กองทุนประกันวินาศภัย เตรียมกู้เงินหมื่นล้านบาท
ใช้จ่ายเคลมประกันภัยโควิด เจอ-จ่าย-จบ แทน 4 บริษัทประกัน หลังปิดตัวลง
คาดกระทบหนี้สาธารณะ แต่ไม่มาก

วันที่ 5 เมษายน 2565 เดลินิวส์ออนไลน์ รายงานว่า นายสุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
เปิดเผยว่า กองทุนประกันวินาศภัย
กำลังเร่งหาทางกู้เงินเพิ่มเติมเข้ามาเสริมกองทุน
เพื่อใช้จ่ายเคลมและชำระหนี้ให้แก่เจ้าของกรมธรรม์
หลังจากกระทรวงการคลังได้เพิกถอนใบอนุญาต บมจ.อาคเนย์ประกันภัย และ
บมจ.ไทยประกันภัย ทำให้ภาระหนี้การเคลม และกรมธรรม์ที่ยังมีความคุ้มครอง
ตกเป็นของกองทุนประกันวินาศภัยเป็นผู้บริหารจัดการดูแลแทน
โดยปัจจุบัน สถานะกองทุนประกันวินาศภัย มีสภาพคล่อง 5,000 - 7,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ได้เตรียมหากู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ และธนาคารออมสิน เพื่อบริหารจ่ายเคลมพี่น้องประชาชนให้เพียงพอ นอกจากนั้นยังจะเจรจากับกองทุนผู้ประสบภัยจากรถยนต์เพื่อขอกู้เงินอีกด้วย คาดว่าจะกู้เป็นหลักหมื่นล้านบาท เนื่องจากมีคนยื่นเคลมประกันภัยโควิด เจอ-จ่าย-จบ จำนวนมาก
โดยปัจจุบัน สถานะกองทุนประกันวินาศภัย มีสภาพคล่อง 5,000 - 7,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ได้เตรียมหากู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ และธนาคารออมสิน เพื่อบริหารจ่ายเคลมพี่น้องประชาชนให้เพียงพอ นอกจากนั้นยังจะเจรจากับกองทุนผู้ประสบภัยจากรถยนต์เพื่อขอกู้เงินอีกด้วย คาดว่าจะกู้เป็นหลักหมื่นล้านบาท เนื่องจากมีคนยื่นเคลมประกันภัยโควิด เจอ-จ่าย-จบ จำนวนมาก
นายสุทธิพล กล่าวว่า ปัจจุบันเงินกองทุนประกันวินาศภัย เหลือไม่เยอะแล้ว เนื่องจากก่อนหน้านี้ต้องจ่ายเคลม และคืนเบี้ยให้ลูกค้าของเอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) และบริษัท เดอะวัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตไปก่อนหน้านี้

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวกล่าวว่า แนวทางการหาแหล่งเงินของกองทุนประกันวินาศภัย เพื่อนำมาใช้จ่ายเคลมลูกค้าของ 4 บริษัทประกันที่ถูกปิดกิจการไปนั้น เป็นหน้าที่ของกองทุนฯ ที่ต้องหาทางกู้เอง โดยที่กระทรวงการคลังไม่ต้องค้ำประกันให้ แต่จะต้องดูรายละเอียดในกฎหมายของกองทุนฯ เพิ่มว่า จะต้องนำหนี้ที่กู้เข้ามาบรรจุอยู่ในแผนหนี้สาธารณะด้วยหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องนำมาบรรจุในแผนหนี้ฯ เพิ่ม แต่เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อหนี้โดยรวมมากนัก เพราะหากกู้มาหมื่นล้านก็กระทบหนี้สาธารณะต่อจีดีพีไม่ถึง 0.01 เปอร์เซ็นต์
ขอบคุณข้อมูลจาก เดลินิวส์ออนไลน์