ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ชี้แจงข้อสงสัย
หลังมีคลิปต่างชาติหยดน้ำมันปลาใส่โฟมละลายเป็นรู
ชี้เป็นเรื่องปกติของปฏิกิริยาทางเคมี ยันไม่อันตรายต่อร่างกาย
แถมยังดีเสียอีก…
เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2565 เพจเฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by
อาจารย์เจษฎ์ ของ
รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้มีการเปิดเผยข้อมูลแก้ไขความเข้าใจผิด
กรณีที่มีการแชร์คลิปวิดีโอชาวต่างชาตินำเอา "น้ำมันปลา" หยดใส่ลงบนแผ่นโฟม
จนทำให้แผ่นโฟมละลาย จนกลายเป็นที่สงสัยว่า
หากคนกินเข้าไปจะอันตรายหรือไม่
จะทำให้ระบบทางเดินอาหารทะลุเหมือนโฟมหรือไม่ ?
โดย ดร.เจษฎา เผยว่าสาเหตุที่โฟมละลายเมื่อถูกน้ำมันปลา เป็นปฏิกิริยาเคมีธรรมดา ๆ ของพวกไขมันที่อยู่ในรูปของ เอธิลเอสเทอร์ (Ethyl Ester) ที่สามารถทำให้โฟมสไตโรโฟม (Styrofoam) แผ่นโฟมขาว ๆ หรือกล่องโฟมอาหาร เกิดการละลายได้ แต่ไม่สามารถทำให้ทางเดินอาหารของคนละลายอย่างนั้น ซึ่งปฏิกิริยาเคมีแบบนี้ นอกจากน้ำมันปลาแล้ว ยังมี น้ำมันผิวมะนาว น้ำมันผิวส้ม น้ำกลิ่นแมงดา ที่สามารถทำให้โฟมละลายได้
โดย ดร.เจษฎา เผยว่าสาเหตุที่โฟมละลายเมื่อถูกน้ำมันปลา เป็นปฏิกิริยาเคมีธรรมดา ๆ ของพวกไขมันที่อยู่ในรูปของ เอธิลเอสเทอร์ (Ethyl Ester) ที่สามารถทำให้โฟมสไตโรโฟม (Styrofoam) แผ่นโฟมขาว ๆ หรือกล่องโฟมอาหาร เกิดการละลายได้ แต่ไม่สามารถทำให้ทางเดินอาหารของคนละลายอย่างนั้น ซึ่งปฏิกิริยาเคมีแบบนี้ นอกจากน้ำมันปลาแล้ว ยังมี น้ำมันผิวมะนาว น้ำมันผิวส้ม น้ำกลิ่นแมงดา ที่สามารถทำให้โฟมละลายได้
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสารดังกล่าว มีกรดไขมันพวกที่อยู่ในรูปของเอธิลเอสเทอร์ (Ethyl Ester) อยู่ ซึ่งจะละลายสไตโรโฟมได้ดีกว่าพวกที่อยู่ในรูปของไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นอย่างมาก เพราะน้ำมันปลาที่เป็นเอธิลเอสเทอร์ จะมีจำนวนของพันธะทางเคมีใกล้เคียงกับของโฟม ทำให้มันละลายรวมกันได้โดยง่าย จะเห็นว่าการละลายของกล่องโฟมด้วยน้ำมันปลาบริสุทธิ์นี้ ไม่ได้เกี่ยวกับว่ามีสารปรอท หรือแม้แต่ตัวละลายอื่น ๆ เช่น แอลกอฮอล์ มาปนเปื้อนแต่อย่างไร
ดร.เจษฎา ยืนยันว่า น้ำมันปลาไม่ได้ส่งผลเสียใด ๆ กับร่างกาย เพราะร่างกายสามารถย่อยไขมันแบบนี้ได้ดีพอ ๆ กัน ซึ่งการที่น้ำมันปลาละลายกล่องโฟมได้ กลับจะดีกว่าที่มันไม่ละลายเสียอีก
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์