แม่นักศึกษาถูกเบนซ์ชนเสียชีวิต ร่ำไห้ พ้อ ไม่มีเงินทำบุญ 100 วัน ลูก ด้าน คปภ. มึนตึ้บ ศาลตัดสินแต่ประกันยังเถียง จ่อฟันโทษ ต้องจ่าย 2.5 ล้าน
จากกรณี น.ส.พัชราภา เกรัมย์ หรือ น้องหญิง อายุ 21 ปี ถูกรถเบนซ์ชนจนเสียชีวิต ขณะขี่รถจักรยานยนต์กลับบ้าน เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ขณะที่รถเบนซ์คันดังกล่าวทำประกันชั้น 1 กับบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง วงเงินเอาประกัน 2 ล้านบาท แต่บริษัทประกันไม่ยอมจ่าย อ้างว่าประมาทร่วม ทั้งที่ศาลได้ตัดสินไปแล้ว จนกลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม
รายการ โหนกระแส วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 สัมภาษณ์ แม่สมเร็จ เกรัมย์, พ่อสมชาย เกรัมย์ มาพร้อมนายชัยยุทธ มังศรี ผู้ช่วยเลขาธิการสายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สำนักงาน คปภ.
แม่มีลูกกี่คน ?
แม่ : 2 คนค่ะ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ?
พ่อ : วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม ลูกสาวขับรถกลับจากโรงเรียน แล้วปรากฏว่าเกิดอุบัติเหตุขึ้น มีเพื่อนบ้านโทร. ไปบอกว่าลูกสาวถูกรถชนที่บ้านสองชั้น ทีนี้แม่ก็ไปตามที่นา ก็รีบมา มาก็ไม่พบลูก เพราะรถโรงพยาบาลไปส่งแล้ว เราก็ติดตามไป พอเข้าไปปรากฏว่าลูกสาวไม่รู้สึกตัวอะไรเลย จากนั้นทางโรงพยาบาลก็ส่งลูกสาวไปที่จังหวัด บอกว่าอาการหนัก มีเลือดคั่งในท้อง ผมก็ตามไป แต่ไปถึงลูกสาวก็เสียชีวิตแล้ว
น้องหญิงเป็นคนเล็ก ?
พ่อ : ครับ น้องอายุ 21 ปี เรียนอยู่ปีสุดท้าย ม.ราชภัฏบุรีรัมย์
ลูกสาวตั้งใจว่าเรียนจบออกมาจะทำมาหากิน ดูแลที่บ้าน ?
พ่อ : ครับ คนโตเป็นครูครับ
เขาเคยบอกไหมจบมาจะทำอะไร ?
พ่อ : เขาอยากเป็นนักกฎหมาย ทนายความ อยากเป็นอัยการ
เขามีอนาคตที่ดี น่าจะหาเงินมาจุนเจือครอบครัวได้เยอะพอสมควร ?
พ่อ : เขาคิดหวังไว้อย่างนั้น ว่าเขาเรียนจบมาทำงาน เขาจะมีเงิน เขาจะพาแม่เขาไปเที่ยว จะสร้างบ้านให้พ่อแม่อยู่ใหม่
แม่ : จะพาไปเที่ยวเมืองจีน
พ่อ : จะหาเงินให้พ่อแม่ใช้เยอะ ๆ เขาพูดอย่างนั้น น้องเป็นคนเรียนดีครับ
สิ่งที่เขาวาดฝันไว้จะไปถึงอยู่แล้ว ถ้าไม่เสียชีวิตเสียก่อน วันนี้ไม่มีโอกาสแล้ว วันนั้นหลังรถเบนซ์ไปชน มีการพูดคุยเรื่องการเยียวยายังไงบ้าง ?
พ่อ : หลังจากลูกได้รับอุบัติเหตุ ผมก็ประกอบพิธีทำบุญลูกสาวเสร็จ มีการนัดไปคุยที่โรงพัก ครั้งแรกมีพนักงานบริษัทประกันไป 2 คน สามีของคนขับรถ ตอนแรกก็ตกลงกันไม่ได้ ต่างคนต่างแยกย้ายกันกลับบ้าน พอมาอีกหลายสัปดาห์ก็นัดกันใหม่ ทีนี้พอเข้าไปก็มีพนักงานประกันภัย 2 คน คนเดิมนั่นแหละ คนขับรถยนต์ ซึ่งเป็นผู้หญิง
ร้อยเวรก็ชี้ว่าคนขับรถยนต์เป็นคนผิด ขับรถด้วยความประมาท ใช้ความเร็วสูง แต่พนักงานของบริษัทประกันไม่พูดไม่โต้แย้งอะไรเลย เขานั่งเงียบอยู่อย่างนั้น หลังจากที่คนขับรถยอมรับผิดทุกอย่างแล้ว ทางตำรวจร้อยเวรก็ทำสำนวนส่งศาล ศาลก็พิพากษาตัดสินไปแล้ว
มีการตกลงในชั้นสอบสวนก่อน เขาก็บอกว่าคนขับรถเบนซ์ผิด เพราะขับรถเร็ว หลังจากนั้นพ่อได้คุยกับใครที่เห็นเหตุการณ์ไหม ?
พ่อ : ไม่มีครับ
คนขับเขาบอกว่าอะไร ?
พ่อ : เขาบอกว่าเขามองไม่ชัด เลยขับรถชนน้อง น้องขี่มอเตอร์ไซค์บนถนน เวลา 9 โมงเช้า น้องกำลังกลับบ้านมาหาพ่อแม่ กลับจากโรงเรียน เขาชนท้ายรถน้อง แล้วล้มมาหารถเขา รถก็ลากไปประมาณ 100 กว่าเมตร ลากรถ ส่วนน้องกระเด็นไปฝากระโปรงหรือเปล่าไม่แน่ใจ เขาพูดว่างั้น แต่ลากรถไปไกลมาก เป็นร้อยเมตร
แม่ : (เสียงสั่น) ทำใจไม่ได้ซะที
เขาแซงมาตลอด และมาชนรถน้องตอน 9 โมงเช้า น้องเสียชีวิตที่ไหน ?
พ่อ : ที่โรงพยาบาลครับ อาการมีเลือดตกใน อวัยวะภายในฉีกขาด
คนขับรถเบนซ์ก็ยอมรับว่าเขาผิด ?
พ่อ : ครับ ตอนแรกเขาอาจตกใจหรือกลัวหรือเปล่า เขาบอกว่าน้องขับรถออกมาจากซอย มาตัดหน้าเขา ซึ่งสภาพความเป็นจริงไม่ใช่ครับ
เพราะคลิปเห็นชัด ?
พ่อ : มันเป็นความตกใจของผู้ขับ กลัวมีความผิดอะไร เลยพูดไปเพื่อให้ตัวเองถูกไว้ก่อน เพราะลูกสาวไม่ได้ออกจากซอยอะไรเลย
แม่ : เขาไม่เคยรู้จักใคร เขาตรงมาหาพ่อแม่ทุกครั้ง
การตกลงเบื้องต้นเป็นยังไง กรณีแบบนี้ปกติแล้วน่าจะจบที่ชั้นสอบสวนหรือเปล่า เวลาตำรวจเขายิงว่ารถคันนี้ผิด น่าจะจบตรงนี้หรือเปล่า ?
ชัยยุทธ : มันแล้วแต่คดี ถ้าคดีไม่ไปต่อที่อัยการหรือศาล ถ้าตำรวจชี้ว่าฝ่ายไหนผิด หรือประมาท ประกันยอมจ่ายก็จบ เรายึดถือทั้งความเห็นพนักงานสอบสวนหรือของศาล แล้วแต่คดี ถ้าทั่ว ๆ ไปพนักงานสอบสวนเขาชี้ ทางประกันหรือสำนักงาน คปภ. ก็มีความเห็นสั่งจ่าย ให้บริษัทต้องจ่าย
วันนั้นเรื่องไม่ได้จบที่ชั้นสอบสวน แต่ถูกส่งไปชั้นศาล ประกันไม่ยอมหรือยังไง ?
ชัยยุทธ : ปกติคดีอาญา พนักงานสอบสวนแล้ว มีผู้กระทำความผิดทางอาญาก็จะส่งอัยการเพื่อฟ้องคดีต่อศาล นี่คือขั้นตอนลงโทษผู้กระทำความผิดครับ แต่ปกติถ้าเป็นคดีเล็ก ๆ น้อย ๆ ตำรวจเปรียบเทียบปรับได้ อาจจบที่ตำรวจได้ แต่อันนี้เป็นคดีอาญา ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ต้องส่งอัยการเพื่อสั่งฟ้องคดี นี่เป็นขั้นตอนตามกฎหมายคดีอาญาครับ
พอคดีถูกส่งไป ศาลตัดสินยังไง ?
พ่อ : วันที่ 31 สิงหาคม ศาลมีคำสั่งตัดสินว่าผู้ขับรถยนต์มีความผิด ขับรถด้วยความเร็วสูง ขับรถประมาท เจ้าหน้าที่หรือพนักงานประกันจะรอดูว่าเขามีการอุทธรณ์อะไรไหม ถ้าภายใน 1 เดือนไม่มีการอุทธรณ์ ก็ถือว่าเขายอมรับตามนี้ คดีถึงที่สิ้นสุดแล้ว
วันนั้นศาลตัดสินให้ชดใช้เท่าไหร่ ?
พ่อ : 2.5 ล้าน
กี่วันประกันต้องจ่าย ?
ชัยยุทธ : จริง ๆ เรื่องการจ่ายประกันกับคดีอาญาตัดสิน คนละส่วนกันนะครับ ศาลตัดสินในเรื่องคดีอาญาว่าใครเป็นฝ่ายผิด ศาลวิเคราะห์แล้วเห็นว่าผู้ขับเบนซ์ผิด คือขับรถด้วยความเร็ว ขณะนี้ที่มีรถอยู่ข้างหน้า
อันนี้ไม่เกี่ยวกับประกัน ?
ชัยยุทธ : ยังไม่ได้เกี่ยวครับ แค่ใครผิดใครถูก ศาลวินิจฉัยว่าในสภาวะเช่นนั้น รู้ว่ามีรถอยู่ข้างหน้า คนขับรถต้องชะลอ เขาได้ใช้ความระมัดระวังและชะลอความเร็วหรือไม่ ซึ่งเกิดเป็นกรณีที่กระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้คนอื่นถึงแก่ความตาย ประกอบกับจำเลยรับสารภาพก็มีความผิดตามนี้ นี่คือคำบรรยายของศาล ก็ถือว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด
ทีนี้โยงประกัน ผู้ขับรถคือผู้เอาประกัน คนถูกฟ้องคือผู้เอาประกันคือผู้ขับ เขาไม่ได้เป็นคู่ความในคดี แต่ในหลักประกันก็คือว่าประกันต้องรับผิด กรณีผู้เอาประกันและผิดชดใช้ในกรณีผู้เอาประกันเอาไปกระทำความผิด นี่คือหลักประกันครับ
นี่คือผู้เอาประกันไปกระทำความผิดแล้ว ศาลก็ตัดสินแล้วว่าผิด บริษัทประกันภัยก็มีหน้าที่จ่ายค่าสินไหมทดแทน บริษัทโต้แย้งว่าเขาไม่ใช่คู่ความในคดี และเขาก็โต้แย้งว่าคดีนี้คนของเขาไม่ได้ไปประมาทฝ่ายเดียว แต่ไม่มีหลักฐานนะ
ผู้ขับขี่มีประกันชั้น 1 ประกันต้องสั่งจ่าย แต่อันนี้คนขับผิดประกันก็ต้องจ่าย ทั้งหมดคือ 2.5 ล้าน ตัวเลขมาจากไหน ?
ชัยยุทธ : เขาทำประกันไว้ 2 ส่วน คือ ประกันภัยภาคบังคับ ในทะเบียนแก้ไขปี 2562 คุ้มครองไม่น้อยกว่า 5 แสน เขาทำประกันภาคบังคับไว้ ก็ต้องจ่าย 5 แสน กรณีเสียชีวิต กรณีภาคสมัครใจ ถ้าทำประกันไว้ไม่เกิน 2 ล้าน ก็ต้องจ่าย 2 ล้าน ก็เป็นตามนั้น ไม่ต้องมาพิสูจน์ความเสียหายที่แท้จริง ก็จ่ายไป 2.5 ล้านเลย
ศาลได้บอกเขาหรือเปล่า ?
ชัยยุทธ : อันนี้ไม่เกี่ยวกับศาลครับ ศาลแค่บอกว่าใครถูกใครผิด ประกันก็ต้องมีหน้าที่ไปบอก ถ้าคนของตัวเองผิด คุณมีหน้าที่ต้องจ่าย
พ่อทราบจากไหนต้องจ่าย 2.5 ล้าน ?
พ่อ : ดูจากเอกสารที่ศาลท่านพิพากษา
สรุปว่าศาลสั่งว่าคนขับผิดจริง ประกันชั้น 1 ที่ทำเอาไว้มูลค่าที่ต้องจ่ายคือ 2.5 ล้าน ศาลท่านได้มีการเขียนเอาไว้ด้วยไหม ?
ชัยยุทธ : ไม่มีจำนวนเงินนะ ศาลบรรเทาโทษให้คือเขาได้จ่ายค่าเสียหายบางส่วนให้คุณพ่อคุณแม่ไป 2 แสนเท่านั้นเอง แต่จำนวนเงินของประกันศาลไม่ได้พูดถึง
แต่ประกันก็ต้องจ่าย ?
ชัยยุทธ : ถูกครับ เพราะคนของตัวเองไปกระทำความผิด ข้อเท็จจริงมันยุติแล้วตั้งแต่ศาลตัดสิน ก็มีหน้าที่ต้องจ่ายเขา
แล้วทำไมเขาไม่จ่าย ประกันมาบอกทางพ่อว่าไง ?
พ่อ : ก็ไม่เคยมาพูดมาพบอะไรเลย เงียบอยู่อย่างนั้น พลิ้วเลย
พ่อเคยทวงไหม ?
พ่อ : เคยให้ญาติทางบุรีรัมย์เอาสำนวนมาส่งให้ คปภ. บังคับจ่าย แต่ คปภ. ไม่ได้ทำเรื่อง หรือไม่ได้ทำอะไรหรือเปล่า ผมก็รออยู่อย่างนั้น
ศาลสั่งว่าฝั่งคนขับผิด ฉะนั้นตามข้อเท็จจริงเมื่อคุณผิด ประกันรถคุณก็ต้องจ่าย เขายังไม่ได้ 2.5 ล้าน ประกันพูดใช่ไหมว่าให้ไปฟ้องต่อ เพราะประมาทร่วม ?
พ่อ : ครับ เขาบอกให้ไปฟ้องแพ่งต่อ
ตอนนี้ที่ได้ฟังมาจากข่าว กลับตาลปัตรไปนิดหนึ่ง แต่ธงสุดท้ายเหมือนเดิม ยังไงก็ต้องได้ 2.5 ล้าน สรุปแล้วหลังน้องหญิงถูกรถเบนซ์ชนเสียชีวิต คนขับรถเบนซ์เยียวยาไปแล้วส่วนหนึ่งประมาณ 1-2 แสน หลังจากนั้นมีการขึ้นศาล ศาลตัดสินว่าฝั่งคนขับรถเบนซ์ประมาท ทำให้คนถึงแก่ความตาย ฉะนั้นพอคนขับเป็นคนผิดปุ๊บ ประกันต้องทำงานอัตโนมัติคือต้องจ่ายเลย เพราะต้องยึดศาลเป็นหลัก ศาลตัดสินว่าผิดก็ต้องจ่าย แต่ประกันไม่ได้คุยกับพ่อ พ่อก็ไม่ได้คุยกับประกัน เรื่องมันเลยเงียบหาย
พ่อเลยตั้งทนายมา 1 คน พ่อให้ทนายไปติดต่อว่าต้องจ่ายเงิน 2.5 ล้าน เสร็จปุ๊บประกันทำเรื่องมาทาง คปภ. เพราะทางนั้นเขาไม่จ่าย เพราะเขาบอกว่าประมาทร่วม ต้องไปร้องมาใหม่ ถามว่าประมาทร่วมคืออะไร เขาบอกรถน้องไม่มีร่องรอยถูกชนด้านหลัง แต่มีร่องรอยถูกชนด้านข้าง อันนี้ประกันเขาอ้างมาแบบนี้ เขาเลยรู้สึกว่ามันไม่ได้ถูกชนท้าย หรืออาจเป็นประมาทร่วม ต้องไปร้องมาใหม่ 2.5 ล้านยังไม่ต้องเอา พ่อให้ทนายไปร้อง คปภ. แต่ คปภ. บอกว่ายังไง ?
พ่อ : ทำไม คปภ. ไม่ใช้อำนาจบังคับบริษัทประกันให้จ่าย คปภ. มีอำนาจตรงนี้อยู่
ชัยยุทธ : ส่วนประกัน คุณพ่อได้มอบอำนาจให้ทนายความมายื่นเรื่องร้องเรียน เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2564 สำนักงาน คปภ. ได้รับเรื่องแล้ว ตามกติกาเรา เจ้าหน้าที่ต้องส่งหนังสือให้บริษัทชี้แจงว่าทำไมเหตุการณ์เกิดขึ้นยังไง ทำไมไม่จ่าย บริษัทชี้แจงมาว่ากรณีนี้ ณ ขณะนั้นวันที่ 23 ศาลยังไม่ได้ตัดสิน ที่เขาแย้งมา ที่ยื่นขอให้จ่าย ศาลยังไม่ตัดสิน พอ 31 ศาลตัดสินทีหลัง หลังเรื่องร้องเรียน ทีนี้เรารับเรื่องร้องเรียน เราก็ให้บริษัทชี้แจง สำนักงานมีระเบียบเอาไว้ว่าต้องชี้แจงภายใน 7 วัน บริษัทชี้แจงมาแล้วก็ปฏิเสธ
แต่ตอนช่วงร้องเรียนมา ศาลตัดสิน เรามีเอกสาร คปภ. เลยสั่งให้บริษัทต้องจ่ายเงิน ส่งไปแล้ว แจ้งไปแล้ว บริษัทโต้แย้งกลับมา เรียนท่านว่ากรณีเจ้าหน้าที่สำนักงานหรือสำนักงาน คปภ. บอกว่าถ้าบริษัทโต้แย้ง เขากำหนดให้นายทะเบียนหรือเลขาธิการมีอำนาจในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ไม่ได้มีอำนาจในการชี้ขาดตัดสินเหมือนศาล นี่กฎหมายเขาเขียนไว้แบบนี้ กระบวนการสำนักงาน คปภ. เลยมีระเบียบเรื่องร้องเรียนไกล่เกลี่ยกันขึ้นมา ถ้าหากโต้แย้งแบบนี้ ต้องใช้กระบวนการในการชี้แจงไกล่เกลี่ย หรือต้องให้อนุญาโตฯ ชี้ขาด เจ้าหน้าที่ไม่สามารถไปตัดสินทันทีได้
แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่บอกให้จ่ายแล้ว ถ้าข้อเท็จจริงเป็นแบบนี้แล้ว มันเข้าเหตุว่าบริษัทปฏิเสธจ่ายโดยไม่มีเหตุอันควร หรือจงใจ ซึ่ง ณ ขณะนี้ ข้อเท็จจริงมันยุติแล้ว แต่อาจล่าช้าในกระบวนการ เพราะคุณพ่อได้มอบอำนาจไปยื่นที่นนท์ แต่พอมาวันที่ 21 ตุลาคม นนท์แจ้งไปแล้ว ทางเขาปฏิเสธ ทนายอีกคนเลยมายื่นร้องเรียนที่สำนักงานส่วนกลางอีกที เลยยังไม่ไปไหน
สรุปเขาจะได้ไหม ?
ชัยยุทธ : เขาจะได้ เพราะตอนนี้เราส่งเรื่องเข้าสู่กระบวนการประวิงแล้ว
เอาชัด ๆ ?
ชัยยุทธ : ได้แน่นอน
2.5 ล้านเขาต้องได้ ถ้าเขาพลิกลิ้นอีก ?
ชัยยุทธ : บทบาทหน้าที่สำนักงาน คปภ. จะเข้าสู่กระบวนการเปรียบเทียบปรับ ถ้าหากไม่จ่าย คือประวิงนี่ต้องจ่ายไม่ต่ำกว่า 5 แสน แล้วปรับรายวันไม่เกินวันละ 2 หมื่นบาท
ทางฝั่งสามีคนขับรถชน ทำให้น้องหญิงเสียชีวิต เขาก็ฝากถึงเรื่องประกันเหมือนกันว่า คปภ. มีอำนาจ แต่ไม่มีการบังคับให้บริษัทจ่ายได้ เงินจำนวนนี้จะไปเยียวยาจิตใจเขาได้ ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้สองฝ่ายได้รับผลกระทบทางจิตใจ แม่คนตายร้องไห้ตลอด คนขับรถเบนซ์ก็ทำบุญอุทิศให้น้องตลอด ?
พ่อ : อยากเรียนถามสักนิดว่าพนักงานบริษัทมีอำนาจอะไร มีสิทธิ์อะไรที่ชี้บอกว่าลูกสาวผมเป็นคนผิด ลูกสาวผมประมาทร่วม พนักงานประกันมีอำนาจอะไรชี้ขาด ทั้งที่ร้อยเวรชี้ขาดไปแล้วว่าคนขับเป็นคนผิด ศาลพิพากษาไปแล้วว่าคนขับผิด ขับรถด้วยความเร็วสูง ขับรถประมาท พนักงานบริษัทมีอำนาจอะไรมาตัดสินว่าลูกผมเป็นคนผิด ทั้งที่ศาลตัดสินไปแล้ว
นี่จากหัวใจชาวบ้าน ?
ชัยยุทธ : ขอเรียนท่านว่าคนที่จะปฏิเสธก็แย้งได้ทั้งหมดนะครับ แต่ข้อเท็จจริงคุณจะไปปฏิเสธเฉย ๆ ไม่ได้ พนักงานไปบอกเองไม่ได้ พนักงานชี้ไม่ได้
คปภ. ต้องควบคุมอีกทีไหม ?
ชัยยุทธ : เขาก็เถียงเราเหมือนเถียงคุณพ่อนั่นแหละ แต่เรามีกฎหมายรับรอง ปัญหาคือเรากำลังจะลงโทษเขา เข้าสู่กระบวนการ มีทั้งการเปรียบเทียบปรับ ซึ่งอาทิตย์หน้านัดแล้ว เดี๋ยวเราจะเร่งรัดดำเนินการให้โดยเร็ว คปภ. ไม่ได้นิ่งนอนใจเลย
หลังมาคุยสบายใจขึ้นไหม ?
พ่อ : สบายใจขึ้นมาก
ชัยยุทธ : จะหาวันและประสานให้คุณพ่อ ถ้าเขาไม่จ่ายก็โดนปรับแน่นอน และปรับทุกวัน วันละไม่เกิน 2 หมื่นบาท
ตอนประกันแย้งมา เป็นประมาทร่วม ศาลยังไม่ได้ตัดสิน แต่ ณ วันนี้ศาลตัดสินแล้ว ?
ชัยยุทธ : ศาลตัดสินก็ยังแย้งอยู่ ซึ่งเขาต้องดำเนินการตามกระบวนการกฎหมาย
ทนายโชติวุฒิ เขียนนิลศิริ ทนายฝ่ายรถเบนซ์ที่ขับรถชน ตกลงเรื่องนี้ยังไง ?
ทนาย : ก็ดูจากพยานหลักฐาน การชี้มูลประมาทร่วมหรือไม่อย่างไรคงไม่มีใครไปชี้ลอย ๆ ได้ คดีนี้พนักงานสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมดแล้ว ไม่ว่าจะร่องรอยการเฉี่ยวชนก็ดี หรือจุดที่เฉี่ยวชน ลักษณะรถวิ่งมามันก็ได้ข้อยุติแล้ว่ารถเบนซ์ประมาทฝ่ายเดียว ทีนี้ฝ่ายประกันเอง ตั้งแต่ชั้นสอบสวน ก็มีแต่ตัวแทนมา ไม่ได้โต้แย้งเรื่องข้อเท็จจริงต่าง ๆ
จนมาถึงชั้นอัยการหรือชั้นศาล ก็ไม่ได้มีตัวแทนเข้ามา ไม่ว่าจะเรื่องของการประกันตัว ฝ่ายรถเบนซ์ก็ใช้เงินส่วนตัวยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราว ทนายก็ไม่ได้มีการจัดหาให้ ข้อเท็จจริงจึงได้ยุติแล้ว ส่วนที่ผมเองได้ฟังมาจากทางพ่อแม่น้องผู้เสียชีวิต บริษัทประกันบอกว่าต้องไปฟ้องแพ่งเอา ในมุมมองผมเหมือนลักษณะการยื้อทางแพ่ง อย่างน้อยต้องมี 2-3 ศาล ระยะเวลาก็ใช้ไปอีก 2-3 ปี ซึ่งผมดูแล้วไม่เป็นธรรมกับฝ่ายที่เขาสูญเสีย
ขนาดทนายคนชนยังพูดอย่างนี้เลยว่าไม่เป็นธรรมกับทางนี้ เพราะลูกความเขายอมรับผิดไปแล้ว เขายอมรับว่าฝั่งนี้น่าเห็นใจ แต่ประกันเองกลับแย้งว่าเป็นประมาทร่วม ต้องไปยื้อ แต่เรื่องนี้ คปภ. จัดการแน่นอน ?
ชัยยุทธ : ครับ ยืนยันครับ เดี๋ยวจะแจ้งพ่อตลอดครับ
2.5 ล้านโคตรน้อยสำหรับคนคนหนึ่ง เพราะลูกเขาตาย น้องจะสร้างบ้านให้พ่อ หาเงินช่วยเหลือพ่อแม่ ครอบครัวเขาไม่เหลืออะไรแล้ว 2.5 ล้าน คือตัวแทนลูกสาวไปช่วยเหลือเกื้อกูลเขา ให้เขาไปเถอะ เพราะมันน่าอาย ดูแลเขาเถอะ ตอนนี้ยังไม่ได้ทำบุญ 100 วันเลย ?
แม่ : ไม่มีเงิน บอกลูกว่าถ้าเขาชดใช้ชีวิตลูก แม่จะทำบุญ 100 วัน จนถึงวันนี้ยังไม่ได้ทำบุญเลย ไม่มีเงินทำ (ร้องไห้)
ทั้งนี้ สามารถติดตามชมรายการ โหนกระแส โดยมี หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.35 น. ทางช่อง 3 กดเลข 33
![ชัยยุทธ ชัยยุทธ]()
![แม่ นศ. ถูกเบนซ์ชนดับ ร่ำไห้ แม่ นศ. ถูกเบนซ์ชนดับ ร่ำไห้]()
![แม่ นศ. ถูกเบนซ์ชนดับ ร่ำไห้ แม่ นศ. ถูกเบนซ์ชนดับ ร่ำไห้]()
![พ่อคนตาย พ่อคนตาย]()
![พ่อคนตาย พ่อคนตาย]()
![แม่ นศ. ถูกเบนซ์ชนดับ ร่ำไห้ แม่ นศ. ถูกเบนซ์ชนดับ ร่ำไห้]()
![แม่ นศ. ถูกเบนซ์ชนดับ ร่ำไห้ แม่ นศ. ถูกเบนซ์ชนดับ ร่ำไห้]()
![แม่ นศ. ถูกเบนซ์ชนดับ ร่ำไห้ แม่ นศ. ถูกเบนซ์ชนดับ ร่ำไห้]()
![คนตาย คนตาย]()
![สามีคนขับรถเบนซ์ สามีคนขับรถเบนซ์]()

จากกรณี น.ส.พัชราภา เกรัมย์ หรือ น้องหญิง อายุ 21 ปี ถูกรถเบนซ์ชนจนเสียชีวิต ขณะขี่รถจักรยานยนต์กลับบ้าน เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ขณะที่รถเบนซ์คันดังกล่าวทำประกันชั้น 1 กับบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง วงเงินเอาประกัน 2 ล้านบาท แต่บริษัทประกันไม่ยอมจ่าย อ้างว่าประมาทร่วม ทั้งที่ศาลได้ตัดสินไปแล้ว จนกลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม
รายการ โหนกระแส วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 สัมภาษณ์ แม่สมเร็จ เกรัมย์, พ่อสมชาย เกรัมย์ มาพร้อมนายชัยยุทธ มังศรี ผู้ช่วยเลขาธิการสายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สำนักงาน คปภ.

แม่มีลูกกี่คน ?
แม่ : 2 คนค่ะ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ?
พ่อ : วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม ลูกสาวขับรถกลับจากโรงเรียน แล้วปรากฏว่าเกิดอุบัติเหตุขึ้น มีเพื่อนบ้านโทร. ไปบอกว่าลูกสาวถูกรถชนที่บ้านสองชั้น ทีนี้แม่ก็ไปตามที่นา ก็รีบมา มาก็ไม่พบลูก เพราะรถโรงพยาบาลไปส่งแล้ว เราก็ติดตามไป พอเข้าไปปรากฏว่าลูกสาวไม่รู้สึกตัวอะไรเลย จากนั้นทางโรงพยาบาลก็ส่งลูกสาวไปที่จังหวัด บอกว่าอาการหนัก มีเลือดคั่งในท้อง ผมก็ตามไป แต่ไปถึงลูกสาวก็เสียชีวิตแล้ว
น้องหญิงเป็นคนเล็ก ?
พ่อ : ครับ น้องอายุ 21 ปี เรียนอยู่ปีสุดท้าย ม.ราชภัฏบุรีรัมย์
ลูกสาวตั้งใจว่าเรียนจบออกมาจะทำมาหากิน ดูแลที่บ้าน ?
พ่อ : ครับ คนโตเป็นครูครับ
เขาเคยบอกไหมจบมาจะทำอะไร ?
พ่อ : เขาอยากเป็นนักกฎหมาย ทนายความ อยากเป็นอัยการ

เขามีอนาคตที่ดี น่าจะหาเงินมาจุนเจือครอบครัวได้เยอะพอสมควร ?
พ่อ : เขาคิดหวังไว้อย่างนั้น ว่าเขาเรียนจบมาทำงาน เขาจะมีเงิน เขาจะพาแม่เขาไปเที่ยว จะสร้างบ้านให้พ่อแม่อยู่ใหม่
แม่ : จะพาไปเที่ยวเมืองจีน
พ่อ : จะหาเงินให้พ่อแม่ใช้เยอะ ๆ เขาพูดอย่างนั้น น้องเป็นคนเรียนดีครับ
สิ่งที่เขาวาดฝันไว้จะไปถึงอยู่แล้ว ถ้าไม่เสียชีวิตเสียก่อน วันนี้ไม่มีโอกาสแล้ว วันนั้นหลังรถเบนซ์ไปชน มีการพูดคุยเรื่องการเยียวยายังไงบ้าง ?
พ่อ : หลังจากลูกได้รับอุบัติเหตุ ผมก็ประกอบพิธีทำบุญลูกสาวเสร็จ มีการนัดไปคุยที่โรงพัก ครั้งแรกมีพนักงานบริษัทประกันไป 2 คน สามีของคนขับรถ ตอนแรกก็ตกลงกันไม่ได้ ต่างคนต่างแยกย้ายกันกลับบ้าน พอมาอีกหลายสัปดาห์ก็นัดกันใหม่ ทีนี้พอเข้าไปก็มีพนักงานประกันภัย 2 คน คนเดิมนั่นแหละ คนขับรถยนต์ ซึ่งเป็นผู้หญิง
ร้อยเวรก็ชี้ว่าคนขับรถยนต์เป็นคนผิด ขับรถด้วยความประมาท ใช้ความเร็วสูง แต่พนักงานของบริษัทประกันไม่พูดไม่โต้แย้งอะไรเลย เขานั่งเงียบอยู่อย่างนั้น หลังจากที่คนขับรถยอมรับผิดทุกอย่างแล้ว ทางตำรวจร้อยเวรก็ทำสำนวนส่งศาล ศาลก็พิพากษาตัดสินไปแล้ว
มีการตกลงในชั้นสอบสวนก่อน เขาก็บอกว่าคนขับรถเบนซ์ผิด เพราะขับรถเร็ว หลังจากนั้นพ่อได้คุยกับใครที่เห็นเหตุการณ์ไหม ?
พ่อ : ไม่มีครับ

คนขับเขาบอกว่าอะไร ?
พ่อ : เขาบอกว่าเขามองไม่ชัด เลยขับรถชนน้อง น้องขี่มอเตอร์ไซค์บนถนน เวลา 9 โมงเช้า น้องกำลังกลับบ้านมาหาพ่อแม่ กลับจากโรงเรียน เขาชนท้ายรถน้อง แล้วล้มมาหารถเขา รถก็ลากไปประมาณ 100 กว่าเมตร ลากรถ ส่วนน้องกระเด็นไปฝากระโปรงหรือเปล่าไม่แน่ใจ เขาพูดว่างั้น แต่ลากรถไปไกลมาก เป็นร้อยเมตร
แม่ : (เสียงสั่น) ทำใจไม่ได้ซะที
เขาแซงมาตลอด และมาชนรถน้องตอน 9 โมงเช้า น้องเสียชีวิตที่ไหน ?
พ่อ : ที่โรงพยาบาลครับ อาการมีเลือดตกใน อวัยวะภายในฉีกขาด
คนขับรถเบนซ์ก็ยอมรับว่าเขาผิด ?
พ่อ : ครับ ตอนแรกเขาอาจตกใจหรือกลัวหรือเปล่า เขาบอกว่าน้องขับรถออกมาจากซอย มาตัดหน้าเขา ซึ่งสภาพความเป็นจริงไม่ใช่ครับ
เพราะคลิปเห็นชัด ?
พ่อ : มันเป็นความตกใจของผู้ขับ กลัวมีความผิดอะไร เลยพูดไปเพื่อให้ตัวเองถูกไว้ก่อน เพราะลูกสาวไม่ได้ออกจากซอยอะไรเลย
แม่ : เขาไม่เคยรู้จักใคร เขาตรงมาหาพ่อแม่ทุกครั้ง

การตกลงเบื้องต้นเป็นยังไง กรณีแบบนี้ปกติแล้วน่าจะจบที่ชั้นสอบสวนหรือเปล่า เวลาตำรวจเขายิงว่ารถคันนี้ผิด น่าจะจบตรงนี้หรือเปล่า ?
ชัยยุทธ : มันแล้วแต่คดี ถ้าคดีไม่ไปต่อที่อัยการหรือศาล ถ้าตำรวจชี้ว่าฝ่ายไหนผิด หรือประมาท ประกันยอมจ่ายก็จบ เรายึดถือทั้งความเห็นพนักงานสอบสวนหรือของศาล แล้วแต่คดี ถ้าทั่ว ๆ ไปพนักงานสอบสวนเขาชี้ ทางประกันหรือสำนักงาน คปภ. ก็มีความเห็นสั่งจ่าย ให้บริษัทต้องจ่าย
วันนั้นเรื่องไม่ได้จบที่ชั้นสอบสวน แต่ถูกส่งไปชั้นศาล ประกันไม่ยอมหรือยังไง ?
ชัยยุทธ : ปกติคดีอาญา พนักงานสอบสวนแล้ว มีผู้กระทำความผิดทางอาญาก็จะส่งอัยการเพื่อฟ้องคดีต่อศาล นี่คือขั้นตอนลงโทษผู้กระทำความผิดครับ แต่ปกติถ้าเป็นคดีเล็ก ๆ น้อย ๆ ตำรวจเปรียบเทียบปรับได้ อาจจบที่ตำรวจได้ แต่อันนี้เป็นคดีอาญา ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ต้องส่งอัยการเพื่อสั่งฟ้องคดี นี่เป็นขั้นตอนตามกฎหมายคดีอาญาครับ
พอคดีถูกส่งไป ศาลตัดสินยังไง ?
พ่อ : วันที่ 31 สิงหาคม ศาลมีคำสั่งตัดสินว่าผู้ขับรถยนต์มีความผิด ขับรถด้วยความเร็วสูง ขับรถประมาท เจ้าหน้าที่หรือพนักงานประกันจะรอดูว่าเขามีการอุทธรณ์อะไรไหม ถ้าภายใน 1 เดือนไม่มีการอุทธรณ์ ก็ถือว่าเขายอมรับตามนี้ คดีถึงที่สิ้นสุดแล้ว

วันนั้นศาลตัดสินให้ชดใช้เท่าไหร่ ?
พ่อ : 2.5 ล้าน
กี่วันประกันต้องจ่าย ?
ชัยยุทธ : จริง ๆ เรื่องการจ่ายประกันกับคดีอาญาตัดสิน คนละส่วนกันนะครับ ศาลตัดสินในเรื่องคดีอาญาว่าใครเป็นฝ่ายผิด ศาลวิเคราะห์แล้วเห็นว่าผู้ขับเบนซ์ผิด คือขับรถด้วยความเร็ว ขณะนี้ที่มีรถอยู่ข้างหน้า
อันนี้ไม่เกี่ยวกับประกัน ?
ชัยยุทธ : ยังไม่ได้เกี่ยวครับ แค่ใครผิดใครถูก ศาลวินิจฉัยว่าในสภาวะเช่นนั้น รู้ว่ามีรถอยู่ข้างหน้า คนขับรถต้องชะลอ เขาได้ใช้ความระมัดระวังและชะลอความเร็วหรือไม่ ซึ่งเกิดเป็นกรณีที่กระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้คนอื่นถึงแก่ความตาย ประกอบกับจำเลยรับสารภาพก็มีความผิดตามนี้ นี่คือคำบรรยายของศาล ก็ถือว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด
ทีนี้โยงประกัน ผู้ขับรถคือผู้เอาประกัน คนถูกฟ้องคือผู้เอาประกันคือผู้ขับ เขาไม่ได้เป็นคู่ความในคดี แต่ในหลักประกันก็คือว่าประกันต้องรับผิด กรณีผู้เอาประกันและผิดชดใช้ในกรณีผู้เอาประกันเอาไปกระทำความผิด นี่คือหลักประกันครับ
นี่คือผู้เอาประกันไปกระทำความผิดแล้ว ศาลก็ตัดสินแล้วว่าผิด บริษัทประกันภัยก็มีหน้าที่จ่ายค่าสินไหมทดแทน บริษัทโต้แย้งว่าเขาไม่ใช่คู่ความในคดี และเขาก็โต้แย้งว่าคดีนี้คนของเขาไม่ได้ไปประมาทฝ่ายเดียว แต่ไม่มีหลักฐานนะ
ผู้ขับขี่มีประกันชั้น 1 ประกันต้องสั่งจ่าย แต่อันนี้คนขับผิดประกันก็ต้องจ่าย ทั้งหมดคือ 2.5 ล้าน ตัวเลขมาจากไหน ?
ชัยยุทธ : เขาทำประกันไว้ 2 ส่วน คือ ประกันภัยภาคบังคับ ในทะเบียนแก้ไขปี 2562 คุ้มครองไม่น้อยกว่า 5 แสน เขาทำประกันภาคบังคับไว้ ก็ต้องจ่าย 5 แสน กรณีเสียชีวิต กรณีภาคสมัครใจ ถ้าทำประกันไว้ไม่เกิน 2 ล้าน ก็ต้องจ่าย 2 ล้าน ก็เป็นตามนั้น ไม่ต้องมาพิสูจน์ความเสียหายที่แท้จริง ก็จ่ายไป 2.5 ล้านเลย
ศาลได้บอกเขาหรือเปล่า ?
ชัยยุทธ : อันนี้ไม่เกี่ยวกับศาลครับ ศาลแค่บอกว่าใครถูกใครผิด ประกันก็ต้องมีหน้าที่ไปบอก ถ้าคนของตัวเองผิด คุณมีหน้าที่ต้องจ่าย
พ่อทราบจากไหนต้องจ่าย 2.5 ล้าน ?
พ่อ : ดูจากเอกสารที่ศาลท่านพิพากษา

สรุปว่าศาลสั่งว่าคนขับผิดจริง ประกันชั้น 1 ที่ทำเอาไว้มูลค่าที่ต้องจ่ายคือ 2.5 ล้าน ศาลท่านได้มีการเขียนเอาไว้ด้วยไหม ?
ชัยยุทธ : ไม่มีจำนวนเงินนะ ศาลบรรเทาโทษให้คือเขาได้จ่ายค่าเสียหายบางส่วนให้คุณพ่อคุณแม่ไป 2 แสนเท่านั้นเอง แต่จำนวนเงินของประกันศาลไม่ได้พูดถึง
แต่ประกันก็ต้องจ่าย ?
ชัยยุทธ : ถูกครับ เพราะคนของตัวเองไปกระทำความผิด ข้อเท็จจริงมันยุติแล้วตั้งแต่ศาลตัดสิน ก็มีหน้าที่ต้องจ่ายเขา
แล้วทำไมเขาไม่จ่าย ประกันมาบอกทางพ่อว่าไง ?
พ่อ : ก็ไม่เคยมาพูดมาพบอะไรเลย เงียบอยู่อย่างนั้น พลิ้วเลย
พ่อเคยทวงไหม ?
พ่อ : เคยให้ญาติทางบุรีรัมย์เอาสำนวนมาส่งให้ คปภ. บังคับจ่าย แต่ คปภ. ไม่ได้ทำเรื่อง หรือไม่ได้ทำอะไรหรือเปล่า ผมก็รออยู่อย่างนั้น
ศาลสั่งว่าฝั่งคนขับผิด ฉะนั้นตามข้อเท็จจริงเมื่อคุณผิด ประกันรถคุณก็ต้องจ่าย เขายังไม่ได้ 2.5 ล้าน ประกันพูดใช่ไหมว่าให้ไปฟ้องต่อ เพราะประมาทร่วม ?
พ่อ : ครับ เขาบอกให้ไปฟ้องแพ่งต่อ
ตอนนี้ที่ได้ฟังมาจากข่าว กลับตาลปัตรไปนิดหนึ่ง แต่ธงสุดท้ายเหมือนเดิม ยังไงก็ต้องได้ 2.5 ล้าน สรุปแล้วหลังน้องหญิงถูกรถเบนซ์ชนเสียชีวิต คนขับรถเบนซ์เยียวยาไปแล้วส่วนหนึ่งประมาณ 1-2 แสน หลังจากนั้นมีการขึ้นศาล ศาลตัดสินว่าฝั่งคนขับรถเบนซ์ประมาท ทำให้คนถึงแก่ความตาย ฉะนั้นพอคนขับเป็นคนผิดปุ๊บ ประกันต้องทำงานอัตโนมัติคือต้องจ่ายเลย เพราะต้องยึดศาลเป็นหลัก ศาลตัดสินว่าผิดก็ต้องจ่าย แต่ประกันไม่ได้คุยกับพ่อ พ่อก็ไม่ได้คุยกับประกัน เรื่องมันเลยเงียบหาย
พ่อเลยตั้งทนายมา 1 คน พ่อให้ทนายไปติดต่อว่าต้องจ่ายเงิน 2.5 ล้าน เสร็จปุ๊บประกันทำเรื่องมาทาง คปภ. เพราะทางนั้นเขาไม่จ่าย เพราะเขาบอกว่าประมาทร่วม ต้องไปร้องมาใหม่ ถามว่าประมาทร่วมคืออะไร เขาบอกรถน้องไม่มีร่องรอยถูกชนด้านหลัง แต่มีร่องรอยถูกชนด้านข้าง อันนี้ประกันเขาอ้างมาแบบนี้ เขาเลยรู้สึกว่ามันไม่ได้ถูกชนท้าย หรืออาจเป็นประมาทร่วม ต้องไปร้องมาใหม่ 2.5 ล้านยังไม่ต้องเอา พ่อให้ทนายไปร้อง คปภ. แต่ คปภ. บอกว่ายังไง ?
พ่อ : ทำไม คปภ. ไม่ใช้อำนาจบังคับบริษัทประกันให้จ่าย คปภ. มีอำนาจตรงนี้อยู่
ชัยยุทธ : ส่วนประกัน คุณพ่อได้มอบอำนาจให้ทนายความมายื่นเรื่องร้องเรียน เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2564 สำนักงาน คปภ. ได้รับเรื่องแล้ว ตามกติกาเรา เจ้าหน้าที่ต้องส่งหนังสือให้บริษัทชี้แจงว่าทำไมเหตุการณ์เกิดขึ้นยังไง ทำไมไม่จ่าย บริษัทชี้แจงมาว่ากรณีนี้ ณ ขณะนั้นวันที่ 23 ศาลยังไม่ได้ตัดสิน ที่เขาแย้งมา ที่ยื่นขอให้จ่าย ศาลยังไม่ตัดสิน พอ 31 ศาลตัดสินทีหลัง หลังเรื่องร้องเรียน ทีนี้เรารับเรื่องร้องเรียน เราก็ให้บริษัทชี้แจง สำนักงานมีระเบียบเอาไว้ว่าต้องชี้แจงภายใน 7 วัน บริษัทชี้แจงมาแล้วก็ปฏิเสธ
แต่ตอนช่วงร้องเรียนมา ศาลตัดสิน เรามีเอกสาร คปภ. เลยสั่งให้บริษัทต้องจ่ายเงิน ส่งไปแล้ว แจ้งไปแล้ว บริษัทโต้แย้งกลับมา เรียนท่านว่ากรณีเจ้าหน้าที่สำนักงานหรือสำนักงาน คปภ. บอกว่าถ้าบริษัทโต้แย้ง เขากำหนดให้นายทะเบียนหรือเลขาธิการมีอำนาจในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ไม่ได้มีอำนาจในการชี้ขาดตัดสินเหมือนศาล นี่กฎหมายเขาเขียนไว้แบบนี้ กระบวนการสำนักงาน คปภ. เลยมีระเบียบเรื่องร้องเรียนไกล่เกลี่ยกันขึ้นมา ถ้าหากโต้แย้งแบบนี้ ต้องใช้กระบวนการในการชี้แจงไกล่เกลี่ย หรือต้องให้อนุญาโตฯ ชี้ขาด เจ้าหน้าที่ไม่สามารถไปตัดสินทันทีได้
แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่บอกให้จ่ายแล้ว ถ้าข้อเท็จจริงเป็นแบบนี้แล้ว มันเข้าเหตุว่าบริษัทปฏิเสธจ่ายโดยไม่มีเหตุอันควร หรือจงใจ ซึ่ง ณ ขณะนี้ ข้อเท็จจริงมันยุติแล้ว แต่อาจล่าช้าในกระบวนการ เพราะคุณพ่อได้มอบอำนาจไปยื่นที่นนท์ แต่พอมาวันที่ 21 ตุลาคม นนท์แจ้งไปแล้ว ทางเขาปฏิเสธ ทนายอีกคนเลยมายื่นร้องเรียนที่สำนักงานส่วนกลางอีกที เลยยังไม่ไปไหน

สรุปเขาจะได้ไหม ?
ชัยยุทธ : เขาจะได้ เพราะตอนนี้เราส่งเรื่องเข้าสู่กระบวนการประวิงแล้ว
เอาชัด ๆ ?
ชัยยุทธ : ได้แน่นอน
2.5 ล้านเขาต้องได้ ถ้าเขาพลิกลิ้นอีก ?
ชัยยุทธ : บทบาทหน้าที่สำนักงาน คปภ. จะเข้าสู่กระบวนการเปรียบเทียบปรับ ถ้าหากไม่จ่าย คือประวิงนี่ต้องจ่ายไม่ต่ำกว่า 5 แสน แล้วปรับรายวันไม่เกินวันละ 2 หมื่นบาท
ทางฝั่งสามีคนขับรถชน ทำให้น้องหญิงเสียชีวิต เขาก็ฝากถึงเรื่องประกันเหมือนกันว่า คปภ. มีอำนาจ แต่ไม่มีการบังคับให้บริษัทจ่ายได้ เงินจำนวนนี้จะไปเยียวยาจิตใจเขาได้ ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้สองฝ่ายได้รับผลกระทบทางจิตใจ แม่คนตายร้องไห้ตลอด คนขับรถเบนซ์ก็ทำบุญอุทิศให้น้องตลอด ?
พ่อ : อยากเรียนถามสักนิดว่าพนักงานบริษัทมีอำนาจอะไร มีสิทธิ์อะไรที่ชี้บอกว่าลูกสาวผมเป็นคนผิด ลูกสาวผมประมาทร่วม พนักงานประกันมีอำนาจอะไรชี้ขาด ทั้งที่ร้อยเวรชี้ขาดไปแล้วว่าคนขับเป็นคนผิด ศาลพิพากษาไปแล้วว่าคนขับผิด ขับรถด้วยความเร็วสูง ขับรถประมาท พนักงานบริษัทมีอำนาจอะไรมาตัดสินว่าลูกผมเป็นคนผิด ทั้งที่ศาลตัดสินไปแล้ว
นี่จากหัวใจชาวบ้าน ?
ชัยยุทธ : ขอเรียนท่านว่าคนที่จะปฏิเสธก็แย้งได้ทั้งหมดนะครับ แต่ข้อเท็จจริงคุณจะไปปฏิเสธเฉย ๆ ไม่ได้ พนักงานไปบอกเองไม่ได้ พนักงานชี้ไม่ได้

คปภ. ต้องควบคุมอีกทีไหม ?
ชัยยุทธ : เขาก็เถียงเราเหมือนเถียงคุณพ่อนั่นแหละ แต่เรามีกฎหมายรับรอง ปัญหาคือเรากำลังจะลงโทษเขา เข้าสู่กระบวนการ มีทั้งการเปรียบเทียบปรับ ซึ่งอาทิตย์หน้านัดแล้ว เดี๋ยวเราจะเร่งรัดดำเนินการให้โดยเร็ว คปภ. ไม่ได้นิ่งนอนใจเลย
หลังมาคุยสบายใจขึ้นไหม ?
พ่อ : สบายใจขึ้นมาก
ชัยยุทธ : จะหาวันและประสานให้คุณพ่อ ถ้าเขาไม่จ่ายก็โดนปรับแน่นอน และปรับทุกวัน วันละไม่เกิน 2 หมื่นบาท
ตอนประกันแย้งมา เป็นประมาทร่วม ศาลยังไม่ได้ตัดสิน แต่ ณ วันนี้ศาลตัดสินแล้ว ?
ชัยยุทธ : ศาลตัดสินก็ยังแย้งอยู่ ซึ่งเขาต้องดำเนินการตามกระบวนการกฎหมาย
ทนายโชติวุฒิ เขียนนิลศิริ ทนายฝ่ายรถเบนซ์ที่ขับรถชน ตกลงเรื่องนี้ยังไง ?
ทนาย : ก็ดูจากพยานหลักฐาน การชี้มูลประมาทร่วมหรือไม่อย่างไรคงไม่มีใครไปชี้ลอย ๆ ได้ คดีนี้พนักงานสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมดแล้ว ไม่ว่าจะร่องรอยการเฉี่ยวชนก็ดี หรือจุดที่เฉี่ยวชน ลักษณะรถวิ่งมามันก็ได้ข้อยุติแล้ว่ารถเบนซ์ประมาทฝ่ายเดียว ทีนี้ฝ่ายประกันเอง ตั้งแต่ชั้นสอบสวน ก็มีแต่ตัวแทนมา ไม่ได้โต้แย้งเรื่องข้อเท็จจริงต่าง ๆ
จนมาถึงชั้นอัยการหรือชั้นศาล ก็ไม่ได้มีตัวแทนเข้ามา ไม่ว่าจะเรื่องของการประกันตัว ฝ่ายรถเบนซ์ก็ใช้เงินส่วนตัวยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราว ทนายก็ไม่ได้มีการจัดหาให้ ข้อเท็จจริงจึงได้ยุติแล้ว ส่วนที่ผมเองได้ฟังมาจากทางพ่อแม่น้องผู้เสียชีวิต บริษัทประกันบอกว่าต้องไปฟ้องแพ่งเอา ในมุมมองผมเหมือนลักษณะการยื้อทางแพ่ง อย่างน้อยต้องมี 2-3 ศาล ระยะเวลาก็ใช้ไปอีก 2-3 ปี ซึ่งผมดูแล้วไม่เป็นธรรมกับฝ่ายที่เขาสูญเสีย

ขนาดทนายคนชนยังพูดอย่างนี้เลยว่าไม่เป็นธรรมกับทางนี้ เพราะลูกความเขายอมรับผิดไปแล้ว เขายอมรับว่าฝั่งนี้น่าเห็นใจ แต่ประกันเองกลับแย้งว่าเป็นประมาทร่วม ต้องไปยื้อ แต่เรื่องนี้ คปภ. จัดการแน่นอน ?
ชัยยุทธ : ครับ ยืนยันครับ เดี๋ยวจะแจ้งพ่อตลอดครับ
2.5 ล้านโคตรน้อยสำหรับคนคนหนึ่ง เพราะลูกเขาตาย น้องจะสร้างบ้านให้พ่อ หาเงินช่วยเหลือพ่อแม่ ครอบครัวเขาไม่เหลืออะไรแล้ว 2.5 ล้าน คือตัวแทนลูกสาวไปช่วยเหลือเกื้อกูลเขา ให้เขาไปเถอะ เพราะมันน่าอาย ดูแลเขาเถอะ ตอนนี้ยังไม่ได้ทำบุญ 100 วันเลย ?
แม่ : ไม่มีเงิน บอกลูกว่าถ้าเขาชดใช้ชีวิตลูก แม่จะทำบุญ 100 วัน จนถึงวันนี้ยังไม่ได้ทำบุญเลย ไม่มีเงินทำ (ร้องไห้)
ทั้งนี้ สามารถติดตามชมรายการ โหนกระแส โดยมี หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.35 น. ทางช่อง 3 กดเลข 33









