEASmartEnergy
#การไฟฟ้านครหลวง #MEA
#พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร