เกาะสีชัง
เกาะสีชัง
เกาะสีชัง
เกาะสีชัง
เกาะสีชัง
เกาะสีชัง
เกาะสีชัง
เกาะสีชัง
เกาะสีชัง
เกาะสีชัง
เกาะสีชัง
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก นิตยสารคู่หูเดินทาง
หลัง
จากที่เราได้ไปเที่ยวเกาะทะลุ ทางชายฝั่งด้านภาคตกของประเทศไทยกันมาแล้ว
คราวนี้กระปุกดอทคอมก็ขอพาไปเที่ยวเกาะสงบ ๆ อีกแห่ง
ทางฝั่งตะวันออกของประเทศไทยกันบ้าง แถมใกล้นิดเดียว เดินทางเพียง 3 ชั่วโมงเราก็จะได้ไปเหยียบ ผืนเกาะแห่งนี้กันสบาย ๆ เลย...
เกาะสีชัง เป็นเกาะใหญ่ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชลบุรี อยู่ห่างจากฝั่งศรีราชา ประมาณ 12 กิโลเมตร
เป็นที่จอดพักเรือสินค้านานาชาติ และเป็นเกาะที่น่าท่องเที่ยว
ในบรรยากาศแบบ ท้องถิ่น
ซึ่งสามารถแวะท่องเที่ยวในวันเดียวหรือพักค้างคืนก็ได้
แหล่งชุมชนเกาะสีชังอยู่ทาง ด้านตะวันออกของเกาะ
เป็นที่ตั้งของท่าเรือเทววงศ์ (ท่าล่าง)
และเป็นสถานที่สำหรับเริ่มต้นการเดินทางด้วยรถสามล้อเครื่องหรือ "สกายแล็ป"
(รถที่คล้ายรถตุ๊ก ๆ แต่มีขนาดกว้าง และยาวกว่า) ไปยังจุดอื่น ๆ
บนเกาะสีชัง และแม้เกาะสีชังจะไม่มีชายหาดสวยงามลือชื่อ
เหมือนกับเกาะแก่งอื่น ๆ ของเมืองไทย แต่ทัศนียภาพก็งดงาม
แถมมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ที่รอให้นักเที่ยวทั้งหลายไปเยือนกันด้วยนะ
เกาะสีชัง
เกาะสีชัง
จุดท่องเที่ยวบนเกาะสีชังมีมากมาย และที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อก็ได้แก่
พระจุฑาธุชราชฐาน (ท่าวัง)
เกาะ
สีชังถือเป็นเกาะประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของเมืองไทย
เนื่องจากว่าในอดีตมีพระเจ้าแผ่นดินถึง 3 พระองค์ คือรัชกาลที่ 4
,รัชกาลที่ 5 , รัชกาลที่ 6 เสด็จมาประพาสพักผ่อน โดยเฉพาะรัชกาลที่ 5
ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชฐานบนเกาะขึ้นเป็นแห่งแรก
เพื่อเป็นที่ประทับในฤดูร้อน พร้อมพระราชทานนามว่า "พระจุฑาธุชราชฐาน" ตามพระนามของพระราชโอรสที่ประสูติบนเกาะแห่งนี้
พระจุฑาธุชราชฐาน อยู่ห่างจากท่าเทววงศ์ลงมาทางใต้ของเกาะเป็นจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจ มีความสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมไทยผสมตะวันตก
ภายในบริเวณมีสภาพภูมิทัศน์ที่งดงาม ด้านหน้าเป็นชายหาดท่าวัง
สิ่งที่น่าสนใจในพระราชฐานนี้นอกจาก อาคารพระจุฑาธุชราชฐาน
ที่งดงามด้วยด้วยสถาปัตยกรรมไม้สไตล์เรือนขนมปังขิงแล้ว
บริเวณรอบข้างก็ยังมี ตึกวัฒนาเป็นตึกสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาทรงปั้นหยา
มุงกระเบื้องเกล็ดเต่า ตึกผ่องศรี เป็นตึกแปดเหลี่ยมชั้นเดียว
ตัวตึกทาสีขาวมี 9 ประตู ตึกอภิรมย์
ตึกสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่สร้างอย่างเรียบง่ายแต่ลงตัว
นอกจากนี้ยังมีสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ได้แก่ สระน้ำ บ่อน้ำ สะพานท่าเทียบเรือ
ประภาคาร และที่นี่ยังมีบ่อน้ำจืดที่ถูกค้นพบในสมัยรัชกาลที่ 5 อยู่ใกล้ๆ
กันอีกด้วย
เกาะสีชัง
เกาะสีชัง
ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ และมณฑปรอยพระพุทธบาท
ตั้ง
อยู่บนเขาห่างจากท่าเรือเทววงศ์ไปทางด้านเหนือของเกาะ
เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเกาะสีชังให้ความเคารพนับถือ
ลักษณะเป็นถ้ำซึ่งดัดแปลงเป็นศาสนสถาน ที่ผสมผสานด้วยสถาปัตยกรรมจีนและไทย
จากบริเวณศาลมองเห็นทิวทัศน์บ้านเรือนด้านหน้าเกาะได้ชัดเจนศาลเจ้าพ่อเขา
ใหญ่นอกจากจะเป็นที่เคารพสักการะของคนสีชังแล้ว
ยังเป็นที่สักการะที่ชาวต่างประเทศให้ความเคารพนับถือกันมาก
โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลตรุษจีน มีคนมาบวงสรวง กราบไหว้กันอย่างเนืองแน่น
ส่วนมณฑปรอยพระพุทธบาทนั้น อยู่สูงขึ้นไปบนยอดเขาเดียวกับศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่
รัชกาลที่ 5 ทรงอัญเชิญมาประดิษฐานไว้บนยอดเขา
ซึ่งเป็นจุดชมทิวทัศน์ทะเลอันสวยงามได้โดยรอบ
เกาะสีชัง
ช่องเขาขาด หรือ ช่องอิศริยาภรณ์
อยู่
ด้านหลังของเกาะ หากนั่งเรือผ่านจะเห็นเป็นช่องเขา
ในบริเวณมีสะพานสำหรับเดินชมทิวทัศน์ สามารถชมพระอาทิตย์ตกได้สวยงาม
มีหาดหินกลม ซึ่งเต็มไปด้วยหินกลม ๆ ขนาดต่าง ๆ มากมาย
ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งพลับพลาที่ประทับชมทิวทัศน์ของรัชกาลที่ 5
สำหรับท้องทะเลแถบนี้มีหาดหินก้อนกลมเกลี้ยงเป็นที่มา ของชื่อหาด
ส่วนบริเวณช่องเขาขาดจะมีทางเดินสีขาว ทอดตัวยาวลงสู่
เบื้องล่างลดระดับไปตามไหล่เขา โดยทางเดินสายนี้ 2
ข้างทางประดับประดาไปด้วย ดวงไฟหงส์ไปจนสุดสาย
และบริเวณนี้ยังเป็นแหล่งที่นักท่องเที่ยวนิยมมาตกปลากันเป็นจำนวนมาก
เกาะสีชัง
หาดถ้ำเขาพัง
เป็นชายหาดแห่งเดียวของเกาะ อยู่ทางด้านตะวันตก มีลักษณะเป็นชายหาดกว้าง
สะอาดและสวยงาม มีทรายละเอียด น้ำใสสะอาดเหมาะแก่การเล่นน้ำ
ถ้าอยากเล่นน้ำทะเล หรือ เตรียมตัวมาพักค้างแรม
ควรมาพักที่หาดถ้ำพังแห่งนี้ ที่มีโค้ง หาดยาวเหยียดเป็นรูปวงพระจันทร์
หาดทรายขาว และ คลื่นลมแรง ทำให้ได้บรรยากาศของพักผ่อนตากอากาศ
ได้เป็นอย่างดี แถมยังมีร้านอาหารและที่พักให้บริการ
บริเวณตอนเหนือของหาดเป็นแหลมชื่อว่า แหลมถ้ำพัง
ซึ่งเป็นจุดชมวิวยามพระอาทิตย์ตก สำหรับขาลุยที่ชอบการแค้มปิ้งกางเต็นท์
ก็สามารถลุยได้สบาย ไม่เสียค่าใช้จ่าย
เสียเพียงค่าอาบน้ำจืดและเข้าห้องน้ำเพียงเท่านั้น
การเดินทางท่องเที่ยว บางทีก็ไม่จำเป็นว่าต้องไปไกล ๆ
เสมอไปใช่ไหมคะลองให้เกาะสีชังเป็นตัวเลือกสำหรับการพักผ่อน ในวันสบาย ๆ
ของคุณ ง่าย ๆ ใกล้ ๆ สะดวกสบาย แล้วคุณจะรู้ว่า
เกาะสีชัง...ไม่น่าชังเหมือนชื่อสักนิดเลยค่ะ
การเดินทาง
โดยรถยนต์ส่วนตัว ใช้เส้นทางสายสุขุมวิท
ผ่านหน้าที่ว่าการอำเภอศรีราชาไปจนพบสี่แยกวังหิน
จะพบป้ายไปอำเภอเกาะสีชังทางขวามือ ให้เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนสุรศักดิ์ 2
ตรงไปจนพบหอนาฬิกา แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนเจิมจอมพลถึงซอย 14
ซึ่งเป็นซอยแคบ ปากซอยมีป้ายเล็กๆ ชี้เข้าสู่ชุมชนชาวทะเลที่มีชื่อว่า "ท่าเรือจรินทร์" สามารถนำรถเข้าไปจอดได้ยังที่รับฝากรถซึ่งอยู่บริเวณท่าเรือ ค่าบริการสำหรับการจอดรถชั่วคราว 50 บาท และสำหรับการจอดค้างคืน 100 บาท
โดย
รถโดยสารประจำทาง สามารถขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งเอกมัย มีทั้งรถธรรมดา
และรถปรับอากาศ ไปลงที่ศรีราชา ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1.30 - 2 ชม.
เมื่อถึงศรีราชาแล้วไปลงเรือที่ท่าเรือ ศรีราชา
ซึ่งมีเรือโดยสารให้บริการตลอดทั้งวัน เมื่อถึงศรีราชาแล้ว
ต่อรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างค่าบริการประมาณ 15 บาท หรือรถตุ๊ก ๆ
ซึ่งคิดค่าบริการประมาณ 30 บาท ไปลงเรือที่ท่าเรือจรินทร์
จากนั้นต่อเรือเมล์ศรีราชา-สีชัง
จากท่าเรือ จรินทร์ใน อ.ศรีราชา ไปยังเกาะสีชัง
โดยเรือจะออกจากเกาะสีชังที่ท่าล่าง (ท่าเทววงศ์) ก่อน
แล้วจึงไปแวะจอดที่ท่าบน(ท่าภานุรังษี) อัตราค่าโดยสาร คนละ 40 บาท
ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที เรือออกจากฝั่งศรีราชาเวลา 06.00-20.00 น.
ส่วนเรือออกจากเกาะสีชังเวลา 06.00-18.00 น. โดยมีเรือออกทุก ๆ ชั่วโมง
เกาะสีชัง
การเดินทางท่องเที่ยวบนเกาะ
เนื่องจากสถานที่ท่องเที่ยวบนเกาะสีชังอยู่ห่างกันพอสมควร
การเช่ารถสามล้อเครื่องจากท่าเทียบเรือไปชมสถานที่ต่าง ๆ จะสะดวกมาก
ซึ่งใช้เวลาประมาณชั่วโมงเศษก็เที่ยวได้ทั่วเกาะ ค่าเช่ารถสามล้อเครื่อง
คิดเป็นรอบ ๆ ละประมาณ 150 - 250 บาท
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง
เกาะขามใหญ่ อยู่ด้านหน้าเกาะสีชัง ห่างจากเกาะสีชังไปประมาณ 5 นาที
เรือโดยสารที่ไปเกาะสีชังจะแวะจอดที่เกาะขามใหญ่
บนเกาะเป็นหมู่บ้านชาวประมง มีบริการที่พักรับรองนักท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์
ซึ่งมีกิจกรรมตกปลา หาหอยนางรมและตกปลาหมึก
เกาะท้ายค้างคาว เป็นเกาะเล็ก ๆ ด้านทิศใต้ของเกาะสีชัง มีหาดทรายและปะการัง
สามารถนั่งเรือจากท่าเทววงศ์ไปประมาณครึ่งชั่วโมง ค่าเช่าเรือประมาณ 800
บาท บนเกาะมีที่พักบริการ
สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับเกาะสีชังเพิ่มเติมได้ที่ ททท. ภาคกลางเขต 3 โทร 0-3842-7667, 0-3842-8750
คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อน ๆ ได้ที่นี่ค่ะ
ข้อมูลและภาพประกอบจาก
และ สำนักงานจังหวัดชลบุรี