ธนาธร โต้ดราม่าขายภาพวาดได้ 3 ล้าน แต่โดนหาว่าก๊อป ยันชัด ภาพนี้ทำถูกต้องตามมารยาททุกอย่าง พร้อมโชว์หลักฐานเขียนจดหมายแจ้งศิลปินต้นฉบับ พร้อมฝากถึงคนจ้องดิสเครดิต พวกคุณทำไม่สำเร็จแน่นอน และจะไม่ท้อถอย
จากกรณีที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า มีการนำภาพที่ตัวเองวาดมาประมูลผ่าน NFT โดยเป็นภาพของเบญจา อะปัญ นักกิจกรรมชื่อดังถือตะเกียง และภาพนี้สามารถประมูลได้ถึง 3.3 ล้านบาท ก่อนที่นายธนาธรจะนำเงินจำนวนนี้บริจาคให้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนต่อไป
อย่างไรก็ตาม มีคนไปตั้งข้อสงสัยว่า ผลงานดังกล่าวอาจจะมีการลอกเลียนผลงานของ Damian Lechoszest นักเขียนชาวโปแลนด์ เมื่อนำภาพของทั้ง 2 คนมาเทียบกัน จะเป็นได้ว่า เป็นภาพเด็กถือตะเกียงเหมือนกัน องศาเดียวกันเป๊ะ ๆ
ล่าสุด วันที่ 19 มกราคม 2565 เฟซบุ๊ก Thanathorn Juangroongruangkit - ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ของนายธนาธร มีการโพสต์ชี้แจงเรื่องดังกล่าวแล้วว่า ผลงานศิลปะที่ถูกประมูลใน NFT ไม่ใช่การลอกผลงาน อีกทั้งยังประหลาดใจที่มีการตำหนิติเตียนเรื่องนี้อย่างรุนแรงว่า ตนเป็นคนไม่เคารพสิทธิศิลปิน ขโมยความคิดสร้างสรรค์คนอื่นมาเป็นของตัวเอง ซึ่งเป็นข้อหาที่ร้ายแรงและไม่เป็นธรรมอย่างมาก
ผมเป็นนักวาดภาพมือสมัครเล่น วิธีการวาดภาพก็เหมือนกับคนที่วาดเขียนส่วนใหญ่ในโลกคือ วาดจากงานศิลปะชั้นครู หรืองานที่ตัวเองชื่นชอบ ซึ่งภาพทุกภาพที่วาดก็ไม่คิดว่าจะเปิดเผยต่อสาธารณะ ถือเป็นงานอดิเรกส่วนตัว แต่เมื่อผมตัดสินใจนำภาพมาประมูล เพื่อนำรายได้ไปบริจาคกับองค์กรต่าง ๆ จึงมีการระบุชัดเจนว่า ภาพแต่ละภาพได้รับแรงบันดาลใจจากไหน โปร่งใสตรงไปตรงมา
ภาพนี้เป็นภาพเด็กถือตะเกียง ผมมีการให้เครดิตชัดเจนว่า ได้แรงบันดาลใจจาก Damian Lechoszest และยังมีการเขียนอีเมลไปเล่าเรื่องให้เขาฟังถึงการต่อสู้ของนางสาวเบญจา และแรงบันดาลใจของผมในการวาดภาพนี้ ก็เพราะต้องการนำเงินไปประมูลให้กับองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยด้วย
นอกจากนี้ นายธนาธรยังมีการเปิดเผยจดหมายที่ส่งให้ทาง Damian Lechoszest รับรู้ในแรงบันดาลใจดังกล่าว
ภาพนี้เป็นภาพแม่น้ำ 2 สายมาบรรจบกันเป็นสายเดียว นายธนาธรชี้แจงว่า ได้รับแรงบันดาลใจจาก @colorbyfeliks ซึ่งทางต้นฉบับระบุไว้ว่า หากใครนำภาพเขาไปสร้างสรรค์ต่อ ก็ให้เครดิตชื่อเขาเป็นพอ ดังนั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องปกติของวงการ digital art ที่จะมีการทำซ้ำ เผยแพร่ ส่งต่อผลงาน โดยเจ้าของผลงานไม่ได้หวงห้าม ขอแค่บอกว่า ภาพต้นฉบับนั้นเป็นของใครก็พอ
สุดท้าย นายธนาธรบอกว่า เป็นอีกครั้งที่ต้องมาชี้แจงในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง เพราะมีกระบวนการจ้องทำลายชื่อเสียงอยู่ และขอประกาศว่า สิ่งที่พวกคุณพยายามทำจะไม่สำเร็จ แม้ผมจะต้องเสียเวลาเรื่องพวกนี้ไปบ้าง แต่มันไม่ทำให้ผมท้อถอยในการหยุดทำงานทางการเมือง ผมเชื่อว่าประชาชนมีวิจารณญาณพอที่จะแยกแยะข้อเท็จจริงออกจากข่าวลวงในการปั่นกระแสหรือการใส่ร้ายความเกลียดชัง
จากกรณีที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า มีการนำภาพที่ตัวเองวาดมาประมูลผ่าน NFT โดยเป็นภาพของเบญจา อะปัญ นักกิจกรรมชื่อดังถือตะเกียง และภาพนี้สามารถประมูลได้ถึง 3.3 ล้านบาท ก่อนที่นายธนาธรจะนำเงินจำนวนนี้บริจาคให้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนต่อไป
อย่างไรก็ตาม มีคนไปตั้งข้อสงสัยว่า ผลงานดังกล่าวอาจจะมีการลอกเลียนผลงานของ Damian Lechoszest นักเขียนชาวโปแลนด์ เมื่อนำภาพของทั้ง 2 คนมาเทียบกัน จะเป็นได้ว่า เป็นภาพเด็กถือตะเกียงเหมือนกัน องศาเดียวกันเป๊ะ ๆ
ล่าสุด วันที่ 19 มกราคม 2565 เฟซบุ๊ก Thanathorn Juangroongruangkit - ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ของนายธนาธร มีการโพสต์ชี้แจงเรื่องดังกล่าวแล้วว่า ผลงานศิลปะที่ถูกประมูลใน NFT ไม่ใช่การลอกผลงาน อีกทั้งยังประหลาดใจที่มีการตำหนิติเตียนเรื่องนี้อย่างรุนแรงว่า ตนเป็นคนไม่เคารพสิทธิศิลปิน ขโมยความคิดสร้างสรรค์คนอื่นมาเป็นของตัวเอง ซึ่งเป็นข้อหาที่ร้ายแรงและไม่เป็นธรรมอย่างมาก
ผมเป็นนักวาดภาพมือสมัครเล่น วิธีการวาดภาพก็เหมือนกับคนที่วาดเขียนส่วนใหญ่ในโลกคือ วาดจากงานศิลปะชั้นครู หรืองานที่ตัวเองชื่นชอบ ซึ่งภาพทุกภาพที่วาดก็ไม่คิดว่าจะเปิดเผยต่อสาธารณะ ถือเป็นงานอดิเรกส่วนตัว แต่เมื่อผมตัดสินใจนำภาพมาประมูล เพื่อนำรายได้ไปบริจาคกับองค์กรต่าง ๆ จึงมีการระบุชัดเจนว่า ภาพแต่ละภาพได้รับแรงบันดาลใจจากไหน โปร่งใสตรงไปตรงมา
ภาพนี้เป็นภาพเด็กถือตะเกียง ผมมีการให้เครดิตชัดเจนว่า ได้แรงบันดาลใจจาก Damian Lechoszest และยังมีการเขียนอีเมลไปเล่าเรื่องให้เขาฟังถึงการต่อสู้ของนางสาวเบญจา และแรงบันดาลใจของผมในการวาดภาพนี้ ก็เพราะต้องการนำเงินไปประมูลให้กับองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยด้วย
นอกจากนี้ นายธนาธรยังมีการเปิดเผยจดหมายที่ส่งให้ทาง Damian Lechoszest รับรู้ในแรงบันดาลใจดังกล่าว
ภาพนี้เป็นภาพแม่น้ำ 2 สายมาบรรจบกันเป็นสายเดียว นายธนาธรชี้แจงว่า ได้รับแรงบันดาลใจจาก @colorbyfeliks ซึ่งทางต้นฉบับระบุไว้ว่า หากใครนำภาพเขาไปสร้างสรรค์ต่อ ก็ให้เครดิตชื่อเขาเป็นพอ ดังนั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องปกติของวงการ digital art ที่จะมีการทำซ้ำ เผยแพร่ ส่งต่อผลงาน โดยเจ้าของผลงานไม่ได้หวงห้าม ขอแค่บอกว่า ภาพต้นฉบับนั้นเป็นของใครก็พอ
สุดท้าย นายธนาธรบอกว่า เป็นอีกครั้งที่ต้องมาชี้แจงในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง เพราะมีกระบวนการจ้องทำลายชื่อเสียงอยู่ และขอประกาศว่า สิ่งที่พวกคุณพยายามทำจะไม่สำเร็จ แม้ผมจะต้องเสียเวลาเรื่องพวกนี้ไปบ้าง แต่มันไม่ทำให้ผมท้อถอยในการหยุดทำงานทางการเมือง ผมเชื่อว่าประชาชนมีวิจารณญาณพอที่จะแยกแยะข้อเท็จจริงออกจากข่าวลวงในการปั่นกระแสหรือการใส่ร้ายความเกลียดชัง